รวม 25 ธุรกิจดั้งเดิม คิดใหม่ ทำใหม่ หาโอกาสใหม่!

การก้าวสู่ยุคของ Digital Disruption รวมถึงการระบาดโควิด-19 ส่งผลหลายๆ ธุรกิจต้องปรับกระบวนท่าดำเนินธุรกิจแบบ 360 องศา ชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ จากธุรกิจที่เคยทำแตกไลน์ไปสู่ธุรกิจอื่น ตื่นเช้ามากลายเป็นอีกธุรกิจเสียแล้ว บางรายได้รับผลกระทบไม่มากนัก สายป่านยาว ขณะที่บางรายได้รับผลกระทบรุนแรง ถึงขั้นต้องล้มหายตายจากไป

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption รวมถึงโควิด จึงต้องปรับกลยุทธ์ให้ไว รวมถึงแตกไลน์ธุรกิจไปสู่ธุรกิจอื่น เพื่อกระจายความเสี่ยง และพยุงธุรกิจให้อยู่รอด เติบโต

1.ปตท.ขาย “กาแฟ-อาหาร” (ปั้มน้ำมัน สู่ ธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม)

ธุรกิจดั้งเดิม

ภาพจาก bit.ly/2TUo8do

บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ในเครือ ปตท. นอกจากบริหารสถานีบริการน้ำมัน ยังมีธุรกิจค้าปลีกจิฟฟี่เป็นของตัวเอง และเป็นเจ้าของธุรกิจเครื่องดื่มแฟรนไชส์ร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมในประเทศและต่างประเทศอย่าง “อเมซอน” อีกทั้งยังบริหารแฟรนไชส์ร้านไก่ทอด “เท็กซัส ชิคเก้น” และ “ฮั่วเซ่งฮงติ่มซำ”

2.บางจาก ขาย “กาแฟ” (ปั้มน้ำมัน สู่ ธุรกิจเครื่องดื่ม)

23

ภาพจาก bit.ly/3xtjD7g

“บางจาก รีเทล” นอกจากเป็นผู้บริหารแฟรนไชส์ร้านกาแฟ “อินทนิล” ซึ่งเป็นค่าแข่งของ “อเมซอน” ยังแตกไลน์ธุรกิจเครื่องดื่ม โดยซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ชานมไข่มุก DAKASI เปิดสาขาร้านกาแฟอินทนิล ตั้งเป้าขยายในปั้มน้ำมัน 150 สาขา

3.พีทีจี ขาย “กาแฟ” (ปั้มน้ำมัน สู่ ธุรกิจเครื่องดื่ม)

22

ภาพจาก bit.ly/3lyoPEM

ในปี 2019 บริษัทพีทีจี เอ็นเนอยี (PTG)” หรือปั๊มน้ำมัน PT ประกาศทิศทางรุกธุรกิจ Non-oil มากขึ้น โดยใช้ธุรกิจเครื่องดื่มร้านกาแฟเป็นหัวหอกหลักในการสร้างรายได้ ปัจจุบันมีอยู่ 2 แบรนด์ คือ “กาแฟพันธุ์ไทย” และ “คอฟฟี่เวิลด์”

4.การบินไทย ขาย “ปาท่องโก๋” (การบิน สู่ ธุรกิจอาหาร)

21

ภาพจาก bit.ly/3A9fNly

หลังจากประสบปัญหาวิกฤติโควิด-19 จนขาดทุน การบินไทยรุกธุรกิจอาหารเพื่อพยุงรายได้ ทั้งการส่ง “น้ำพริกลงเรือ-ครัวซองต์-ปาท่องโก๋-ข้าวหมกไก่” ขายใน 7-Eleven โดยเฉพาะ “ปาท่องโก๋” ลือลั่นด้วยยอดขาย 10 ล้านบาทต่อเดือน แถมยังเป็นผู้นำเทรนด์ที่ผลักดันให้ปาท่องโก๋กลายเป็นเมนูยอดฮิต จนถึงขั้นขายแฟรนไชส์อีกด้วย

5.ซีพีแลนด์ ขาย “ปาท่องโก๋” (โรงแรม สู่ ธุรกิจอาหาร)

20

ภาพจาก bit.ly/3lyq1aY

จากพิษวิด-19 ไร้นักท่องเที่ยว ทำให้ “ซีพีแลนด์” ดำเนินธุรกิจโรงแรม ได้จดลิขสิทธิ์ “ฟอร์จูน ปาท่องโก๋” ปรับกลยุทธ์ขายปาท่องโก๋ธัญพืช 6 ชนิด ใน 8 โรงแรมเครือฟอร์จูน มื้อเช้า ยอดขายหลักแสนต่อวัน เตรียมขายแฟรนไชส์เพื่อต่อยอดธุรกิจ

6.แอร์เอเชีย บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (การบิน สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่)

19

ภาพจาก airasia

แอร์เอเชีย เปิดตัวบริการ AirAsia Food บริการฟู้ดเดลิเวอรี่ที่เกิดจากการควบกิจการของ Gojek ประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 และเปลี่ยนชื่อเป็น AirAsia Food ได้เริ่มทดสอบบริการส่งฟรีทุกออเดอร์ระยะทาง 6 กิโลเมตร ในเขตพื้นที่จตุจักร ดินแดง ลาดพร้าว และห้วยขวางไปแล้ว

7.ไทยพาณิชย์ บริการ “ฟู้ดเดเลิเวอรี่” (ธนาคาร สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่)

18

ภาพจาก bit.ly/2VqJAr5

ธนาคารไทยพาณิชย์ทำเซอร์ไพรส์วงการเงินและอาหาร โดดร่วมสนามธุรกิจ Food Delivery เปิดให้บริการแอปพลิเคชั่น Robinhood รับส่งอาหารในรูปแบบที่แตกต่างจากแอปฯ ฟู้ดทั่วๆ ไป ที่เรียกเก็บค่า GP สูง ทำให้ไทยพาณิชย์ต้องฉีกกฎ ฟรีค่า GP เพื่อช่ยเหลือเจ้าของร้านอาหารและผู้บริโภค

8.กสิกรไทย บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (ธนาคาร สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่)

17

ภาพจาก https://eatable.kasikornbank.com/

โควิดส่งผลกระทบโดยตรงกับ “ธุรกิจร้านอาหาร” ธนาคารกสิกรไทยจึงเปิดบริการ Eatable แพลตฟอร์มจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ให้ลูกค้าอีกด้วย

9.ไลน์ บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (โฆษณา สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่)

16

ภาพจาก bit.ly/37AYduJ

บริษัท ไลน์ คอมพานี (ประเทศไทย) จำกัด มีธุรกิจหลักเป็นธุรกิจโฆษณาที่ครอบคลุมทั้งบนแชต ไม่ว่าจะเป็น Smart Channel ในหน้าแชต หน้าหลักบนไทม์ไลน์ รวมถึงในธุรกิจคอนเทนต์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น LINE Today และ LINE TV ซึ่งสร้างรายได้เกินครึ่งของ LINE ประเทศไทย ยังเปิดให้บริการแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ “ไลน์ แมน” เช่นเดียวกัน

10.เครือชิโน-ไทย ขาย “กัญชง” (ก่อสร้าง สู่ ธุรกิจสมุนไพร)

บริษัท STPI เครือ “ชิโน-ไทย” ตระกูล “ชาญวีรกูล” ตั้งบริษัทลูกถือหุ้น 100% แตกไลน์ธุรกิจเหล็ก ลุยธุรกิจกัญชง รับการเติบโตของตลาด และกระจายความเสี่ยงธุรกิจ ในปี 2563 STPI มีรายได้ 1,982.09 ล้านบาท ขาดทุน 836.68 ล้านบาท

11.คาราบาวแดง เปิด “ร้านค้าปลีก” (เครื่องดื่ม สู่ ธุรกิจค้าปลีก)

15

ภาพจาก bit.ly/2WNLyCg

“เสถียร เศรษฐสิทธิ์” เจ้าพ่อเครื่องดื่มคาราบาวแดง แตกธุรกิจ “ร้านถูกดี” ยกระดับมาตรฐานร้านโชห่วยสู้ศึกค้าปลีก ชูระบบพันธมิตรไม่ใช่แฟรนไชส์ เปิดแล้ว 1,000 สาขา คาดสิ้นปี 64 มี 8,000 ร้านค้า ตั้งเป้าปี 65 ทะลุ 30,000 ร้านค้า

12.บีไฮฟ์ ภูเก็ต ขาย “บะหมี่” (โรงแรม สู่ ธุรกิจอาหาร)

14

ภาพจาก bit.ly/3jrL8sW

พิษจากโควิด-19 ทำให้หนุ่มวิศวะเจ้าของ “บีไฮฟ์ ภูเก็ต โอลด์ทาวน์” โฮสเทลเมืองภูเก็ต พลิกวิกฤตโควิด แตกไลน์ธุรกิจคิดสูตรบะหมี่ออแกนิก “จินหู่” ส่งขายทั่วประเทศ แค่ 3 เดือน รายได้โตขึ้นเดือนละ 200% อนาคตเตรียมขายแฟรนไชส์

13.มารุชา ขาย “อาหาร” (ชานมไข่มุก สู่ ธุรกิจอาหาร)

13

ภาพจาก www.facebook.com/marucorndogs88/

ชานมไข่มุก MaruCha เปิดแบรนด์ใหม่ Maru Corndog Cheese เกาหลี พร้อมขายแฟรนไชส์ สร้างโอกาสให้คนมีอาชีพและรายได้ โดย 30 สาขาแรก รับส่วนลด 5% ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปี ไม่หักเปอร์เซ็นต์ยอดขาย โทร.065-2905063

14.TOA ขาย “อาหาร-เครื่องดื่ม” (สี สู่ ธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่ม)

12

ภาพจาก bit.ly/3Cilv6I

บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในเครือ TOA ขยายธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food & Beverage) เต็มรูปแบบ เพื่อสร้างให้เป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่มีความแข็งแรงสร้างรายได้และการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร มี 3 กลุ่มสินค้า ได้แก่ 1. ธุรกิจขนมขบเคี้ยว ถั่วและขนม “มารูโจ้” 2. ธุรกิจเครื่องดื่มสมุนไพร แบรนด์ “SuperFight” ซึ่งเปิดตัวออกทำตลาดเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา 3. ธุรกิจนมพร้อมดื่ม อาหารและเครื่องดื่ม แบรนด์ “ฮอกไกโด”

15.ทรีเซนไทย ขาย “ทาโก้เบล” (ขนส่ง สู่ ธุรกิจอาหาร)

11

ภาพจาก bit.ly/3yxhYPG

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ตระกูลมหากิจศิริ มีธุรกิจหลัก 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนส่ง กลุ่มธุรกิจพลังงาน และกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน ตั้งบริษัท สยาม ทาโก้ จำกัด บริหารแฟรนไชส์ “ทาโก้ เบลล์” ในไทย ล่าสุดปรับขยายสาขาในปั้มน้ำมันรูปแบบ “Delco” แทนเปิดในห้าง รับวิถีชีวิตผู้บริโภคเปลี่ยน กันยอดเดลิเวอรี่เพิ่ม 25%

16.TWZ ขาย “กัญชา-กัญชง” (สื่อสาร สู่ ธุรกิจสมุนไพร)

10

ภาพจาก bit.ly/37jz0EX

บริษัท ทีดับบลิวแซด คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TWZ ทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร รวมถึงขายโทรศัพท์มือถือ ได้จับมือกับพันธมิตรรุกธุรกิจ “กัญชา-กัญชง” พร้อมจัดตั้งบริษัท “กัญช์ยารักษ์” ขึ้นมาดำเนินธุรกิจ

17.แม็กกี้ บริการ “ฟู้ดเดลิเวอรี่” (เครื่องปรุง สู่ ธุรกิจเดลิเวอรี่)

9

ภาพจาก bit.ly/3jsJ2ca

‘แม็กกี้’ (Maggi) ซอสปรุงรสยอดนิยม แบรนด์ในเครือเนสท์เล่ เปิดให้บริการ Maggi Kitchen ต่อยอดธุรกิจและรองรับการเติบโตของ Food Delivery ที่ขยายตัวอย่างมากในไทย นับเป็น New Business เกิดขึ้นที่ประเทศไทยแห่งแรกในโลก

18.GMM Grammy รุก “ขายตรง” (บันเทิง สู่ ธุรกิจขายตรง)

8

ภาพจาก bit.ly/3jvtHbc

GMM Grammy บริษัทด้านเอ็นเตอร์เทนต์ ได้ประกาศรุกธุรกิจขายตรง ถึงแม้อดีตคู่แข่งทางธุรกิจบันเทิงอย่าง RS หนีไปทำด้านนี้มานานแล้ว แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ขอฉีกตัวเองออกมาทำในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ core ธุรกิจหลักเดิม

19.ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี ขาย “อาหาร” (พลังงาน สู่ ธุรกิจอาหาร)

7

ภาพจาก bit.ly/3xpEjx7

บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทพลังงานครบวงจร และผู้จัดจำหน่ายก๊าซแอลพีจีภายใต้แบรนด์เวิลด์แก๊ส รุกธุรกิจอาหารแบบครบวงจร จับมือ “วันเดอร์ฟู้ด อินเตอร์เนชันแนล” ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารแนวสตรีตฟู้ดระดับพรีเมียม ได้แก่ ผัดไทยไฟทะลุ, ข้าวซอย Hungry Rabbit, ร้านอาหาร Hyper Fine Dining ระดับมิชลินสตาร์ 1 ดาวในชื่อ Table 38 และ Pi Kun (ปีกุน) ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างเกินคาดในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา

20.ดีแทค ขาย “จักรยานยนต์ไฟฟ้า” (สื่อสาร สู่ ธุรกิจยานยนต์)

6

ภาพจาก bit.ly/3AfK4iu

ที่ผ่านมา ดีแทค โอเปอเรเตอร์ด้านการสื่อสาร รุกธุรกิจรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า จับมือกับ บริษัท เอ็มวิชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงาน EV Expo เป็นตัวกลางในการประสานกับผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และ บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) เจ้าของตู้บุญเติม ทำหน้าที่จุดให้บริการชาร์จมอเตอร์ไซด์อีวี

21.MK บริการ “โลจิสติกส์” (อาหาร สู่ ธุรกิจขนส่ง)

5

ภาพจาก bit.ly/2Vx79ye

“เอ็มเค สุกี้” ผู้นำด้านสุกี้ จับมือ บริษัท เซนโค กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทด้านโลจิสติกส์รายใหญ่อันดับ 2 จัดตั้งบริษัท เอ็ม-เซนโค โลจิสติกส์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท ถือหุ้นฝ่ายละ 50% ดำเนินธุรกิจด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจรในประเทศไทย

22.ไทย-เดนมาร์ค ขาย “เครื่องสำอาง” (นม สู่ ธุรกิจความงาม)

4

ภาพจาก bit.ly/3iplUML

องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) จับมือกับ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึง บริษัท อาร์แอนด์ ดี รีเสิร์ช แอนด์ ดีวีลอปเม้นท์ จำกัด และศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แตกไลน์ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแบรนด์ “ไทย-เดนมาร์ค” จำหน่ายในประเทศ และมีแผนบุกอาเซียน

23.ปัญจวัฒนาฯ ขาย “เครื่องมือแพทย์” (พลาสติก สู่ ธุรกิจการแพทย์)

3

ภาพจาก bit.ly/3lvtpn1

บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน) หรือ (PJW) ผู้นำด้านพลาสติก แตกไลน์ธุรกิจขยายการลงทุนทางด้านนวัตกรรมผลิตภัณฑ์กลุ่ม Medical เครื่องมือทางการแพทย์จากพลาสติกใช้แล้วทิ้ง อาทิ ไซริงค์พลาสติก, วาล์ว สายน้ำเกลือ, เข็มฉีดยา รวมถึงเครื่องมือแพทย์อื่นๆ เพื่อสร้างการเติบโตรอบใหม่ (New S-curve) ให้กับบริษัทในอนาคต

24.มั่นคงเคหะ รุก “ธุรกิจการแพทย์” (อสังหาฯ สู่ ธุรกิจการแพทย์)

2

ภาพจาก bit.ly/3xlyUHb

บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) หรือ MK แตกไลน์จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สู่ธุรกิจบริการและการแพทย์ ด้วยการตั้งบริษัท มั่นคงไลฟ์ จำกัด ช่วงต้นเดือน มี.ค. 2561 พัฒนาโครงการสถานพยาบาลเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพแบบครบวงจร ร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท ไวทัทัลไลฟ์ จำกัด ในเครือบริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BH มีเป้าหมายเจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมียมทั้งไทยและต่างประเทศ

25.Coca-Cola ขาย “กาแฟ-อาหาร” (น้ำอัดลม สู่ ธุรกิจกาแฟ)

1

ภาพจาก bit.ly/3lDL5ND

สำหรับในต่างประเทศ Coca-Cola คู่แข่งสำคัญของ “แป๊บซี่” ขยายธุรกิจสู่ธุรกิจร้านอาหาร ที่ผ่านมาเริ่มต้นด้วยการประกาศซื้อเชนร้านกาแฟยักษ์ใหญ่ของอังกฤษ Costa Coffee ด้วยเงินมากถึง 5.1 พันล้านดอลลาร์ ทำให้ Coca-Cola เข้าใกล้เป้าหมายของความเป็นผู้นำครองตลาดเครื่องดื่มโดยรวมมากขึ้นในโลกนั่นเอง

นั่นคือ 25 ธุรกิจเปลี่ยนไว ไร้ขอบเขต จากการก้าวเข้ามาของ Digital Disruption รวมถึงการระบาดโควิด-19 ธุรกิจไหนปรับตัวได้เร็วจะอยู่รอด หากปรับตัวไม่ทันก็จะล่มสลายไปในที่สุด


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2U0nXgM

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช