รวมเทคนิค! รวมผู้ประกอบการ! สู้วิกฤติ “โควิด-19”

ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในช่วงเข้าสู่เดือนสุดท้ายของไตรมาสแรกบอกเลยว่า “หนักสุดๆ” ไม่นับรวมปัญหาปัจจัยด้านลบเดิมที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ยังมีปัญหาของ โควิด-19 แพร่ระบาดสิ่งที่ต้องติดตามในเวลานี้ คือ การรับมือของแต่ละประเทศจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลัก หากกระทบจนเศรษฐกิจของประเทศกลุ่มนี้ชะลอตัวลงแรง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยก็คงหนักหนาสาหัสตามไปด้วย

ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ม.ค.2563 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศมายังไร้สัญญาณการฟื้นตัว ทั้งที่การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” เพิ่งจะมารุนแรงในช่วงปลายเดือนเท่านั้น สะท้อนจากตัวเลขการท่องเที่ยวในเดือนดังกล่าวขยายตัวได้ 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ตัวเลขอื่นๆ ยังคง “หดตัว” ต่อเนื่อง

เหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าผู้ประกอบการเองจะรอสถานการณ์คลี่คลายก็คงไม่รู้เมื่อไหร่ หลายธุรกิจจึงต้องมีมาตรการพิเศษออกมาเพื่อพยุงธุรกิจตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยในช่วงเวลาแบบนี้

1. ลดเงินเดือนผู้บริหาร ลดรายจ่ายบริษัท

qwfgbvgfkldjkljkl
ภาพจาก bit.ly/2vqTcW6

การลดต้นทุนรูปแบบหนึ่งคือ “ลดเงินเดือนผู้บริหาร” เห็นตัวอย่างได้จาก “สายการบินไทย” ที่มีการลดผลตอบแทน เงินเดือน สวัสดิการต่างๆ 15-25% ในส่วนของผู้บริหาร เป็นระยะเวลา 6 เดือน หรือ บางกอกแอร์แวร์ ก็ได้ประกาศลดเงินเดือนผู้บริหารลงกว่า 50% และยกเลิกการปรับขึ้นเงินเดือนของผู้บริหาร แถมยังขอความร่วมมือจากผู้บริหารในการลางานโดยไม่รับค่าจ้างจำนวน 10-30 วันอีกด้วย

2. สิทธิ์ “ลางาน” โดยไม่รับเงินเดือน

cvbvfcjdkjkljlk
ภาพจาก bit.ly/39jIK15

ผลกระทบของ โควิด-19 นั้นเป็นวงกว้างโดยเฉพาะธุรกิจท่องเที่ยวที่พักที่ได้รับผบกระทบเป็นอย่างมาก จนต้องมีมาตรการออกมาใช้อย่างเร่งด่วนในช่วงเวลาแบบนี้ ตัวอย่างคือ โรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทาราได้เปิดโครงการภายในเพื่อให้สิทธิ์พนักงานประจำสามารถใช้วันลาเพิ่มเติมแบบไม่รับค่าจ้างได้ตลอดเดือนมีนาคม 2563 โดยนโยบายดังกล่าวเปิดโอกาสให้พนักงานลางานได้โดยความสมัครใจ มิได้มีการบังคับ โดยระยะเวลาที่อนุญาตให้ลาได้คือ เดือนมีนาคม โดยไม่ได้กำหนดจำนวนวันลาแต่อย่างใด

3. ลดค่าเช่าผู้ค้า

sdfvbvfcdjkljkl ภาพจาก bit.ly/2IdmXfH

บรรดาห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ไปเต็มๆ ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลง คนที่มาเดินจับจ่ายน้อยลงมาก ทำให้พ่อค้าแม่ค้าถึงกับร้องโอดโอยว่าขายของไม่ได้ในขณะที่ค่าเช่าก็ยังต้องจ่ายเหมือนเดิม และเพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ค้า ทางแพลทินัมซึ่งเป็นห้างขนาดใหญ่ได้ประกาศลดค่าเช่า 10-35% นาน 3 เดือน โดยให้สิทธิ์แก่ผู้เช่าที่จ่ายค่าเช่าเป็นรายเดือน ในระยะเวลา 1 ปี ได้ลดค่าเช่าค่าบริการ 10–35% ตามสัดส่วนพื้นที่และประเภทการเช่า เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ 1 มี.ค. – 31 พ.ค. 2563

4. อัดแคมเปญ “กระตุ้นยอดซื้อ”

dfvgbgfgbg
ภาพจาก สรัญญา จันทร์สว่าง

แคมเปญหรือโปรโมชั่นก็ถือเป็นกลยุทธ์หลักของการ “กระตุ้นยอดซื้อ” ในภาวะต่างๆ ในช่วงที่ โควิด-19 ยังเป็นปัญหาใหญ่นี้ ทางแพลทินัมจึงจัดแคมเปญเร่งด่วน “ช้อปฉุกเฉิน เกินห้ามใจ”ตั้งแต่ 4 – 18 มี.ค.นี้ ให้ส่วนลดสูงสุด 80% จากร้านค้า, สินค้าราคาพิเศษเริ่มต้นที่ 100 บาท, ซื้อ 1 แถม 1,สะสมยอดช้อปครบ 1,000 บาทขึ้นไปจอดรถฟรี 2 ชั่วโมง, ไฮไลท์ช้อปสะสมครบ 3,000 บาทขึ้นไปรับบัตรกำนัล 300 บาท

5. เปลี่ยนรูปแบบงานอีเว้นท์

cfvbvfdjkljkl

บรรดางานอีเว้นท์ต่างๆ ก็ได้ผลกระทบในเรื่องนี้ไปเต็มๆ เหมือนกัน จากข่าวที่เราได้เห็น พวกดารา นักแสดงเองก็ออกมาบ่นกันอุบว่า อีเว้นท์มีการเลื่อน ยกเลิกจัด กันเป็นจำนวนมาก บางงานไม่ถึงกับยกเลิกแต่ก็มีเปลี่ยนรูปแบบไม่ใช่อีเว้นท์แต่เน้นเป็น “ออนไลน์” แทน

อย่างงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ซึ่งปีนี้คือครั้งที่ 48 ก็ได้ถูกเปลี่ยนรูปปแบบมาเป็นการพัฒนาการขายบน Digital Platform ทำให้เกิดการซื้อขายได้ทุกวัน 24 ชั่วโมง เช่น บน Lazada, Shopee ,รวมลิงค์สำนักพิมพ์ทั้งเว็บไซต์ แฟนเพจ และ IG กิจกรรม BOOK TALK และอื่นๆ บน Youtube Channel โดยจัด Live Studio ให้สำนักพิมพ์ต่างๆ ใช้ Live กิจกรรมฟรี และรับ Live จากสำนักพิมพ์ทำเองลงช่อง และลง Podcast ให้ผู้สนใจฟังย้อนหลังได้ ส่วนนิทรรศการต่างๆ ที่ยกไปออนไลน์ได้จะนำไปทำต่อ ส่วนที่ยกไปไม่ได้ จะไปจัดในงานถัดไป

6. จัดแพคเกจ “ประกันชีวิต” สู้วิกฤต โควิด-19

sdfvbfvgbvgfjhjhjj
ภาพจาก bit.ly/39kKXJH

ความหวาดกลัวต่อ โควิด-19 ได้ก่อให้เกิดแนวคิดของบริษัทประกันภัยหลายแห่งที่จัดแพคเกจคุ้มครองเพิ่มเติมสำหรับเหตุการณ์นี้ ตั้งแต่ให้ค่ารักษาพยาบาล ไปจนถึง การจ่ายค่าชดเชยอาการเจ็บป่วย เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด–19 ยกตัวอย่างของทิพยประกันภัยประกันเริ่มต้นเพียง 150 บาท/คน/ปี ไปจนถึงค่าเบี้ยประกันสูงสุด 850 บาท/คน/ปี ให้ค่ารักษาพยาบาลสูงสุดที่ 100,000 บาท/ปี และจ่ายค่าชดเชยการเจ็บป่วยระยะสุดท้ายถึง 1,000,000 บาท/ปี และสามารถทำประกันภัยได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี – 99 ปี

หรือกรุงเทพประกันชีวิตที่ประกาศมอบความคุ้มครองสำหรับ ‘ค่ารักษาพยาบาลชดเชยรายวัน’ หากมีอาการป่วยจากเชื้อไวรัสโคโรนา เพิ่มเติมจากประกันสุขภาพปกติที่คุ้มครองไวรัสตัวนี้อยู่ก่อนแล้ว โดยกำหนดให้วันละ 2,000 บาท นานสูงสุด 15 วัน ในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยว่ามีการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว

แต่มีเงื่อนไขว่า ประกันดังกล่าวจะเริ่มมีผลคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 – 31 พฤษภาคม 2563 เท่านั้น และไม่คิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติม หรือแม้แต่ AIS ยังผุดไอเดียมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต COVID-19 ให้กับพนักงานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยมอบความคุ้มครองชีวิต 50,000 บาท นาน 30 วัน ตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก ครอบคลุมการเสียชีวิตทุกกรณี หรือหากเป็นผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากติดเชื้อ COVID-19 ก็ยังได้รับความคุ้มครองชดเชยรายได้ถึง 1,000 บาทต่อวัน ด้วย

7. เปิดโอกาสให้พนักงานทำงานที่บ้าน

sdcfvcfdnljkljlkj
ภาพจาก Athit Perawongmetha, Reuters

บริษัทญี่ปุ่นจำนวนหนึ่ง ใช้มาตรการให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน ขณะที่บริษัทหลายแห่งเน้นสร้างความสะอาดแก่สำนักงานในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึง บริษัท นิปปอน เทเลกราฟ แอนด์ เทเลโฟน (เอ็นทีที) ซึ่งเป็นบริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่น ที่แจ้งพนักงานให้หลีกเลี่ยงเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วน หรือให้ทำงานจากที่บ้าน

ในขณะที่โควิด-19 ยังเป็นปัญหาใหญ่ก็ยังมีธุรกิจหลายประเภททีเดียวที่ได้รับประโยชน์จากความหวาดกลัวของผู้คน New York Times ชี้ว่า เหล่าธุรกิจสตรีมมิ่งทั้งหลายน่าจะเป็นธุรกิจแรกๆ ที่ได้รับประโยชน์แน่ โดยเฉพาะ Netflix ซึ่งมีฐานลูกค้าอยู่ทั่วโลก โดยช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา ในช่วงที่เกิดวิกฤต Covid-19

dfvgbgfdjkljklj
ภาพจาก freepik

Netflix ได้เปิดเผยว่า เกิดปรากฏการณ์ Uptick หรือ การเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอยู่ตลอดเวลา เทียบกับที่ผ่านมาจะมีช่วงเวลา Peak Time ของลูกค้า ซึ่งหมายความว่า ผู้คนเลือกที่จะอยู่บ้านกันมากขึ้น ที่น่าสนใจคือ สถานการณ์เลวร้ายของ Covid-19 กลับทำให้ราคาหุ้นในตลาดของ Netflix เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน บริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ที่ให้บริการที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอาจจะได้รับอานิสงส์ร่วมด้วย เพราะผู้คนจะหันมาท่องโลกอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้นในระหว่างที่อยู่ในบ้าน เช่น Facebook, Amazon, Peloton และ Slack เป็นต้น

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน

ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

dfvjkdklkhjk

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ www.thaifranchisecenter.com/document

รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล
https://bit.ly/2PHPRsv , https://bit.ly/2TeKBi6 , https://bit.ly/2PF89KS , https://bit.ly/2voMMH1 , https://cnb.cx/3ciUqDrhttps://nyti.ms/2ImC32J , https://bit.ly/2ImC4DP , https://bit.ly/3akN14p , https://bit.ly/2IaiSch

 

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2xx6BfU

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด