รวมเช็คลิสต์ ปัญหาของคนซื้อแฟรนไชส์

แม้ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการสร้างธุรกิจเอง แต่รู้หรือไม่ว่าหลายๆ คนที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ บางรายต้องสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ถ้าถามว่าอะไรที่เป็น ปัญหาของคนซื้อแฟรนไชส์เหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

1.ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง

รวมเช็คลิสต์ปัญหา

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ คนถูกหลอกให้ลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ จนสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก เพราะไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่จริง เหมือนกรณีร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น “ดารุมะ ซูชิ” ที่ผู้เสียหายอยากมีรายได้ อยากรวยง่ายๆ แบบไม่ต้องทำอะไร ตามคำเชิญชวนเจ้าของแบรนด์ ลงทุนเงินอย่างเดียวแล้วรอรับเงินปันผลสิ้นเดือน ซึ่งระบบแฟรนไชส์จริงๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องบริหารจัดการร้านเอง และจ่ายเงินค่าสิทธิ หรือค่าตอบแทนเป็นรายเดือนหรือรายปีให้กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์

2.อยากมีรายได้โดยไม่ต้องลงมือทำ

2

ถือเป็นปัญหาที่คนซื้อแฟรนไชส์เจอและเกิดขึ้นบ่อยที่สุด เมื่อมีเจ้าของแบรนด์แอบอ้างให้ร่วมลงทุนแล้วรอรับเงินปันผลในสิ้นเดือน ผู้ลงทุนไม่ต้องบริหารจัดการหรือทำอะไร ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องมีทีมงาน สุดท้ายเจ้าของแบรนด์ดังกล่าวปิดร้านหนี สร้างความเสียให้คนลงทุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งจริงๆ การลงทุนลักษณะนี้เป็นแชร์ลูกโซ่ ไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์

3.ไม่ศึกษาบริษัทและเจ้าของแฟรนไชส์

1

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ เลือกลงทุนแฟรนไชส์ในแบรนด์ดังๆ หรือเจ้าของเป็นคนดัง คนรู้จักทั่วประเทศ แต่พอลงทุนไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แถมโดนหลอกให้ลงทุนเสียเงินไปฟรีๆ เพราะไม่ศึกษาบริษัทแฟรนไชส์ให้ละเอียด ไม่ตรวจสอบว่าระบบการเงินของบริษัทขาดทุนหรือมีกำไร เจ้าของแบรนด์มีประวัติโกง หรือค้างชำระเงินแก่ซัพพลายเออร์ต่างๆ หรือไม่

4.อ่านสัญญาแฟรนไชส์ไม่ละเอียด

4

ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายรายถูกเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์เอาเปรียบ เพราะไม่อ่านรายละเอียดเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์ให้ละเอียด บางรายถึงกับโดนเจ้าของแฟรนไชส์ฟ้องร้อง หรือถูกยกเลิกสัญญา เพราะนำสินค้ายี่ห้ออื่นเข้ามาขายในร้าน หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งในสัญญาแฟรนไชส์จะระบุข้อปฏิบัติของผู้ซื้อแฟรนไชส์และเจ้าของแบรนด์อย่างละเอียด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาสามารถถูกฟ้องร้องได้

5.ไม่ปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์

3

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือทำยอดขายได้ไม่มากเหมือนกับสาขาอื่นๆ อาจมาจากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง ความหนาแน่นของประชากร แต่อีกองค์ประกอบอาจมาจากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าของแบรนด์ และไม่ปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการบริการลูกค้า การเปิด-ปิดร้าน การสั่งของ การจัดวางสินค้า ฯลฯ

6.เน้นลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่ลงมือทำ

6

เหมือนกรณีผู้เสียหายจากการซื้อแฟรนไชส์ร้านบุฟเฟ่ต์ “ดารุมะ ซูชิ” เน้นลงทุนด้วยเงินอย่างเดียว โดยไม่ได้บริหารจัดการร้านเอง หรือลงมือทำเอง พอสิ้นเดือนรอรับเงินปันผลอย่างเดียว ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ใช่หลักการของระบบแฟรนไชส์ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีจะต้องบริหารจัดการร้านเอง เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของกิจการที่ตัวเองสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง

7.ซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ต้องประสบความสำเร็จ

5

ปัญหาสุดท้ายที่มักเกิดขึ้นกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ก็คือ คิดว่าซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ไม่ต้องบริหารจัดการ หรือลงมือทำเอง ก็ประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่จะไปไม่รอด บางรายถูกยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ก่อนเวลา โดยหลักการของแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องลงมือบริหารจัดการและควบคุมดูแลธุรกิจเองทุกอย่าง ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจอย่างเต็มที่ จึงจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ไม่ใช่อยากทำก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ หรือเปิดร้านบ้างไม่เปิดร้านบ้าง ต้องมีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการแม้จะเป็นการซื้อแฟรนไชส์ก็ตาม

นั่นคือ รวมเช็คลิสต์ปัญหา ของคนซื้อแฟรนไชส์ ที่ทำให้ผุ้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ รายไม่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ บางรายต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล เพราะถูกหลอกให้ลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์เก๊ รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ ที่จะต้องบริหารจัดการร้านด้วยตัวเอง และจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง
  2. อยากมีรายได้โดยไม่ต้องลงมือทำ
  3. ไม่ศึกษาบริษัทและเจ้าของแฟรนไชส์
  4. อ่านสัญญาแฟรนไชส์ไม่ละเอียด
  5. ไม่ปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์
  6. เน้นลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่ลงมือทำ
  7. ซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ต้องประสบความสำเร็จ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3n9ZNvj

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช