#รีวิวหนังสือ กฎการสนทนาของคนคุยสนุก

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ กฎ การสนทนาของคนคุยสนุก ต้นฉบับ : Omoshiroi Hito” No Kaiwa No Koushiki (おもしろい人」の会話の公式 気のきいた一言がパッと出てくる!) ไม่ต้องพูดเก่ง แต่พูดแล้วน่าสนใจจนใคร ๆ ก็อยากฟัง ด้วยเคล็ดลับจากโปรดิวเซอร์ รายการโทรทัศน์มือหนึ่งของญี่ปุ่น

  • สร้างบรรยากาศที่ทำให้อีกฝ่ายอยากคุยกับคุณโดยไม่รู้ตัว
  • คิดคำพูดเจ๋ง ๆ ได้ในเสี้ยววินาที
  • ตอบคำถามแบบเหนือชั้นแม้จะถูกถามโดยไม่ทันตั้งตัว
  • ถึงจะพูดไม่เก่งแต่ก็ไม่เกิดช่วงเงียบที่ชวนอึดอัดใจ

รีวิวหนังสือ กฎ

สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อคุณรู้ “กฎการสนทนาของคนคุยสนุก” โดย “โยชิดะ เทรุยูกิ” โปรดิวเซอร์มือหนึ่งของสถานีโทรทัศน์ “NHK” เขาจะมาเผยสุดยอดเคล็ดลับของพิธีกรและนักร้องนักแสดงมากมาย ที่ทำให้พวกเขาดูเป็นคนคุยสนุกและมีเสน่ห์น่าสนใจเวลาพูดคุยกับคนอื่น เพียงนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปใช้ คุณก็จะพูดคุยได้สนุก น่าสนใจ และดึงดูดใครต่อใครให้เข้ามาคุยด้วย ถึงแม้คุณจะไม่ใช่คนพูดเก่งขนาดนั้นเลยก็ตาม!

หากเคยผิดหวังว่า เรานี่ช่างเป็นคนคุยไม่สนุกเอาซะเลย เล่มนี้จะช่วยให้คุณพูดคุยกับทุกคนได้อย่างสนุก ถ้าเราคุยสนุกจนสามารถทำให้คนอื่นขำได้ การพูดคุยก็จะดำเนินไปอย่างลื่นไหลต่อเนื่อง และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองอยากบอกให้คนอื่นรับรู้ได้

สรุปง่ายๆ คือ การคุยสนุกสามารถแก้ปัญหาการสื่อสารได้ทั้งหมด ยอมรับ คำพูดของอีกฝ่ายก่อน ความเอาใจใส่ ต่อความรู้สึกของอีกฝ่ายคือ กุญแจสำคัญที่ช่วยให้เราพูด โดนใจ อีกฝ่าย ขอแค่มีความเอาใจใส่ คุณก็สามารถพูดคุยกับทุกคนได้อย่างสนุกสนานแล้ว

6

ผู้เขียน : Teruyuki Komiya (เทรุยูกิ โคมิยะ)
ผู้แปล : อารีรัตน์ นาคสวัสดิ์

ราคา : 230 บาท
หน้า : 256 หน้า
สำนักพิมพ์ : WeLearn

รีวิวหนังสือ หมวด : จิตวิทยาพัฒนาตนเอง


Chapter 1 ทำไมสิ่งที่คุณพูดถึงไม่โดนใจคนฟัง

5

คนคุยสนุกมีอะไรที่ต่างจากคนอื่น

  • พูดเรื่องที่น่าสนใจ
  • การพูดให้โดนใจ คือ การยอมรับ
  • อ่านบรรยากาศ เอาใจใส่อีกฝ่าย
  • เราก็จะสามารถพูดให้โดนใจได้

คนที่สามารถตอบกลับได้อย่างยอดเยี่ยมเหมาะสมกับสถานการณ์ มักจะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่หัวดี หรือ เฉลียวฉลาด แต่จริงๆ แล้วเป็นเพราะเขาเอาใจใส่คู่สนทนา และมีมุมมองที่เป็นกลาง

ไม่จำเป็นต้องมี เรื่องน่าสนใจก็สามารถพูดคุยได้อย่างสนุกสนาน การพูดให้โดนใจ ไม่จำเป็นต้องมี มุกตลก แค่ทำตัวธรรมชาติและแสดง ความเป็นตัวเอง ออกมา ไม่ว่าคุณจะพูดเรื่องอะไร อีกฝ่ายก็จะรู้สึกถึง ความน่าสนใจ ได้เอง

หากรู้สึกกดดัน ความรู้สึกนั้นจะถ่ายทอดไปยังอีกฝ่ายด้วย เมื่อคนพูดไม่ผ่อนคลาย คนฝันก็จะไม่สามารถผ่ายคลาย ใจเย็นและ สงบนิ่ง จะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกผ่อนคลาย อึดอัดน้อยลง และเริ่มรู้สึกสนุก

คนเราจะรู้สึกดีใจเมื่อมี คนที่ให้ความสนใจตัวเอง ดังนั้นเริ่มจากสนใจว่า อีกฝ่ายเป็นคนแบบไหน หรือกำลังคิดอะไรอยู่ สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพูดให้โดนใจคนฟังก็คือ ทักษะการตั้งคำถาม

อย่าเพิ่งถอดใจเพราะนึกมุกเด็ดไม่ออก คนคุยสนุกนั้นไม่จำเป็นต้องมีเนื้อหาที่น่าสนใจเสมอไป ประเด็นคือ เขาอ่าน บรรยากาศของสถานการณ์ ออกและเลือก จังหวะในการพูดได้อย่างเหมาะสม

คนฟังจะรู้สึกสนุกกับเรื่องราวยากลำบากของคนอื่นมากกว่าเรื่องราวดีๆ เรื่องที่คาดไม่ถึงคือ ความจริงในแง่มุมต่างๆ ซึ่งไม่มีใครสังเกตเห็นมาก่อน

โดยทั่วไปแล้ว คนคุยสนุก จะมีทักษะ 4 ด้านดังนี้ (ทักษะ 4 ด้าน ของคนคุยสนุก)

  • ทักษะการฝัง
  • ทักษะการถาม
  • ทักษะการทำความเข้าใจคู่สนทนา
  • ทักษะการเงียบ

ในขณะที่คนอื่นกำลังพูดคุยกันอย่างสนุกสนานเฮฮา คนคุยสนุกจะคิดถึงประเด็นต่อไปที่จะนำมาใช้พูดคุย อย่าเอาแต่พูดเรื่องของตัวเอง ให้คุณลองอ่านบรรยากาศ และตั้งคำถามเพื่อให้รู้ความคิดของอีกฝ่าย เพราะนี่คือทางลัดสู่การเป็น คนคุยสนุก พูดสิ่งที่อีกฝ่ายคิดว่าน่าสนุก อ่านบรรยากาศ พูดด้วยมุมมองตัวเอง และเป็นธรรมชาติ

เรื่องเข้าใจผิด 1

  • O จำเป็นต้อง มีเรื่องที่น่าสนใจ ถึงจะพูดคุยได้อย่างสนุกสนาน
  • X ไม่จำเป็นต้องมี เรื่องน่าสนใจ ก็สามารถพูดคุยได้อย่างสนุกสนาน

เรื่องเข้าใจผิด 2

  • O ทำตัวสนุกสนานร่าเริงเข้าไว้
  • X ไม่ต้องฝืนทำตัวสนุกสนานร่าเริงก็ได้

เรื่องเข้าใจผิด 3

  • O ถ้าไม่มี มุกเด็ด เรื่องก็จะไม่น่าสนใจ
  • X เรื่องที่น่าสนใจไม่จำเป็นต้องมี มุกเด็ด เสมอไป

เรื่องเข้าใจผิด 4

  • O เรื่องสนุก คือ เรื่องในแง่บวก
  • X เรื่องสนุก คือ เรื่องโชคร้ายของคนอื่น หรือ เรื่องที่คาดไม่ถึง

เรื่องเข้าใจผิด 5

  • O เข้าไปร่วมวงสนทนาตอนที่คนอื่นกำลังพูดคุยกันอย่างออกรส
  • X ไม่เข้าร่วมวงสนทนาตอนที่คนอื่นกำลังพูดคุยกันอย่างออกรส

สิ่งที่ทำให้พูดคุยกันได้อย่างสนุกสนาน คือ ความเอาใจใส่

กฏข้อที่ 1 การให้ความความสนใจอีกฝ่ายสำคัญกว่า การพูดคุยอย่างสนุกสนาน

  • O คนคุยสนุก = ตั้งคำถาม
  • X คนคุยไม่สนุก = พยายามพูดเรื่องที่น่าสนใจ

กฏข้อที่ 2 ไม่ต้องฝืนทำตัวสนุกสนานร่าเริง แค่ทำตัวตามธรรมชาติก็พอ

  • O คนคุยสนุก = ทำตัวตามธรรมชาติ
  • X คนคุยไม่สนุก = พยายามทำให้บรรยากาศสนุกสนานครึกครื้นตั้งแต่เริ่มการสนทนา

กฏข้อที่ 3 ถึงจะไม่มีมุกเด็ดก็สามารถพูดได้อย่างน่าสนใจ

  • O คนคุยสนุก = เว้นช่วงในการพูด
  • X คนคุยไม่สนุก = พยายามจะเล่นมุกตลก

กฏข้อที่ 4 การสนทนาที่สนุกสนานเกิดจากการค้นพบความจริงในแง่มุมใหม่ๆ

  • O คนคุยสนุก = เรียกเสียงหัวเราะด้วยเรื่องราวยากลำบาก
  • X คนคุยไม่สนุก = ทำให้คนฟังเซ็งด้วยเรื่องที่ทำให้มีความสุข

กฏข้อที่ 5 ก่อนจะเริ่มพูด จงไตร่ตรองให้ดีก่อนว่าจะพูดอย่างไร

  • O คนคุยสนุก = คิดหา ประเด็นต่อไป ที่จะนำมาพูดคุยในขณะที่ทุกคนกำลังพูดคุณกันอย่างสนุกสนานเฮฮา
  • X คนคุยไม่สนุก = หาจังหวะพูดแทรกในขณะที่ทุกคนกำลังพูดคุยกันอย่างสนุกสนานเฮฮา

กฏข้อที่ 6 คนคุยสนุก คือ คนที่มี ความเอาใจใส่

  • O คนคุยสนุก = นึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่ายก่อนจะเริ่มพูด
  • X คนคุยไม่สนุก = พูดสิ่งที่ตัวเองคิดว่าน่าสนใจทันที

Chapter 2 เริ่มต้นจากการสร้างบรรยากาศที่ช่วยให้พูด “โดนใจ” คนฟัง!

4

กฎ 7 ข้อในการคุยเล่นที่ทำให้การสนทนาลื่นไหล การคุยสนุกเริ่มต้นจาก การคุยเล่น มีคนมากมายกลุ้มใจด้วยเรื่องที่ว่าตัวเองพูดคุยได้ไม่ลื่นไหล จริงๆแล้ว สาเหตุของเรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากการมีหัวข้อพูดคุยน้อย แต่เป็นเพราะวิธีการตอบคำถาม

สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่

  1. เปิดประเด็นสนทนาอย่างไร
  2. ตอบกลับไปอย่างไร(โดนใจอีกฝ่ายหรือไม่)

ห้ามพูดว่า ผมด้วย หรือ ฉันด้วย เพราะว่า ขณะที่อีกฝ่ายเล่าเหตุการณ์ที่เขาคิดว่าเป็นเรื่องพิเศษ การแสดงความเห็นว่า ผมด้วย หรือ ฉันด้วย ถือเป็นการทำลายความรู้สึกพิเศษของอีกฝ่ายและส่งผลให้อีกฝ่ายรู้สึกไม่ชอบเรา ใครๆก็อยากเล่าเรื่องของตัวเองกันทั้งนั้น โดยพื้นฐานแล้วคุณควรเงียบ และตั้งใจฟังเพื่อจะได้ไม่ทำลาย ความรู้สึกพิเศษของอีกฝ่าย

ไม่ตั้งคำถามที่สามารถตอบ YES หรือ NO ได้ ถ้าคุณอยากพูดคุยอย่างสนุกสนานจริงๆ ละก็ คุณต้องตั้งคำถามโดยพิจารณาสถานการณ์ของคู่สนทนาตามไปด้วย

วิธีตั้งคำถามอย่างง่ายๆ คือ ถามคำถามที่เชื่อมโยงกับเรื่องในอดีตของอีกฝ่าย

  • อย่าถามคำถามที่ทำให้การสนทนาขาดช่วง
  • ควรถาม คำถามที่สามารถทำให้อีกฝ่ายนึกขึ้น
  • เรื่องที่น่าสนใจในความทรงจำของตัวเองออก และหยิบยกมาพูดได้

คนเรามักจะเปิดใจให้กับคนที่สนใจตัวเอง การตั้งคำถาม จึงเป็นพื้นฐานของการพูดให้โดนใจ ถ้าคุณถามคำถามโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานความสนใจในตัวอีกฝ่าย คุณก็จะได้ฟังเรื่องราวที่น่าสนใจ

ในกรณีที่เจอหน้ากันครั้งแรก พุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่เขาเคยทำมาก็พอ

  • คำถามประเภท ทำไม และ อย่างไร จะช่วยให้การสนทนาลื่นไหลมากกว่า คำถามประเภท ใคร ที่ไหน และเมื่อไหร่
  • คำตอบของคำถามประเภท ทำไม และอย่างไรจะถ่ายทอดนิสัยใจคอของอีกฝ่ายออกมาให้เราเห็น
  • คิดคำถามด้วยการนำเรื่องราวของอีกฝ่ายมา แปลงให้เป็นภาพ

อันที่จริงแล้ว ถ้าอีกฝ่ายเป็นคนเพิ่งเคยเจอกันครั้งแรก เราก็จะยิ่งคุยเล่นได้นานขึ้น เพราะทั้งตัวเรา และอีกฝ่ายต่างก็ไม่รู้จักกันมาก่อน จึงสามารถถามเรื่องภูมิหลัง หรือเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เป็นการเสียมารยาทไปได้เรื่อยๆ ถ้านึกอะไรไม่ออก ให้เริ่มถามจากเรื่องสมัยประถม นี่คือกฎเหล็ก การถามอย่างไม่รีบร้อน โดนรอจนกว่าอีกฝ่ายจะพูดประเด็นที่น่าสนใจออกมา

วิธีฟังที่ช่วยให้นึกคำถามออก เคล็ดลับในการฟังคู่สนทนา คือ ฟังพร้อมกับแปลงให้เป็นภาพ แปลงให้เป็นภาพ และดึงข้อมูลจาก ความทรงจำ เพื่อต่อยอดประเด็นการสนทนา การสร้างกระแสการพูดคุย โดยมีหลักาลสำคัญอยู่ที่ว่าทิศทางของเรื่องที่คุยจะต้องพุ่งเป้าไปหาอีกฝ่ายอยู่เสมอ

ตอบคำถาม ด้วยคำพูดที่ชัดเจน ช่วงแรกต้องพูดให้ละเอียด และชัดเจน ย้อนถามเรื่องเดียวกับที่อีกฝ่ายถามมา นี่คือหลักพื้นฐานในการสนทนาให้ได้ลื่นไหลต่อเนื่อง

โดยปกติแล้วคนเรามักจะชอบถามในเรื่องที่ตัวเองสนใจ ถามคู่สนทนากลับทันที เวลาพูดหลายคน ให้เริ่มจากการพูดคุยแบบ สองต่อส่องก่อน ผ่อนคลายความตื่นเต้นก่อน

  • กฏข้อที่ 7 : ปล่อยให้อีกฝ่ายพูด เรื่องดีๆ ของตัวเองไปคนเดียว
  • กฏข้อที่ 8 : ตั้งคำถามโดยคำนึงถึง เรื่องในอดีต และ สถานการณ์ของอีกฝ่าย
  • กฏข้อที่ 9 : ใช้คำถามประเภท ทำไม และ อย่างไร เพื่อทำให้การสนทนาลื่นไหลต่อเนื่อง
  • กฏข้อที่ 10 : เมื่อแปลงเรื่องราวของอีกฝ่ายให้เป็นภาพก็จะค้นพบประเด็นที่น่าสนใจ
  • กฏข้อที่ 11 : พุ่งไปที่การต่อยอดการสนทนา ไม่ใช่การตอบคำถาม
  • กฏข้อที่ 12 : คำพูดที่ละเอียดชัดเจน จะทำให้การสนทนาดำเนินต่อไปได้
  • กฏข้อที่ 13 : สิ่งแรกที่ต้องทำคือ ผ่อนคลายความตื่นเต้นแล้วลดระยะห่างระหว่างกัน

Chapter 3 กฎ 12 ข้อในการเปลี่ยนวิธีพูดเพื่อให้พูดคุยได้อย่างสนุกสนาน

3

ทำไมบางคนถึงคุยสนุก โดยปกติแล้วคนคุยสนุกแค่ใช้คำพูดธรรมดาๆ ก็สามารถทำให้คู่สนทนาหัวเราะได้แล้ว ฝึกสังเกตตัวเองและอ่านบรรยากาศการสนทนา จนติดเป็นนิสัย เวลาจะนำเทคนิคที่ผลแนะนำในบทนี้ไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน

พลิกแพลงคำพูดเพื่อให้การสนทนาน่าสนใจ เชื่อมโยงแล้วพลิกแพลงเรื่องราว ค้นหาจุดขัดแย้ง และ ความหมายอื่นจากเรื่องราวที่คุยกัน ค้นหา

ความหมายอื่นของคำพูดเดียวกัน กฏ เออออ ด้วย 1 ครั้ง แล้วค่อยปฏิเสธ ต้องรับมุกด้วยการเออกลับไปแล้วค่อยปฏิเสธ ช่วงแรกคุณอาจไม่รู้ว่าจะพูดอะไรต่อไปดี แต่ในระหว่างที่คุณพูดว่าใช่เลย สมองของคุณจะผ่อนคลายลง ทำให้นึกถึงคำพูดไปออกเอง

  • กฏข้อที่ 14 : ค้นพบคำพูดที่เฉียบคมด้วยการ เชื่อมโยง + พลิกแพลงคำพูด
  • กฏข้อที่ 15 : อย่าฟังคำพูดของคู่สนทนาอย่างเดียว ต้องลองนำมาพลิกแพลงให้มี จุดขัดแย้ง และแฝง ความหมายอื่นด้วย
  • กฏข้อที่ 16 : การคิดในแง่ + ด้วยการเออออ 1 ครั้ง จะทำให้พูดคุยได้อย่างสนุกสนาน
  • กฏข้อที่ 17 : ทำให้เรื่องราวดีๆของคู่สนทนาเป็นเรื่องพิเศษ
  • กฏข้อที่ 18 : ทำให้การสนทนาสนุกสนานด้วยการ โอ้อวดตัวเอง+ดูถูกตัวเอง
  • กฏข้อที่ 19 : ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่สังคมให้การยอมรับอย่างเต็มที่
  • กฏข้อที่ 20 : อ้างอิงคนที่มีอิทธิพลในสังคม เมื่อต้องการพูดถึงตัวเองและ ค้นหาจุดร่วมเมื่อต้องการคำอธิบายคำพูดของคู่สนทนา
  • กฏข้อที่ 21 : ใช้คำพูดที่ชัดเจน เพื่อให้อีกฝ่ายนึกภาพออก
  • กฏข้อที่ 22 : มุกประจำตัวเป็นสิ่งที่พึ่งพาได้ แต่ต้องไม่เล่นพร่ำเพรื่อ
  • กฏข้อที่ 23 : เมื่อสังเกตเห็นด้านที่คาดไม่ถึงของคู่สนทนาก็ให้ลองพูดออกมา
  • กฏข้อที่ 24 : การพูดถึงปมด้อยของตัวเองเป็นไม้ตายในการเรียกร้องเสียงหัวเราะ
  • กฏข้อที่ 25 : ถ้าคู่สนทนาไม่ค่อยมีปฏิกิริยาตอบสนอง ลองตรวจสอบดูว่าวิธีการพูดของคุณมีปัญหาตรงกับสถานการณ์แบบใด

Chapter 4 กฎ 20 ข้อของ “การพูดแบบคนคุยสนุก” ในสถานการณ์ต่าง ๆ

2

  • กฏข้อที่ 26 : ถึงแม้คู่สนทนาจะหัวเราะไปกับเรื่องที่เราพูด แต่ใจจริงแล้วอาจรู้สึกเบื่อหน่าย
  • กฏข้อที่ 27 : อธิบายรายละเอียดถ้าอีกฝ่ายเป็นคนที่สนิทสนมรู้ใจกัน
  • กฏข้อที่ 28 : เรื่องไร้สาระ ช่วยให้การพูดคุยกับคนที่สนิทสนมกันสนุกสนานขึ้น
  • กฏข้อที่ 29 : หัวหน้าที่เก่งๆจะหัวเราะและยกโทษให้ลูกน้องที่แซวเล่น
  • กฏข้อที่ 30 : สาเหตุที่หัวหน้าและรุ่นพี่บ่นก็เพราะ อยากให้เราพูดในสิ่งตรงข้าม
  • กฏข้อที่ 31 : ลูกน้อง และ รุ่นน้องไม่ได้อยากฟังคำสั่งสอน แต่อยากได้ความมั่นใจในตัวเองกลับคืนมา
  • กฏข้อที่ 32 : จริงๆแล้วทุกคนอยากทำสิ่งใหม่ๆ
  • กฏข้อที่ 33 : คนเรามักมองว่าคนที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นเป็นคนคุยสนุก
  • กฏข้อที่ 34 : การไม่พูดปิดท้ายด้วยคำพูดที่ทำให้ตัวเองดูดี จะดึงดูดความสนใจจากคนอื่นได้มากกว่า
  • กฏข้อที่ 35 : ถ้าอยากให้คนอื่นฟังเรา เราก็ต้องสร้างบรรยากาศที่ชวนให้คนอื่นอยากฟังเราพูดก่อน
  • กฏข้อที่ 36 : อย่ามัวแต่เกรงใจบอกความต้องการพร้อมความรู้สึกลังเล ออกไปตรงๆ ได้เลย
  • กฏข้อที่ 37 : ขณะที่กำลังพูดคุยอย่างสนุกสนาน อย่าลืมเอาใจใส่คนรอบข้างด้วย
  • กฏข้อที่ 38 : ผู้ชายต้องเริ่มต้นจากการบอกผู้หญิงว่า ชอบ แล้วคอยดูท่าที ส่วนผู้หญิงต้องเริ่มต้นจากการชมผู้ชายว่า เก่งจัง แล้วคอยดูท่าที
  • กฏข้อที่ 39 : ทำให้บรรยากาศผ่อนคลายด้วยการสารภาพออกไปว่า ตื่นเต้น
  • กฏข้อที่ 40 : สิ่งที่ช่วยให้การพูดคุยลื่นไหนต่อเนื่องคือ การค้นหาสาเหตุ ที่อยู่เบื้องหลัง ความนิยม
  • กฏข้อที่ 41 : เรื่องสัพเพเหระอย่าง ไดเอต ดูดวง และ ผู้ชายกับผู้หญิง จะทำให้การพูดคุยสนุกครึกครื้นได้ง่าย
  • กฏข้อที่ 42 : เวลาสนทนากับผู้ชายให้สังเกตนาฬิกาข้อมือ และเวลาสนทนากับผู้หญิงให้สังเกตกระเป๋า
  • กฏข้อที่ 43 : เมื่อวงสนทนามีบรรยากาศที่ชวนอึดอัด ให้เว้นช่วงครู่หนึ่งแล้วพูดว่า อืม ช่างมันเถอะ
  • กฏข้อที่ 44 : การแสดงความคิดเห็นโดยคำนึงถึงจิตใจของคนอื่นจะช่วยป้องกันไม่ให้บรรยากาศกร่อยลงได้
  • กฏข้อที่ 45 : แสดงท่าทางเพื่อบอกความรู้สึก

Chapter 5 กฎ 10 ข้อของ “การพูดให้โดนใจผู้คนในที่สาธารณะ”

1

  • กฏข้อที่ 46 : ทำให้คนฟังรู้สึกโดนใจโดยการหยิบยกสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าขึ้นมาพูด
  • กฏข้อที่ 47 : การพูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าแบบเรียบๆ จะช่วยให้คนฟังรู้สึกโดนใจ
  • กฏข้อที่ 48 : การพูดสิ่งที่ตรงข้ามกับความเป็นจริงจะทำให้คนฟังหัวเราะจากใจจริงได้
  • กฏข้อที่ 49 : ใครๆก็อยากฟัง ตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน มากกว่า ความคิดที่เป็นนามธรรม
  • กฏข้อที่ 50 : เวลาพูดสุนทรพจน์ เราสามารถเรียกเสียงหัวเราะได้ ด้วยการเล่าประสบการณ์ความล้มเหลวของตัวเอง
  • กฏข้อที่ 51 : เมื่อต้องพูดแบบกะทันหัน อย่าลนลาน แล้วลองนึกทบทวนเหตุการณ์ในอดีตดู
  • กฏข้อที่ 52 : ในขณะที่ทุกคนกำลังสนุกสนานครึกครื้น ให้คิดหาเรื่องที่จะพูดต่อไป
  • กฏข้อที่ 53 : ตัวตนที่ผิดคาดไปจากที่คิด จะติดตรึงอยู่ในความทรงจำของอีกฝ่าย
  • กฏข้อที่ 54 : เมื่อทำลายกำแพงที่ขวางกั้นระหว่าง คนฟัง กับ คนพูด ก็จะเกิดเสียงหัวเราะขึ้น
  • กฏข้อที่ 55 : ถึงแม้มุกที่เล่นจะแป้ก แต่ก็มีวิธีแก้ไขสถานการณ์ได้

 

รีวิวหนังสือ โดย คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Gj9J3C