รวม 5 เทคนิคจัดการ “หนี้”

ไม่มีใครที่อยากเป็นหนี้แต่ การเป็นหนี้ บางทีก็หมายถึงการอยู่รอดของครอบครัว เมื่อใดก็ตามที่รายรับน้อยกว่ารายจ่าย ไม่มีรายได้มาหมุนเวียนทางออกที่ดีที่สุดคือ “เป็นหนี้” จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าครอบครัวคนไทยเป็นหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 340,000 บาท เป็นหนี้ในระบบประมาณ 60% หนี้นอกระบบประมาณ 40

และยิ่งหนักขึ้นเมื่อมีการแพร่ระบาดของ COVID 19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ที่ทำให้คนไทยเริ่มเป็นหนี้กันตั้งแต่อายุยังน้อย (อายุไม่เกิน30) กลุ่มคนเหล่านี้ตกอยู่ในสถานภาพการเป็นลูกหนี้ถึง 50% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล

และจากมาตรการของภาครัฐสารพัดวิธี ก็ดูเหมือนจะไม่ช่วยให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นในระยะยาว ไม่ว่าจะเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สารพัดโครงการเยียวยา ก็แค่ทำให้คนส่วนใหญ่อยู่รอดไปวันๆ แต่ก็ยังเป็น “หนี้” เหมือนเดิม

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงคิดว่าเราควรหาวิธี “จัดการหนี้” แต่ก็ ไม่มีสูตรการปลดหนี้ที่ไหนบอกว่าหาเงินได้เท่าไหร่ให้เอาไปใช้หนี้ให้หมด อันที่จริงมีวิธีจัดการหนี้มากมาย ถ้าไม่หมดหนี้ในทันทีแต่อย่างน้อยก็น่าจะทำให้หนี้ที่มีอยู่น้อยลงกว่าเดิมได้

ประเภทของหนี้

1.หนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายเกินตัวและก่อนให้เกิดภาระทางการเงิน

43

ภาพจาก pixabay.com

พูดง่ายๆก็คือหนี้ที่เกิดขึ้นเพราะเราอยากได้โน้นนี่ เช่น มีเงินเดือน 20,000 ซื้อของที่อยากได้ซะ 50,000 จนทำให้รายจ่ายมากกว่ารายรับและนำเงินอนาคตมาใช้ ใช้บัตรเครดิตมาผ่อน ทำให้เกิดภาระทางการเงินและต้องจ่ายดอกเบี้ยจนหนี้ท่วม

2.หนี้ที่เกิดประโยชน์ในอนาคต

42

ภาพจาก pixabay.com

เชื่อว่าทุกคนน่าจะรู้ว่าหนี้ประเภทนี้เกิดจากอะไร ใช่แล้ว! ก็เช่น ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อที่ดิน หรือบางทีซื้อรถเพื่อใช้ประโยชน์ก็คือหนี้ที่อาจจะต้องจ่ายแต่สิ่งที่ได้คืนมาคือหลักประกันในอนาคตที่มั่นคงขึ้น

ก่อนที่จะไปวางแผนชำระและจัดการหนี้ เราต้องรวบรวมข้อมูล “หนี้สิน” ตัวเองทั้งหมดก่อนว่าเป็นหนี้แบบไหน อย่างไร เท่าไหร่ ถ้าเป็นหนี้ที่สร้างรายได้และความมั่นคงในในอนาคตเรียกว่า “หนี้ดี” แต่ถ้าเป็นหนี้ที่ไม่สร้างรายได้และเป็นภาะระที่ต้องชดใช้เรียกว่า “หนี้เสีย”

รวม 5 วิธีจัดการหนี้

41

ภาพจาก pixabay.com

1.จัดการหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน

แม้ว่าหนี้ทุกอย่างจะมีความจำเป็น และมีระยะเวลาในการชดใช้ เราต้องมาบริหารจัดการก่อนว่า หนี้ก่อนไหนที่โหดสุด ดอกเบี้ยแพง ถ้าเลือกได้ควรใช้หนี้ที่ยากที่สุดก่อน อาจจะพักชำระหนี้ในส่วนอื่นเอาไว้ (ถ้าทำได้) แล้วหันมาโฟกัสใช้หนี้ดอกเบี้ยแพงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

2.กู้หนี้ใหม่มาปิดหนี้เก่า

วิธีนี้ก็ยังทำให้เราเป็นหนี้เหมือนเดิมเพียงแค่เปลี่ยนเจ้าหนี้ แต่ข้อดีของการกู้หนี้ใหม่มาปิดหนี้เก่า โดยเฉพาะถ้าได้เงินกู้จากสถาบันการเงินที่อัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน เราต้องแน่ใจว่าดอกเบี้ยใหม่ที่เราเสียนั้นน้อยกว่าดอกเบี้ยจากเงินกู้เดิมที่เรามีอยู่ เช่น เป็นหนี้นอกระบบ 100,000 จ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อเดือน เท่ากับเราต้องส่งดอกเบี้ยรายเดือนละเป็นหมื่น แต่ถ้าเรากู้จากธนาคารมาได้อัตราดอกเบี้ยประมาณ 4-5% ก็เท่ากับเราเสียดอกเบี้ยน้อยลงและมีเงินหมุนเวียนให้ใช้มากขึ้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่เอาไปใช้ได้แต่ต้องคำนวณให้ดีก่อนตัดสินใจ

40

ภาพจาก pixabay.com

3.ติดต่อประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน

เมื่อเป็นหนี้ก็ต้องอย่ากลัวที่จะเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ ดังนั้น การเลือกเข้าไปคุยกับธนาคารจึงถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดเพื่อขอประนอมหนี้ และทำการตกลงกับทางธนาคารในการปลดหนี้ที่มีทั้งหมดใหม่ เช่น การขอปรับลดดอกเบี้ยชั่วคราว, การขอจ่ายแค่ดอกเบี้ยชั่วคราว, การขอหยุดชำระหนี้ชั่วคราว ฯลฯ เพื่อเป็นการคืนสภาพคล่องทางการเงินและตั้งหลักได้ง่ายขึ้น

4.ขายสินทรัพย์บางอย่างเพื่อปิดหนี้

ในกรณีที่เราพอจะมีสินทรัพย์เช่นที่ดิน คอนโด ทองคำ รถยนต์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงมาเป็นเงินสดเพื่อใช้หนี้ได้ หลายคนอาจมองว่าการทำแบบนี้สุดท้ายเราก็จะเหลือแต่ตัวเปล่าๆ แต่ถ้าเรารู้จักบริหารจัดการสินทรัพย์ในการขายเพื่อนำเงินมาหมุนเวียนใช้หนี้ เราก็ยังมีโอกาสที่จะกลับไปซื้อสินทรัพย์เหล่านี้ได้ แต่ถ้าเรายังเป็นหนี้ โอกาสที่เราจะขยายสินทรัพย์ให้มากขึ้นก็เป็นไปได้ยาก แม้จะเป็นวิธีที่ดูจะรุนแรงแต่บางครั้งเราต้องชั่งใจและมองผลกระทบให้ดี ถ้าเราบริหารจัดการดีวิธีนี้ก็ใช้ได้ผลในระดับหนึ่งเช่นกัน

39

ภาพจาก pixabay.com

5.จ่ายเงินต่องวดให้มากขึ้นเพื่อ “ลดต้นลดดอก”

ในกรณีของคนที่เป็นหนี้กับสถาบันการเงินเช่นการกู้ซื้อบ้าน บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล วิธี้นี้ใช้ได้ผลมาก เพราะวงเงินเหล่านี้ มีการคำนวณดอกเบี้ยแบบ “ลดต้นลดดอก” โดยดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายอิงจากยอดเงินต้นคงเหลือในงวดก่อนหน้า ซึ่งหากมียอดคงเหลือเยอะ เงินค่างวดที่ผ่อนแต่ละเดือนจะถูกหักไปจ่ายดอกเบี้ยเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือจึงนำไปลดเงินต้น ยกตัวอย่าง สินเชื่อบ้านวงเงิน 1 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี

พบว่าหากเพิ่มยอดการผ่อนอีกเดือนละ 10% จากยอดขั้นต่ำ เช่น กำหนดให้ชำระขั้นต่ำ 5,000 บาท ผู้กู้ผ่อนชำระจริงที่ 5,500 บาท จะทำให้ลดระยะเวลาการผ่อนลงจาก 30 ปี เหลือ 25 ปี และภาระดอกเบี้ยจ่ายโดยรวมที่อาจสูงถึง 9.3 แสนบาทจะลดลงมาที่ 7.5 แสนบาท และหากเพิ่มยอดการผ่อนอีกเดือนละ 20% จากยอดขั้นต่ำ จะทำให้สามารถปลดหนี้ได้ภายใน 20 ปีเศษ และลดภาระดอกเบี้ยจ่ายลงเหลือราว 6.3 แสนบาทเท่านั้น

การเป็นหนี้ไม่ใช่สิ่งที่ดี และคนเป็นหนี้ก็ต้องรู้สึกทุกข์ใจที่ต้องมาใช้หนี้ แต่ก่อนที่จะเป็นหนี้ส่วนหนึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นความคิดของเราเองที่ไป “กู้เงิน” เพื่อนำมาใช้ในลักษณะต่างๆ ซึ่งเราต้องยอมรับในจุดนี้ที่ต้องบริหารการเงินในการใช้คืนให้ดี ต้องคำนวณแล้วว่า เงินที่กู้มาเราจะใช้คืนได้ทัน และไม่เป็นภาระกับเรามากเกิน คำว่ากู้ง่ายคืนยาก คือคำที่เหมาะกับคนที่ทำอะไรแบบไม่คิด คิดแต่จะกู้ กู้ และกู้ โดยไม่ประเมินกำลังในการใช้คืนของตัวเองให้ดี


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3qufPjs , https://bit.ly/2LWSc45 , https://bit.ly/3u8Ak7x , https://bit.ly/3jYT1pQ , https://bit.ly/3qnUaJW , https://bit.ly/2Zkfynj

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3r8lgFd

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด