รถพ่วงข้าง SideCar ออกแบบสวย รวยไม่ใช่เล่น!

รถพ่วงข้าง รูปแบบของการประกอบอาชีพปัจจุบันนี้มีหลากหลายมาก หลายอย่างเป็นเทรนด์ที่กำลังก่อร่างสร้างตัวมาใหม่ แม้ปัจจุบันจะยังไม่เติบโตแบบที่พูดถึงใครๆก็รู้จักแต่ในแวดวงคนที่สนใจแล้วบางธุรกิจมีอนาคตที่สดใสเพียงแต่อาจจะต้องใช้เวลาที่จะสร้างกระแสให้ติดลมบนสักหน่อย

รถพ่วงข้าง

หนึ่งธุรกิจที่น่าสนใจที่ทางทีมงาน www.ThaiSMEsCenter.com มองเห็นและคิดว่านี่คือสิ่งที่น่าสนใจบางทีก็เป็นเรื่องใกล้ๆที่เราอาจไม่คิดว่าจะพัฒนาไปได้ถึงเพียงนี้ ที่เรากำลังพูดถึงคือ “Sidecar” พูดคำนี้หลายคนอาจจะงงแต่ถ้าบอกว่านี่คือ “รถพ่วงข้าง” ทุกคนก็จะนึกภาพออกทันที

เพราะนี่คือรถเอนกประสงค์ที่หลายคนอาจจะมีไม่ว่าจะวิ่งขายของ ส่งของ แต่ถ้าเราเปลี่ยนแปลง ““Sidecar” ให้ดูล้ำสมัยขึ้นมาน่าจะกลายเป็นจุดขายแบบใหม่ที่ตอนนี้ก็มีผู้ประกอบการหลายคนเปิดตัวนำร่องกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

มารู้จักจุดกำเนิดของ “Sidecar” กันสักหน่อย

hh73

Sidecar นี้เกิดขึ้นมาพร้อมกับความนิยมในการเดินทางด้วยมอเตอร์ไซค์ในยุคต้นๆ ซึ่งหากดูจากบันทึกในเว็บไซต์ Wikipedia นั้น มีข้อมูลว่ามันถูกคิดค้นขึ้นเพื่อติดตั้งกับจักรยานเป็นครั้งแรกโดยนาย M Bertoux เจ้าหน้าที่ของกองทัพฝรั่งเศส ซึ่งได้รับรางวัลจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในปี 1893

และเมื่อแนวคิดในการใช้สอยจักรยานแบบมีการพ่วงข้างแพร่หลายออกไป ก็มีนักประดิษฐ์หลายคนเริ่มทดลองนำมันไปปรับปรุงใช้งานกับมอเตอร์ไซค์ จนในปี 1903 พี่น้องตระกูล Graham และหุ้นส่วน Jonathan A. Kahn ได้จดสิทธิบัตรและเริ่มต้นการผลิต Sidecar ในระดับโรงงานเป็นครั้งแรก

ลักษณะของ Sidecar ที่ควรจะมี

  1. โครง ซึ่งจะใช้เหล็กท่อขนาดต่างๆ มาเชื่อมต่อกันเพื่อขึ้นรูป ส่วนขนาด Sidecar จะเล็กหรือใหญ่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปติดกับรถรุ่นไหนทั่วไปจะมีขนาดประมาณ150x100x80 cm (จากพื้นถนนถึงพื้นโต๊ะ ไม่รวมหลังคา)
  2. Fairing หรือเปลือกหุ้ม มีทั้งแบบที่เป็นแผ่นเหล็กและไฟเบอร์ขึ้นรูปและจะพ่นสีกันสนิม เพื่อความทนทานใช้งานได้นานหลายปี
  3. ล้อ ของ Sidecar นั้นจะมีขนาดเท่ากับล้อหลังของมอเตอร์ไซค์รุ่นนั้นๆ ที่นำไปติดตั้งมีขนาดมาตรฐานประมาณ 17 นิ้ว
  4. จุดเชื่อมต่อ กับตัวถังรถนั้นจะอยู่ในแนวเดียวกับพักเท้าหน้าและหลัง
  5. เพลาขับต่อเชื่อม (Driveshaft) จะมีอยู่บางรุ่น ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการลุยในทางทุรกันดาร
  6. หลังคา จะมีหรือไม่มีก็ได้ แล้วแต่ค่ายผู้ออกแบบและวัตถุประสงค์การใช้งาน

hh74

ที่สำคัญ ธรรมเนียมที่ว่าจะติด Sidecar “ด้านซ้ายหรือขวา” เพื่อใช้งานบนท้องถนนนั้น เขาให้ยึดหลักสากลคือ หากถนนประเทศใดขับรถชิดเลนไหนให้ติดด้านนั้น เช่น ประเทศไทย ญี่ปุ่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ฯลฯ จะขับชิดเลนซ้าย (คนขับจะอยู่ด้านขวา) ก็จะติด Sidecar ที่ด้านซ้ายเป็นต้น

ราคาของ Sidecar ที่เป็นแบบพื้นฐานคือไม่มีการดีไซน์อะไรมากนักหรือจะเรียกว่าเป็นรถพ่วงข้างแบบที่เราเห็นกันจนคุ้นเคยจะเริ่มต้นที่ประมาณ 8,000 บาทเท่านั้น

พัฒนา “Sidecar” ยุคเก่าสู่ธุรกิจการสร้างสรรค์ที่กำลังโตวันโตคืน

hh77

นี่คือการต่อยอดที่เรียกว่าเป็นการอัพราคาได้อย่างน่าสนใจจะว่าไปแล้วธุรกิจนี้ก็ไม่ใช่จะเพิ่งเริ่มมีแต่คนที่เอาจริงเอาจังจัดตั้งเป็นบริษัทมีทั้งการนำเข้า และรูปแบบกระบวนการผลิตที่ชัดเจน เพียงแต่ในประเทศไทยยังมีผู้ประกอบการที่ว่านี้ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะของร้านที่รับดัดแปลงทั่วไป แต่เมื่อมองดูเรื่องราคาแล้วคิดว่าธุรกิจนี้ถ้าต่อยอดกันจริงจังสร้างรายได้มหาศาลทีเดียว

รูปแบบในการดีไซน์ “Sidecar” ส่วนใหญ่ลูกค้าจะขอมีส่วนร่วมในการออกแบบด้วยทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสีและรูปทรงเหมาะสมกับจักรยานยนต์ที่ตนเองมีอยู่ โดยส่วนมากจะมีลักษณะเด่น 2 แบบคือ แบบล้อหุบเข้าไปข้างใน และแบบที่ล้อกางออกมาข้างนอกตัวถังรถซึ่งการออกแบบหรือผลิตนั้นก็จะต้องเน้นที่เรื่องความปลอดภัยและแข็งแรงเป็นหลัก โดยเฉพาะเรื่องระบบศูนย์ถ่วง เบรก ระบบไฟ ที่สำคัญคือเรื่องการรับน้ำหนัก

hh72

ราคาสำหรับการอัพเกรด “Sidecar” ให้ดูโมเดิร์นขึ้นมาก็ไม่ใช่จะถูกๆกันเลยทีเดียวเริ่มต้นกันตั้งแต่ 25,000 บาทเป็นต้นไป

ส่วนว่าจะแพงสุดเท่าไหร่อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบในการดีไซน์แต่ขอบอกว่ายิ่งโมเดิร์นมาก ทำยากมาก ราคาก็แพงสุดขั้วทีเดียว

อย่างไรก็ตามใช่ว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับการดีไซน์เท่านั้นที่จะเติบโตกลุ่มลูกค้าอีกประเภทที่ไม่ต้องการเอา Sidecar เพื่อไปขับเล่นก็สามารถพลิกแพลงเอาไปใช้ในการประกอบฉาก การจัดงานอีเวนต์ ถ่ายรูปเวดดิ้ง ซึ่งราคาค่าเช่าที่ว่านี้ก็ดูใช่ย่อยประมาณครั้งละ 6,000 บาท/วัน/คัน

hh70

ภาพจาก http://goo.gl/gCedqC

หรือบางบริษัทก็ผุดไอเดียโดนๆด้วยการนำเข้า “Sidecar”เพื่อการพาณิชย์โดยเฉพาะคนที่สนใจต้องการเอาไปเป็นส่วนหนึ่งในการค้าขายก็จะได้ยานพาหนะรูปทรงสวยงามตามแต่ดีไซน์ที่ตัวเองต้องการ เป็นการสร้างจุดขายที่น่าสนใจซึ่งธุรกิจนี้กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเช่นกัน ณ ปัจจุบันรถ “Sidecar” ที่เป็นเชิงพาณิชย์แบบนี้มีด้วยกัน 4 แบบคือ

  1. รถขายน้ำผลไม้ปั่นหรือนมสด
  2. รถขายของแบบของฝากต่างๆ ตามสะดวก
  3. รถขายโชว์ห่วย สินค้าเบ็ดเตล็ดของขบเคี้ยว
  4. รถขายผลไม้ดอง

hh71

ภาพจาก http://goo.gl/gCedqC

รถทุกรุ่นจะเน้นให้ความสำคัญคือ สะดวกต่อการขาย และความปลอดภัยของผู้ขับขี่ รวมไปถึงการรักษาความสะอาดของตัวรถ และยังออกแบบมาเพื่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบสำหรับการขายของตามที่ลูกค้าต้องการด้วย

เหตุนี้ภาพรวมวงการ Sidecar ในเมืองไทยจึงยังเดินหน้ากันได้อีกมาก มีไอเดียอีกนับไม่ถ้วนที่น่าจะเอามาผสมผสานกับความเป็น Sidecar ได้ และถ้าใครมีพื้นฐานเรื่องนี้บ้างแล้วช่องทางจะยิ่งเปิดกว้างหนทางแห่งกำไรมองเห็นชัดเจนครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล : http://goo.gl/ShnCBm , http://goo.gl/SDm9VO
รูปภาพ : https://goo.gl/MYOEW9 , http://goo.gl/PJ1woB

 

อ้างอิงจาก  https://bit.ly/2sTvgsD

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด