ระบบแฟรนไชส์ กับ ความเชื่อมั่น กรณีศึกษา KFC อังกฤษปิดร้าน

ได้เห็นข่าว KFC แฟรนไชส์ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดไก่ทอดชื่อดังจากสหรัฐฯ ประกาศปิดร้านสาขากว่า 900 แห่งทั่วอังกฤษเป็นการชั่วคราว เพราะเผชิญวิกฤตขาดไก่ ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการปรุงอาหาร 

โดยเบื้องลึกเบื้องหลังเกิดขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว KFC ของอังกฤษ ได้เปลี่ยนบริษัทขนส่งวัตถุดิบใหม่ จาก Bidvest Logistics เป็น DHL ซึ่งรับหน้าที่ดูแลการขนส่งวัตถุดิบไก่ ให้กับร้านแฟรนไชส์มากถึงร้อยละ 80 ทั่วประเทศอังกฤษ

ระบบแฟรนไชส์

ภาพจาก goo.gl/XyU3Ym , goo.gl/Kf3CmR

อันที่จริงในระบบของธุรกิจ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเรื่องปัญหาเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าหากไม่มีการบริหารจัดการระบบต่างๆ ที่ดีพอ โดยเฉพาะเรื่องของการจัดส่งวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตสินค้า รองรับความต้องการของลูกค้า ถ้าธุรกิจไม่สินค้าส่งให้ลูกค้า ก็ถือว่าขาดทุน

ยิ่งเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ด้วยแล้ว เรื่องการบริหารจัดการระบบแฟรนไชส์ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก เมื่อไม่มีวัตถุดิบในการผลิต ก็กระทบต่อสาขาแฟรนไชส์ทั้งระบบ

เพราะบริษัทแม่ หรือเจ้าของแฟรนไชส์ มีหน้าที่ในการจัดส่งวัตถุดิบให้แก่ร้านสาขาแฟรนไชส์ทุกแห่ง ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์จัดส่งวัตถุดิบให้แฟรนไชส์ซีไม่ทัน หรือส่งบ้าง ไม่ส่งบ้าง ถือว่าเสียหายหนักมาก เพราะอย่าลืมว่ายอดขายแต่ละสาขาเป็นหลักแสน หลักล้านต่อวัน ยิ่งเป็น KFC ด้วยแล้วเสียหายแสนสาหัส

แต่ถ้าเปรียบเทียบระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย หากเจ้าของแฟรนไชส์ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบให้แก่ร้านสาขาแฟรนไชส์ได้ ก็ถือว่าระบบแฟรนไชส์มีปัญหาแล้ว อาจถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล ที่สำคัญส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของลูกค้าที่ซื้อสินค้า รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปทำธุรกิจ เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องการให้เจ้าของแฟรนไชส์ดูแลและช่วยเหลือพวกเขาตลอดอายุสัญญา

ii4

ภาพจาก goo.gl/rbfYwE

เมื่อลูกค้าและผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เชื่อมั่นในแบรนด์แฟรนไชส์ของคุณแล้ว อาจถึงขั้นไม่ซื้อสินค้าหรือใช้บริการไปเลย เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องการแบรนด์แฟรนไชส์ที่สามารถให้การดูแล และสามารถจัดส่งวัตถุดิบหรือสินค้าให้กับพวกเขาได้ทุกๆ วัน

ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ไม่สามารถจัดส่งวัตถุดิบได้ บางครั้งแฟรนไชส์ซีอาจไม่จ่ายค่า Royalty Fee ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ก็ได้ หรืออาจต้องถึงขั้นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากแฟรนไชส์ซอร์ ดังนั้น ระบบแฟรนไชส์จะเติบโต ขยายสาขาแฟรนไชส์ได้ อย่างมั่นคง ก็ต้องขึ้นอยู่กับความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างเจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์

ระบบจัดหา จัดส่งวัตถุดิบ กุญแจไขสู่ความสำเร็จของแฟรนไชส์

ii5

ภาพจาก goo.gl/iAp9xz

หากต้องการบริการจัดการระบบแฟรนไชส์ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ด้านอาหาร การกินต่างๆ ให้เติบโต เจ้าของแฟรนไชส์ให้ความสำคัญในเรื่อง การจัดหาวัตถุดิบ และควบคุมคุณภาพ เพราะสินค้าจะมีคุณภาพหรือไม่ วัตถุดิบก็มีส่วนสำคัญ

คุณภาพของวัตถุดิบที่จะนำมาทำนั้น ต้องรู้ว่าเป็นคุณภาพแบบไหน ความชื้นเท่าใด ต้องรักษาและดูแลอย่างไรถึงจะรักษาคุณภาพของวัตถุดิบ ให้เป็นไปตามกำหนดได้ การจัดซื้อจากแหล่งใด ก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้เช่นกัน ที่สำคัญเจ้าของแฟรนไชส์อย่าตุนสินค้าไว้ในคลังเยอะเกินไป เพราะบางครั้งอาจเสื่อมคุณภาพได้

ขณะเดียวกัน เจ้าของแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการเรื่องการรับ และส่งวัตถุดิบด้วย โดยคุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และการกระจายสินค้าออกไปสู่แฟรนไชส์ซี การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้ เช่น น้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุป เป็นต้น

ii6

ภาพจาก goo.gl/gJi24E

นอกจากนี้ เรื่องของการกระจายศูนย์เพื่อควบคุมลูกข่าย เมื่อเจ้าของแฟรนไชส์ขยายสาขาออกไปมากๆ การควบคุมดูแลจะเริ่มมีปัญหา ดังนั้น การสร้างศูนย์ เพื่อควบคุมลูกข่าย เป็นหนทางแก้ปัญหาอย่างหนึ่ง

เช่น ศูนย์ภาคเหนือ ศูนย์ภาคอีสานเป็นต้น มีการอบรมพนักงานในศูนย์เป็นประจำ และตรวจสอบคุณภาพการให้บริการของศูนย์เหล่านั้น อยู่บ่อยๆ ด้วยครับ อย่างกรณีแฟรนไชส์ใหญ่อย่าง 7-Eleven ก็บริหารสาขาด้วยระบบนี้

หรือแม้แต่ KFC แม็คโดนัลด์ แฟรนไชส์ยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศ ก็ยังบริหารสาขาในต่างประเทศด้วยวิธีเดียวกันนี้ แต่อาจจะเป็นศูนย์ระดับประเทศ เพื่อดูแลและจัดหาวัตถุดิบส่งให้กับสาขาแฟรนไชส์ในแต่ละประเทศ

ii8

ภาพจาก goo.gl/yuJR4U

สรุปก็คือ เรื่องของการบริหารจัดส่งวัตถุดิบ ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากในระบบแฟรนไชส์ ถ้าเจ้าของแฟรนไชส์บริหารจัดการผิดพลาด เรื่องการหาวัตถุดิบและจัดส่งให้กับสาขาแฟรนไชส์ซีให้ทันเวลา หรือทันต่อความต้องการ ก็อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณทั้งระบบ เพราะอาจนำไปสู่ความเชื่อมั่น และความไว้เนื้อเชื่อใจในแบรนด์แฟรนไชส์ก็ได้ครับ

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
สนเปิดร้านแฟรนไชส์ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php


Franchise Tip

เจ้าของแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซอร์ ถ้าไม่มีความพร้อมในเรื่องของการจัดส่งวัตถุดิบ หรือสินค้า ให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี ก็ไม่ควรที่จะเร่งรีบขายแฟรนไชส์ เพราะจะส่งผลเสียต่อแบรนด์แฟรนไชส์ของแฟรนไชส์ซอร์เอง เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องการอยู่กับเจ้าของแฟรนไชส์ที่สามารถดูแลเขาได้

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช