รวม 5 วิธี สร้างรายได้ให้ธุรกิจหลัง “เปิดประเทศ”

เป็นที่ชัดเจนหลังมีแถลงการณ์ของนายกรัฐมนตรีที่ประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ประเทศไทยจะเริ่มเปิดรับการเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัว “สำหรับผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดส ที่เดินทางเข้าไทยทางอากาศ และมาจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ”

โดยผู้ที่เดินทางเข้าไทยจะต้องมีผลการตรวจโควิด19 ด้วยวิธี RT-PCR มาจากประเทศต้นทาง และตรวจอีกครั้งเมื่อถึงไทย ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่า “ เปิดประเทศ ” ในครั้งนี้ย่อมมีคนที่เห็นด้วยและคนที่ไม่เห็นด้วย

คาดการณ์ตัวเลข “เปิดประเทศ” เศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้แค่ไหน?

รวม 5 วิธี

ในเบื้องต้นคาดการณ์เป้าหมายรายได้รวมของภาคการท่องเที่ยวในปี 2565 อยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย จำนวน 15 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณ 6 แสนล้านบาท ส่วนตลาดไทยเที่ยวไทย คาดว่าจะ สร้างรายได้ประมาณ 8 แสนล้านบาท

ซึ่งหากประเมินในแง่รายได้ของตลาดรวมจะคิดเป็น 50% ของปีปกติก่อนเกิดการระบาดโควิด-19 หรือปี 2562 ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวรวมอยู่ที่ 3.4 ล้านล้านบาท โดยในปี 2564 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ตั้งเป้ารายได้รวมจากการท่องเที่ยวทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศที่ 8.5 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ 3 แสนล้านบาท ส่วนนักท่องเที่ยวในประเทศ อยู่ที่ 5.5 แสนล้านบาท

เมื่อมองในหลักการเบื้องต้นแน่นอนว่าช่วงแรกสิ่งที่ทุกฝ่ายกังวลคือตัวเลขผู้ติดเชื้อที่อาจจะพุ่งสูงขึ้นมาในระยะแรก แต่ก็คำยืนยันว่าทุกฝ่ายจะต้องหาทางรับมือเหตุการณ์เฉพาะหน้านี้ให้เหมาะสม ถ้ามองในด้านดีการเปิดประเทศช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจได้แน่ แต่ในมุมกลับกันถ้าผลที่ได้ไม่เป็นไปตามที่คิดรายได้ในประเทศเพิ่มขึ้นจริง แต่ถ้ามีการแพร่ระบาดขึ้นอีกระลอกก็คงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

วิธีสร้างรายได้ให้ธุรกิจหลัง “เปิดประเทศ”

13

ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดตั้งแต่ต้นปี 2563 เรื่อยมา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยว รายได้ของโรงแรม ขนส่ง บริษัทนำเที่ยว นวดสปา ซึ่งคิดเป็น 17% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมหายไปเนื่องจากการเดินทางท่องเที่ยวหดหาย ทั้งตลาดไทยเที่ยวไทย และตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจากข้อมูลพบว่า การเดินทางของคนไทยหายไป 84.75% ส่วนต่างชาติหายไปกว่า 99.98% การได้กลับมาเปิดประเทศ สิ่งที่คนทำธุรกิจต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ ควรมีแนวทางดังนี้

1.พัฒนาธุรกิจสู่ “สังคมไร้เงินสด”

8

โควิด-19 เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมไร้เงินสดอย่างจริงจัง เพราะความกลัวว่า ไวรัสจะแพร่กระจายผ่านทางธนบัตรและเหรียญ ทำให้ธุรกิจจำนวนมากยอมรับการชำระเงินแบบไม่ต้องสัมผัส นั่นหมายถึงเมื่อมีการเปิดประเทศ เทรนด์สังคมไร้เงินสดก็จะยิ่งเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้องการมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ หากเรามีกลยุทธ์นี้ในการตลาดจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าได้มากขึ้น

2.เน้นความสะอาดเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจมากขึ้น

9

แม้จะมีการเปิดประเทศ และคนจำนวนมากก็ยินดีที่จะเดินทางมาเที่ยว แต่ในใจลึกๆ แล้วหลายคนก็กังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย ความสะอาด ดังนั้นธุรกิจทุกแห่งต้องใส่ใจในเรื่องนี้เป็นพิเศษ ซึ่งผลสำรวจธุรกิจเกี่ยวกับสุขอนามัยจะได้รับผลชัดเจนโดยผู้คนร้อยละ 67 ต้องการสบู่ล้างมือฆ่าเชื้อมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 58 ต้องการน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำและน้ำยาทำความสะอาดพื้น รวมถึงสถานประกอบการทุกแห่งต้องมีแอลกอฮอล์ให้บริการลูกค้า มีพนักงานคอยทำความสะอาดตามจุดต่างๆ อย่างต่อเนื่องด้วย

3.เข้าถึงลูกค้าด้วยแพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น

7

ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่ายุคนี้เทคโนโลยีมีผลกับเรื่องรายได้อย่างมาก การเข้าถึงลูกค้าด้วยแพลตฟอร์มโซเชี่ยลต่างๆมีความจำเป็นมาก ยิ่งก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจว่าจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวที่ไหน หรือไปไหนดี ส่วนใหญ่จะมีการค้นหาสถานที่ในอินเทอร์เนต จุดนี้เองที่เป็นเคล็ดลับสำคัญเพราะหากเรารู้จักทำการตลาดในออนไลน์เราจะมีโอกาสได้ลูกค้าเพิ่มมากขึ้นด้วย

4.กระตุ้นการสร้างรายได้ด้วย “โปรโมชั่น”

11

การกลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้งในช่วงแรกต้องหวังที่จะดึงลูกค้าให้เข้ามาได้มากที่สุด และการจัดโปรโมชั่นก็คือตัวดึงดูดที่ดีที่สุดไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ร้านอาหาร หรือบริการต่างๆ ก็สามารถจัดโปรโมชั่นที่เหมาะสมได้ หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายการออกมาจับจ่ายของคนต่อจากนี้จะเน้นที่ความคุ้มค่าเป็นหลัก ดังนั้นหากมีโปรโมชั่นดีๆ จะช่วยในการตัดสินใจได้มาก

5.มีบริการที่สามารถสร้างความประทับใจให้ลูกค้าได้

10

ก่อนหน้านี้เราอาจเคยได้ยินข่าวเรื่องนักท่องเที่ยวไม่พอใจสถานประกอบการ ถึงเรื่องราคาสินค้าที่แพงเกินจริง บริการที่ไม่ดีเหมือนที่โฆษณา ซึ่งการใช้ชีวิตในยุคโควิดคลี่คลาย ทุกคนต้องการใช้ชีวิตเพื่อผ่อนคลาย ดังนั้นไม่ว่าธุรกิจท่องเที่ยว สินค้าบริการต่างๆ ต้องรู้จักวางแผนการตลาดเอาใจลูกค้า ให้รู้สึกเชื่อมั่น และหากได้รับบริการที่ดี นี่คือยุคโซเชี่ยลที่การแชร์ข้อมูลต่าง ๆมีความรวดเร็วมาก จะเป็นผลดีกับธุรกิจของเราได้ในระยะยาว

เหนือสิ่งอื่นใดการเปิดประเทศไม่ได้หมายความว่าเราจะกลับมาใช้ชีวิตปกติแบบไม่ต้องระแวดระวังอีกต่อไปในทางกลับกันเรายิ่งต้องป้องกันและระวังให้มากเป็นพิเศษ เพราะหากสถานการณ์พลิกผัน มีการแพร่ระบาดขึ้นมาอีกระลอก คราวนี้คงเป็นหายนะที่แท้จริงของคนทั้งประเทศ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/2YLsvtB , https://bit.ly/2YFigau

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BJBMAE

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
  • การปฎิบัติงาน
  • สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  • ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
  • เงื่อนไขอื่นๆ
  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด