#รีวิวหนังสือ ทุกเรื่องสำเร็จได้ ถ้าตัดสินใจใน 5 วิ

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ ทุกเรื่อง สำเร็จได้ ถ้าตัดสินใจใน 5 วิ เล่มนี้การตัดสินใจของคนเรามักจะผสมกันไปทั้งการตัดสินใจในเชิงบวกและทางลบ ขึ้นอยู่กับว่าเรา “อยากได้” หรือ “อยากเลี่ยง” สิ่งไหน รีวิวหนังสือ เล่มนี้จะบอกวิธีสร้างสถานการณ์ที่ช่วยให้การตัดสินใจง่ายขึ้น โดยกำจัดปัจจัยขัดขวางการตัดสินใจออกไป เพื่อให้เราเลือก “ตัดสินใจเชิงบวก” นั่นเอง

รีวิวหนังสือ ทุกเรื่อง

รีวิวหนังสือ รวมเทคนิคสำคัญที่ช่วยให้คุณตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เช่น

  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการในการตัดสินใจ
  • ไม่เพิกเฉยต่อ “เงื่อนไขตั้งต้น”
  • เพิ่มทางเลือกในการตัดสินใจ
  • ไม่โฟกัสกับ “ปัญหาที่มองเห็น” เพียงอย่างเดียว
  • มองให้ออกว่าอะไรคือ “ส่วน 20 เปอร์เซ็นต์ที่สำคัญจริง ๆ”

มาพร้อมตัวอย่างหลักการตัดสินใจแยกสถานการณ์ต่าง ๆ อีกมากมาย การตัดสินใจกับความเสี่ยงเป็นของคู่กันเสมอ ในการตัดสินใจกับความเสี่ยงเป็นของคู่กันเสมอ ในการตัดสินใจอาจไม่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงหนึ่งเดียว แต่มี “วิธีการที่ถูกต้อง” อยู่

14 13

ผู้เขียน : Takashi Torihara (ทาคาชิ โทริฮาระ)
ผู้แปล : พนิดา กวยรักษา


Part 1 : หลักพื้นฐานในการตัดสินใจ

12 11

  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการตัดสินใจที่ถูกต้อง
  • กระบวนการกำหนดความตั้งใจ
  • ตรวจพบปัญหา
  • การตั้งสมมุติฐานและรวบรวมข้อมูล
  • วางมาตรการแก้ไข
  • ประสานความร่วมมือ
  • กำหนดความตั้งใจ
  • ลงมือปฎิบัติ (ควรใช้หลักการ 5W1H)
    1. Who ใคร
    2. What อะไร
    3. Where ที่ไหน
    4. When เมื่อไหร่
    5. Why ทำไม
    6. How อย่างไร
  • ไม่แก้ปัญหาที่มองเห็นเท่านั้น ต้องพยายามตรวจหา ปัญหาที่ยังไม่ปรากฏด้วย
  • เงื่อนไขตั้งต้นคือเงื่อนไขที่ไม่สามารถยกเว้นได้โดยเด็ดขาดในการตัดสินใจ
  • หาทางเลือกเพิ่ม หรือคิดทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้นมา ก็สามารถเลือกสิ่งที่ดีกว่าได้
  • ระยะเวลากับผลลัพธ์ ต้องคิดตัดสินใจให้ดี ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือยาว
  • สิ่งสำคัญคือ ความกล้าที่จะตัดตัวเลือกอื่นทิ้งไป
  • มองภาพรวมจัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนตึงตัดสินใจ
  • กำหนดเกณฑ์ว่าอะไรสำคัญ จัดลำดับความสำคัญ คัดเลือกสิ่งที่สมควรทำ
  • เพิ่มผลลัพธ์และประสิทธิผลด้วยการเลือกเฉพาะสิ่งสำคัญจริงๆ
  • กำหนดเรื่องที่ไม่ต้องทำ เลือกทิ้งบางอย่างและเก็บบางอย่างที่สำคัญ
  • พิจารณาอย่างระมัดระวัง เมื่อไม่สามารถตัดสินใจได้ทันที
  • ต้องตรวจสอบทุกครั้งก่อนตัดสินใจเพราะข้อมูลเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
  • คุณภาพการตัดสินใจขึ้นอยู่กับคุณภาพที่มาของข้อมูล
  • การตีความข้อมูลเชิงคุณภาพส่งผลอย่างมากกับคุณภาพการตัดสินใจ
  • คนที่ตัดสินใจได้เก่งมักจะรู้วิธีเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่เหมาะสม
  • ระมัดระวังการตัดสินใจ ที่เรามักมองไม่เห็น คือ ความเสี่ยงที่ถูกมองข้าม
  • เวลาตัดสินใจต้องแยกความคิดตัวเองออกจากข้อเท็จจริง
  • การตัดสินใจต้องระวังความรู้สึกยึดติด อคติ และการประนีประนอม
  • พิจารณานิสัยการตัดสินใจของตัวเอง ไม่ใช้อคติในการตัดสินใจ
  • คนเรามีการตัดสินใจไม่เหมือนกัน ต้องวิเคราะห์รูปแบบให้ออก
  • ประสบการณ์มีผลต่อการตัดสินใจถึง 70% ดีหรือแย่ขึ้นอยู่กับวิธีการทำมาใช้
  • วิธีที่เอาชนะจิตวิทยาเชิงกลุ่มได้คือ ความกล้าที่จะยอมรับความล้มเหลว
  • คนที่ตัดสินใจเก่ง ต้องลงมือทำเรื่องที่ตัดสินใจไปแล้วได้อย่างรวดเร็วด้วย
  • หลัก 3 ข้อสำหรับการเริ่มลงมือทำเรื่องท้าทาย
    1. ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นหากอยู่เฉยๆ เริ่มทำจากจุดเล็กๆ ให้คิดว่าเรายังแก้ตัวได้
    2. ลองทดสอบ แสดงบทบาทสมมติ จะเห็นถึงผลลัพธ์ที่คาดไว้ หรือ รูรั่วของไอเดียได้
    3. นำความผิดพลาดไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป เป็นการพัฒนาการตัดสินใจ

Part 2 : เช็คลิสต์แยกตามสถานการณ์

10

  • ให้นึกถึง สิ่งที่ทำได้ในปัจจุบันโดยไม่มัวแต่คิดถึงปัญหาที่ได้เกิดขึ้นไปแล้ว
  • ป้องกันการตื่นตระหนก ด้วยการพักสงบสติอารมณ์
  • การรายงานที่ดี ต้องแจ้งข้อเท็จจริง ไม่ใส่ความคิดเห็นของตนลงไป
  • อนุมัติแบบมีเงื่อนไขสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน
  • ฟื้นฟูฟังก์ชันที่จำเป็น สำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต้องกล้าที่จะตัดสินใจ
  • ทุกการตัดสินใจต้องไม่มองแค่ปัจจุบัน ต้องมองไปถึง อนาคตข้างหน้าด้วย
  • เมื่อเกิดปัญหาขึ้นต้องหาวิธีการรับมือที่เหมาะสม และวางแผนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก
  • เตรียมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดทำคู่มือ จำลองสถานการณ์ เช็คลิสต์
  • เมื่อผิดพลาด ควรยอมรับ แล้วรีบถอนตัว
  • การตัดสินใจที่แย่ที่สุดคือ การโกหก
  • เมื่อผลลัพธ์ผิดพลาด ต้องลองเปลี่ยนวิธีการ
  • เมื่อเกิดความผิดพลาด ต้องสงบสติอารมณ์ และตัดสินใจเฝ้ารอโอกาส
  • การยอมแพ้ จะใช้ในกรณีที่ไม่มีทางอื่น แต่การเลือก ไม่ยอมแพ้ นำไปสู่การแก้ไข
  • การล้มคู่ต่อสู้ คือ ยุทธวิธี การคิดว่าจะทำยังไงถึงจะชนะได้อย่างต่อเนื่อง นั่นคือการวางยุทธศาสตร์
  • ทฤษฎีกระดาษ กรรไกร ค้อน ท้าทายสิ่งใหม่ 5 อย่าง เลือก 2 อย่างที่มีโอกาสสำเร็จสูง และเลือกเพียงอย่างเดียวเพื่อทุ่มเทลง
  • ไปอย่างเต็มที่
  • เพิ่มประสิทธิภาพ คือ เน้นการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิผล คือ การเพิ่มผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
  • เมื่อสิ่งที่ทำสุกงอมแล้ว จำเป็นต้องเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆสำหรับเป็นรากฐานของผลกำไรถัดไป
  • ต้องตรวจสอบความสามารถของตัวเองอย่างถี่ถ้วน ไม่ฝืนเกินไป แต่ก็ควรให้ตัวเองได้พัฒนา
  • ศัตรูที่แท้จริง ไม่ควรมองแค่สิ่งรอบตัวต้องมองกว้างกว่านั้นอีก
  • ลองทำสิ่งใหม่ๆ แตกต่างจากคนอื่นๆ จึงจะเรียกว่าเป็นการบุกตลาดที่แท้จริง
  • มองหาไอเดียดีๆโดนตัดความเป็นไปไม่ได้ทิ้ง จะทำให้พบทางเลือกใหม่ๆ
  • พิจารณาความต้องการของลูกค้า โดยไม่ผสมความต้องการของเรา
  • การใช้ตัวเลขมาเปรียบเทียบการตัดสินใจเป็นการเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจที่ดี
  • หากต้องการบางสิ่งต้องเลือกทิ้งบางอย่าง
  • เมื่อเริ่มทำอะไรสักอย่างต้องตัดสินใจเลิกทำบางอย่างเช่นกัน
  • เมื่อตัดสินใจลำบาก ให้นึกถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง
  • เมื่อทุนจม สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือคำนึกถึงความเสี่ยงของการลงทุนต่อจากนี้

Part 3 : ยกระดับการตัดสินใจของทีม

9 8 7

  • หากให้คนอื่นตัดสินใจ ต้องระบุกฏเกณฑ์ที่แน่ชัด
  • การมีตัวเลือกที่เยอะเกินไปโดยไม่บอกเกณฑ์หรือทิศทางที่ควรเป็น จะทำให้ระดับผลงานต่ำ
  • หากจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ถนัด จะได้ประสิทธิภาพที่ดีกว่า
  • อยากให้ลูกน้องพัฒนา ต้องให้ประสบการณ์ เริ่มจากงานเล็กๆ
  • กระตุ้นให้คนทำอะไรสักอย่าง ควรเริ่มจากตั้งเป้าหมาย
  • ต้องเลือกวิธีการสื่อสารโดยให้ความสำคัญกับแรงจูงใจของผู้ปฎิบัติงาน
  • ใช้หลัก AIDMA สร้างความสนใยให้อีกฝ่ายลงมือทำจริง
  • กำหนดงานของแต่ละคนให้ชัดเจน
  • ไม่ออกความคิดเห็นในจุดที่ไม่ได้เกิดปัญหา
  • ไม่ข้ามขั้นตอนพินิจพิเคราะห์ = ให้ความสำคัญกับกระบวนการ
  • ตัดสินใจให้เด็ดขาด = ตัดเสียงรบกวน
  • ลดความไม่แน่นอน = ควบคุมความเสี่ยง
  • รู้จักลักษณะนิสัยของตัวเอง = ตรวจเช็คอคติ
  • ไม่เลื่อนออกไป = ลงมือทำ
  • สถานการณ์ฉุกเฉิน
  • เมื่อทำผิดพลาด
  • ในการวางแผน
  • ในการเริ่มต้นสิ่งใหม่
  • เลิก ทิ้ง
  • สร้างกลไกช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
  • มองการตัดสินใจของอีกฝ่ายในแง่บวก

6 5 4 3 2 1

 

รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3mHIErf