รวม 8 เทรนด์ธุรกิจปี 2021 ที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง!

โลกยุคใหม่ “มันอยู่ยาก” แต่ถ้าอยากอยู่รอดก็จำเป็น “ต้องปรับเปลี่ยน” โดยเฉพาะคนทำธุรกิจจะมัวยึดติดกับความสำเร็จในอดีต วิธีการเดิมๆ ตั้งแต่ปี 2563 ที่เราเจอปัญหาถาโถมเข้าใส่ ปี 2564 จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปลี่ยนตัวเอง “อย่างสิ้นเชิง”

เพื่อให้ธุกิจก้าวหน้าต่อไปได้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวม 8 เทรนด์ธุรกิจปี 2021 ที่บอกว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง ถ้ายังคิดว่าไม่สำคัญ ไม่ใส่ใจและเพิกเฉยต่อสิ่งเหล่านี้ ธุรกิจที่ทำได้ทุนหาย กำไรหดแน่ๆ

1.สินค้าทุกชนิดเน้น “สุขภาพ” มากขึ้น

8

www.facebook.com/DettolThai/

ในอดีตจุดขายของสินค้าจะเน้นความเป็นตัวเอง ที่ทำให้ดูโดดเด่นกว่าคู่แข่ง เช่น หอมกว่า ใหญ่กว่า มากกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภคใดๆ ก็จะมีจุดขายในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งนับแต่มีการระบาดของ COVID 19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่ชัดเจนและคาดว่าตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไปจะกลายเป็นเทรนด์ของสินค้าทุกชนิดที่ต้องเน้นไปที่ “สุขภาพ” เนื่องด้วยทัศนคติของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์เดทตอล ที่กลายเป็นสินค้ายอดฮิตที่และมีจุดยืนในเรื่อง “สุขภาพ” ชัดเจนเช่น ฆ่าเชื้อฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.9% แลกการสะสมของแบคทีเรีย 100% ปกป้องทุกคนได้อย่างมั่นใจ เป็นต้น

2.อาหารขยะหลีกไป..อาหารสุขภาพมาแน่

7

ภาพจาก bit.ly/2L2algC

พฤติกรรมการกินนับจากปี 2021 จะเริ่มชัดเจนขึ้น ซึ่งที่จริงก็เริ่มชัดเจนมาตั้งแต่ช่วง 1-2 ปี แต่เมื่อมีสถานการณ์ของ COVID 19 เป็นตัวเร่งให้ “อาหารสุขภาพ” เกิดและเติบโตเร็วมาก ซึ่งอาหารสุขภาพ Plant-Based Meat ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแค่กลุ่มที่รับประทานมังสวิรัติเท่านั้น แต่ผู้บริโภคทั่วไปเริ่มกินอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น

จากการที่สตาร์ทอัพในธุรกิจอาหาร สร้างนวัตกรรมให้กับวงการอาหารใหม่ Plant-Based Meat ที่ไม่เพียงดีต่อสุขภาพเพราะเป็นโปรตีนที่ทำจากพืชเท่านั้น แต่ด้วยรสชาติที่ไม่ต่างกับการกิน ทำให้ตลาดแจ้งเกิดเริ่มแพร่หลายทั้งในอเมริกา ยุโรป และคาดว่าจะเริ่มเข้าสู่ตลาดเอเชียมากขึ้น

3.สู่โลกดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ

6

ภาพจาก bit.ly/38jxYKc

การแพร่ระบาดของ COVID 19 เป็นตัวแรงให้สังคมเข้าสู่โลกดิจิทัลเร็วขึ้น จากที่คาดว่าจะมาแรงก็กลายเป็นสมบูรณ์แบบไปโดยปริยาย ทุกวันนี้เรารู้จักคำว่า New Normal หรือก็คือวิถีชีวิตใหม่ ที่พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปสิ้นเชิง ทั้งการซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซในหลากหลายแพลตฟอร์ม โดยตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีมูลค่าสูงถึง 220,000 ล้านบาท ในปี 2020 หรือมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35% จากปีก่อนหน้า

การสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่น ส่งผลให้ฟู้ดเดลิเวอรี่เติบโต 100-200% จากปี 2562 มีมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท หรือแม้กระทั่งการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด การดูหนังและฟังเพลงผ่านวิดีโอสตรีมมิ่ง (Video Streaming) และการสร้างความบันเทิงใหม่ๆ ให้กับตัวเอง อย่างแอปพลิเคชั่น Tik Tok และโลกของการทำงานที่เปลี่ยนไปเข้าสู่ Work From Home ที่ทำให้แอปพลิเคชั่นอย่าง ZOOM แจ้งเกิด ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นตัวเร่งที่ทำให้ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็น Smart City ได้เร็วยิ่งขึ้น

4.Logistics จะโตและโตยิ่งขึ้น

5

ภาพจาก bit.ly/3hPejVw

ในอดีตที่ผ่านมาการขนส่ง (โลจิสติกส์) มีการขยายตัวทุกปี แต่ผลจากการเติบโตของอีคอมเมิร์ชแบบก้าวกระโดดนี้ก็ทำให้ โลจิสติกส์ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน เป็นการเติบโตด้านบวกที่เรียกว่าเฟื่องฟูได้เลยทำให้มีผู้ประกอบการทั้งค่ายยักษ์ใหญ่และผู้ประกอบการหน้าใหม่ในประเทศ ต่างเข้ามาบุกทำตลาดนี้ มีมูลค่าตลาดขนส่งพัสดุถึง 66,000 ล้านบาท ในปี 2020 โดยทุกแบรนด์ต้องแข่งกันที่คุณภาพ ความทันสมัยในด้านบริการ

เช่น ไปรษณีย์ไทย นำร่องติดตั้งระบบ Digital Service Kiosk เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สาย รองรับการอ่านข้อมูลบัตรประชาชน กล้องถ่ายภาพยืนยันตัวตน (eKYC) หรือการผนึกกำลังพันธมิตรธุรกิจ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดร้านเบเกอรี่คาเฟ่ – เบลลินี เบคแอนด์บรู (Bellinee’s Bake & Brew) ในพื้นที่ไปรษณีย์ เป็นจุดพักผ่อนสำหรับผู้ใช้บริการซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนให้เป็นสถานที่ที่มากกว่าแค่การส่งพัสดุ

5.ธุรกิจต้อง “แตกไลน์” ให้อยู่รอดมากขึ้น

4

ภาพจาก bit.ly/398oqkv

จากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่ไม่ใช่ผลกระทบแค่ในประเทศแต่เป็นผลกระทบทั่วโลกและดูท่าว่าจะไม่จบง่ายๆ หลายธุรกิจที่เคยเฟื่องฟู กับทรุดอย่างไม่เป็นท่า ไม่ว่าจะการบิน ท่องเที่ยวโรงแรมรีสอร์ท ร้านค้าร้านอาหาร ต่างโอดโอยและได้รับผลกระทบอย่างหนัก ขณะเดียวกันบางธุรกิจกลับมีความต้องการของตลาดสูงขึ้น เช่น หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ จึงเห็นว่าธุรกิจต่างปรับไลน์การผลิตสินค้าเกิดขึ้นทั่วโลก

ยกตัวอย่าง LVMH เจ้าของแบรนด์หรูอย่าง Louis Vuitton ประกาศปิดไลน์การผลิตน้ำหอมและเปลี่ยนมาผลิตเป็นเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ เช่นเดียวกับในประเทศไทย ชุดชั้นในวาโก้ปรับไลน์การผลิตมาเป็นหน้ากากผ้า กระทั่งกลายเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในปัจจุบัน ส่วนในด้านของอาชีพของการทำงาน นักบินที่ต้องตกงานจากการแพร่ระบาด COVID 19 ก็หันมาเป็นช่างซ่อมแอร์ ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวเพื่อสร้างรายได้และเพื่อความอยู่รอด

6.เครื่องดื่มผสมวิตามิน ปีนี้มาแรง

3

ภาพจาก www.facebook.com/VITADAYofficial/

ในปี 2564 ธุรกิจสายเครื่องดื่มจะยังเป็นการลงทุนที่น่าสนใจ แต่ไม่ใช่เครื่องดื่มแบบทั่วไป คนนับแต่นี้จะมองที่เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผสมวิตามินจะมาแรง ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่มวิตามินเข้มข้น ผลิตภัณฑ์เจลลี่ วิตามินซี และวิตามินบี โดยเริ่มมีค่าย วิตอะเดย์ ผลิตเครื่องดื่มผสมสารต่างๆ สู่ตลาดมากขึ้น

เช่น ไฟเบอร์ หรือกระทั่ง Iron โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ปี 2563 ตลาดเครื่องดื่มผสมวิตามินในไทยจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 1.2 ของมูลค่าเครื่องดื่มทั้งหมดของไทย และคาดว่ามูลค่าตลาดจะขยับขึ้นเป็นประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาทในปี 2564

7.เทคโนโลยีสุขภาพ จะเฟื่องฟูสุดขีด

2

ภาพจาก bit.ly/2XfnsgT

กระแสสุขภาพที่ไม่เพียงจุดประกายในวงการอาหารและเครื่องดื่ม แต่มีการพัฒนาเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์สุขภาพและเปิดตัวสู่ตลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องปรับอากาศ หน้ากากอนามัย สเปรย์นานาชนิด ถุงมือยาง ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ที่ชูจุดเด่นในเรื่องของการป้องกันเชื้อโรค

และนับว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการที่จะมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและสุขอนามัยรองรับความต้องการของผู้บริโภคในอนาคตได้อีกมากมาย โดยในปี 2564-2565 คาดว่ามูลค่าการจําหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย 6.5% ต่อปี ขณะที่มูลค่าการส่งออกจะเฉลี่ยที่ 5.0% ต่อปี

8.ธุรกิจอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้ ต้องสร้างพันธมิตรมากขึ้น

1

ภาพจาก bit.ly/35kFy5A

จากเดิมที่ธุรกิจอาจอยู่ได้ด้วยลำแข้งตัวเอง แต่นับจากนี้ต้องเปลี่ยนไปสิ้นเชิง การยืนหยัดลำพังอาจทำให้ธุรกิจพังได้ไม่เป็นท่าจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจหลายอย่างที่ยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้น หลายองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับวิธีลดการทำงานให้มีขั้นตอนน้อยที่สุด ขณะที่กลยุทธ์ CRM Marketing ถูกนับมาใช้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยการผนึกความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ เพื่อให้การใช้บริการ CRM เพิ่มมากขึ้น เช่น Singha Rewards จับมือร่วมกับ Blue Card เพื่อนำพ้อยท์ไปใช้บริการผลิตภัณฑ์และบริการในปตท. ขณะเดียวกันการทำ CRM ยังเป็นการจัดทำ Data เพื่อเป็นข้อมูลและสร้างบริการสินค้าที่โดนใจให้กับลูกค้าได้อีก

หากปี 2563 เป็นปีที่เจอวิบากกรรม ปี 2564 ก็ถือเป็นปีที่ทุกธุรกิจต้องเรียนรู้เพื่อจะอยู่รอด ปี 2563 หลายธุรกิจเริ่มไปไม่รอดและต้องยุติกิจการโดยสิ้นเชิง หากหวังอยู่รอดนับแต่นี้ทุกธุรกิจต้องคิดเร็ว ทำเร็ว คิดใหม่ ทำใหม่ ต้องบูรณาการธุรกิจให้ก้าวตามยุคสมัย ลดขั้นตอนการทำงาน ลดรายจ่ายตัวเอง เพื่อมุ่งสร้างกำไรให้ได้มากที่สุด เป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก แต่ก็จำเป็นต้องทำเพราะวิกฤติเศรษฐกิจที่เจออยู่ตอนนี้ยังไม่มีวี่แววว่าจะดีขึ้นตอนไหน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/39k5oYy

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด