ยุคหาเงินยาก! เราจะทำอะไรให้อยู่รอด!

เป็นเรื่องน่าแปลกที่เราทุกคนอาศัยอยู่บนโลกใบเดียวกันแต่ทำไมบางคนพูดว่าชีวิตเต็มไปด้วยโอกาส ยุคนี้หาเงินง่ายและทำได้ตลอดเวลา ในขณะที่บางคนพูดว่ายุคนี้หาเงินยาก

โอกาสน้อยลงเรื่อยๆ คิดอะไรก็มีคนทำหมดแล้ว จะเริ่มอะไรก็ไม่มีเงิน สิ่งสำคัญคือเราต้อง “เปลี่ยนความคิด” คนที่หาเงินง่ายในทุกยุคสมัย เพราะเขามองว่า “ทุกอย่างเป็นโอกาส” ในขณะที่คนบอกว่า “หาเงินยาก” เพราะเขาเลือกมองแต่ปัญหา ปิดกั้นตัวเองไม่เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ไม่ว่าจะเศรษฐกิจแบบนี้หรือแบบไหน คนแบบนี้ก็หาเงินยากเหมือนเดิม

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าตอนนี้ทุกคนก็คงรู้สึกเหมือนกันคือ “อยากหาวิธีมีรายได้เพิ่ม” คำถามคือจะทำอะไรดี ตรงไหนที่เรียกว่า “โอกาส” ตรงไหนที่ทำแล้วเรียกว่า “ประสบความสำเร็จ” แต่ก่อนจะไปลงทุนอะไรขั้นแรกเราต้องมาจัดการ “บริหารเงินทุน” ที่เรามีให้เกิดประสิทธิภาพก่อน

คิดง่ายๆว่าหากเราไม่มีเงินเก็บเงินก้อนอะไรเลย มีแค่เงินเดือนขั้นต่ำเดือนละ 15,000 ควรเอามาแบ่ง 3 ส่วนดังนี้

  1. ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 60% = 9,000 บาท
  2. เก็บเป็นเงินสำรอง 10% = 1,500 บาท
  3. ลงทุน 30% = 4,500 บาท

** เป็นตัวเลขประมาณการให้เห็นภาพ การกำหนดเงินในแต่ละส่วนขึ้นอยู่กับปัจจัยของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ **
ถ้าคำนวณจากเงินตรงนี้เท่ากับว่าเราจะเงินสำหรับลงทุน เดือนละ 4,500 บาท ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเก็บเงินก้อนนี้สักกี่เดือนเช่นถ้าเราทำต่อเนื่อง 3 เดือน เราจะมีเงินลงทุนประมาณ 13,500 บาท

เงินทุนเริ่มต้นที่ไม่เกิน 15,000 แบบนี้เราจะเอาไปต่อยอดอะไรได้บ้างในยุคนี้ ลองมาดู

1. ร้านเครื่องดื่มชานมไข่มุก

60

สำหรับเงินทุนไม่เกิน 15,000 บาท อาจไม่เพียงพอให้ซื้อแฟรนไชส์เครื่องดื่มชาไข่มุกได้ทันที แต่ก็เพียงพอที่จะเอามาเริ่มต้นเปิดร้านเล็กๆของตัวเอง ด้วยการซื้อวัตถุดิบอย่าง ชา กาแฟ โอวัลติน แก้วพลาสติก น้ำแข็ง นมสด เบื้องต้นอาจลงทุนไม่เกิน 10,000 บาท และมองหาทำเลใกล้ๆ บ้านอย่างตลาดนัด หรือถ้าอยู่ในชุมชนก็อาจจะเลือกเปิดร้านที่หน้าบ้านตัวเองได้

ด้วยความที่เป็นสินค้าแบบคนไม่รู้จัก เราอาจต้องเริ่มจากการขายแบบซื้อบ้างแถมบ้าง เพื่อเป็นการสร้างฐานลูกค้า อย่าเพิ่งคิดว่าการเริ่มต้นแบบนี้จะเติบโตไม่ได้ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นมากมายกับบางแฟรนไชส์ที่เริ่มต้นจากการเป็นร้านขนาดเล็ก ขายเองที่หน้าบ้าน แต่ด้วยสินค้ามีคุณภาพ คนลงทุนรู้จักการตลาด บริหารจัดการดีก็สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ได้ในอนาคต

2. ร้านเนื้อย่าง

55

ภาพจาก facebook.com/torbeefgrill

เนื้อย่างแค่กลิ่นก็ดึงดูดลูกค้าได้ เป็นอีกการลงทุนง่ายๆ แต่รายได้ดีเว่อร์ ถ้ามีเงินไม่เกิน 15,000 บาท ลงทุนสวยๆ กับธุรกิจนี้ได้ไม่ยาก

ยกตัวอย่างแฟรนไชส์ ต.เนื้อย่าง มีแพคเกจลงทุนอยู่ 3 แบบ ชนิดที่ราคาไม่เกิน 15,000 ได้แก่ชุดทดลองขาย ราคาแค่ 3,000 บาท จะได้เนื้อโคขุนติดมัน 500 ไม้ ราคาขายไม้ละ 10 บาท ขายแป๊บเดียวก็หมด หรือจะเลือกชุดขายจริง ลงทุน 6,000 บาท ได้เนื้อโคขุนติดมัน 1,000 ไม้ ซึ่งกำไรของทุกชุด 40-60% ต่อไม้ หรือชุดขายมืออาชีพ ลงทุน 12,900 บาท ก็ถือว่าเป็นสินค้าขายง่าย ขายดี และขายได้แน่ใครอยากมีรายได้เพิ่ม อยากมีรายได้เสริม อยู่รอดสบายในยุคนี้

3. ขายอาหารตามสั่ง

559

เงินทุนไม่เกิน 15,000 บาทไม่แนะนำให้เช่าสถานที่เปิดร้าน แต่ใช้ครัวตัวเองในการทำอาหาร และพยายามหาลูกค้าเพื่อให้มีออร์เดอร์ เบื้องต้นอาจจะไม่ได้ลูกค้ามากนักแต่หากเราเป็นคนที่มีฝีมือในการทำอาหาร ลูกค้าจะปากต่อปากทำให้เรามีออร์เดอร์มากขึ้น ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการว่าเราจะทำอย่างไรให้ทำเมนูที่ลูกค้าต้องการได้ทันเวลา

ซึ่งงานเดลิเวอรี่สำคัญที่คุณภาพของอาหารและการจัดส่ง แนะนำว่าช่วงแรกหาลูกค้าที่อยู่ในรัศมีรอบบ้านประมาณ 1-2 กิโลเมตร เพื่อจะได้ไม่มีปัญหาในการจัดส่ง และเมื่อมีความชำนาญมากขึ้นค่อยขยายพื้นที่รับลูกค้ามากขึ้นได้

4. ขายหมูปิ้ง

58

อาชีพขายหมูปิ้งดูจะตอบโจทย์ความต้องการได้ทุกยุคสมัย เงินทุนไม่เกิน 15,000 บาท ซื้อหมูมาหมักทำเองราคากิโลละประมาณ 150 บาท รวมกับอุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นน่าจะผลิตสินค้าได้ประมาณ 100-200 ไม้

หรือจะให้ง่ายกว่านั้นคือเลือกลงทุนในระบบแฟรนไชส์ที่มีให้เลือกหลายแพคเกจ บางคนพอมีอุปกรณ์เบื้องต้นอยู่บ้างก็จะประหยัดเงินลงทุนได้อีก การขายหมูปิ้งสำหรับพ่อค้าแม่ค้าบางคนที่ทำเป็นอาชีพมีรายได้ต่อเดือนหลายหมื่นบาทดีกว่าทำงานประจำด้วยซ้ำไป

5. ร้านสเต็ก

54

ภาพจาก facebook.com/Narniasteak

คิดมีร้านสเต็กสักร้านไม่ใช่เรื่องยากและไม่ต้องมีเงินลงทุนสูงเหมือนสมัยก่อน ยกตัวอย่าง นาเนียสเต็ก ที่เปิดโอกาสให้คนสนใจเข้ามาสร้างธุรกิจง่ายๆ ไม่มีค่าแฟรนไชส์ เป็นการลงทุนตามจริง มีอุปกรณ์อะไรก็เอามาใช้ได้ประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น โดยแฟรนไชส์สอนสูตร เทคนิคการบริหารร้าน และเป็นที่ปรึกษาให้อย่างดี

53

ภาพจาก facebook.com/francisesteakchogun

หรือ โชกุน สเต็ก ที่มีแพคเกจตั้งตัว ราคา 11,900 บาท สิ่งที่ได้รับคืออุปกรณ์พร้อมเปิดร้าน เช่น เคาน์เตอร์ เตาย่าง เตาทอด ป้ายติดหน้าร้าน คอร์สฝึกอบรม ช่วยให้คนสนใจสามารถมีธุรกิจร้านสเต็กเป็นของตัวเองได้ทันที และเป็นเมนูขายง่าย ขายดี ขึ้นอยู่กับการตลาดและทำเลเป็นสำคัญ

6. ร้านขายปลาหมึกย่าง

57

งบลงทุนเบื้องต้นสำหรับการขายปลาหมึกย่างประมาณ 5,000-7,000 บาท ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ต้องซื้อหากมีอยู่บ้างแล้วก็จะประหยัดต้นทุนได้ อุปกรณ์สำคัญ เช่น เตาปิ้ง โต๊ะ ถาด น้ำจิ้ม ถุงพลาสติก หากเป็นการเปิดร้านแบบไม่มีประสบการณ์แนะนำว่าควรศึกษาวิธีการทำปลาหมึกให้สะอาด ไม่เค็ม และควรฝึกทำน้ำจิ้มให้มีรสชาติอร่อยถูกใจลูกค้า เพราะถือเป็นหัวใจของปลาหมึกย่าง

ราคาของหมึกย่างขึ้นอยู่กับชนิดหมึกที่นำมาย่าง ขนาดของหมึก และชิ้นส่วนที่นำมาย่าง ราคาเบื้องต้นเริ่มตั้งแต่ไม้ละ 10 เป็นอย่างน้อยบางร้านใช้หมึกที่มีคุณภาพย่างทั้งตัวราคาสูงถึง 70-80 บาท ก่อนจะขายก็ลองสำรวจตลาดรอบบ้านว่ามีคู่แข่งมากน้อยแค่ไหนจะได้วางแผนการลงทุนได้ถูกต้อง

7. สินค้าออนไลน์ (Dropship)

52

ภาพจาก freepik

การขายของแบบ Dropship เรียกแบบง่าย ๆ ก็ เป็นตัวแทนจำหน่ายแบบไม่ต้องสต็อกสินค้า เราสามารถเอาสินค้าจากร้านต่าง ๆ ทั้งแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ไปโปรโมทขาย โดยจะได้กำไรจากการบวกราคาขายเพิ่ม หรือได้กำไรจากเปอร์เซ็นตามที่ตกลงกับแบรนด์หรือร้านค้าที่เราทำ Dropship ด้วย ความง่ายของดรอปชิปคือ เราแค่ “โปรโมทขายสินค้าให้ได้” ส่วนขั้นตอนของการ แพ็คของ ส่งของ เป็นของแบรนด์หรือร้านที่เราไปติดต่อไว้

เช่น ขายของจากแบรน์เขาขายในราคา 100 บาท เราอาจจะเอามาบวกราคาเพิ่มเป็น 120 บาท) ค่าส่ง 50 เราก็แจ้งลูกค้าว่า สินค้า 120 บาท + ค่าส่ง 50 บาท เวลาโอนให้แบรนด์หรือเจ้าของร้าน เราก็โอนไป 150 บาท ส่วนอีก 20 บาทนั้นก็เป็นกำไร หรือปัจจุบันมีบาง Marketplace ที่เขาเปิดเว็บไซต์ให้เราเข้าไปสมัครสมาชิกและสามารถนำสินค้ามาจำหน่าย พร้อมได้เงินคืน สามารถสะสมเป็นเงินหรือหาสมาชิกเพิ่มขึ้นเพื่อโอกาสในการรับค่าตอบแทนที่มากขึ้นด้วย

8. งานฝีมือ/แฮนเมดด์

51

ภาพจาก facebook.com/ido4idea

ในบรรดาการขายที่กำไรต่อชิ้นเยอะและลงทุนน้อยที่สุดต้องยกให้งานฝีมือและแฮนเมดด์ ลองคิดดูว่าถ้าเรามีความสามารถด้านศิลปะ เช่นวาดภาพเก่ง ลงทุนแค่กระดาษ สี และอุปกรณ์พื้นฐานในการวาดภาพ ที่เหลือคือไอเดียและจินตนาการ ภาพ 1 ภาพที่เราวาดต้นทุนอาจไม่เกิน 20 บาท แต่สามารถขายได้ 200 -300 ขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้า หรือให้เข้าใจง่ายอีกหน่อย ไปแถวถนนคนเดิน จะมีคนรับวาดภาพเหมือนภาพล้อเลียน ราคาต่อครั้ง 80-100 บาท ลงทุนแค่กระดาษ ดินสอ ยางลบ โต๊ะเล็กๆ 1 ชุด แค่นี้ก็สร้างรายได้ต่อชิ้นแบบกำไรเกินคุ้ม

หรือถ้ายังไม่ชัดเจนดูแฟรนไชส์ ไอดูโฟร์ไอเดีย ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและจำหน่วยเครื่องพิมพ์ภาพลงเคสมือถือ , เครื่องพิมพ์ภาพลงบนวัสดุ ให้เราสามารถทำงานไอเดียลงบนวัสดุต่างๆ และขายหน้าร้าน ขายออนไลน์ได้ตามต้องการ ลงทุนแค่วัสดุราคาไม่กี่บาท เช่นจานใบละ 5-10 บาท แต่เมื่อพิมพ์ภาพสวยงามลงไปขายได้ใบละ 100 บาท หรือเสื้อยืดธรรมดาตัวละ 30-40 บาท พิมพ์ลายสวยๆ ลงไปขายได้ตัวละ 150-200 บาท หรือวัสดุอื่นๆ ตามที่ต้องการ ราคาขายก็ขึ้นอยู่กับความสวยงามและไอเดียเป็นสำคัญ

9. อสังหาริมทรัพย์

50

ภาพจาก freepik

ในยุคนี้การเป็นนายหน้าถือว่าน่าสนใจเพราะค่าตอบแทนของการเป็นนายหน้าไม่ว่าจะค้าขายที่ดิน หรือขายบ้าน ส่วนใหญ่รับกันจะอยู่ที่ 3% บางเคสสูงถึง 10% บางคนอาจจะคิดว่า ก็แค่ 3% จะมากอะไร แต่เมื่อนํามาคิดดูแล้ว ราคานายหน้าขายที่ดิน 3% ก็ถือว่าเยอะมาก ยกตัวอย่างให้เห็น เช่น 3% ของ 100,000 บาทเท่ากับ 3,000 บาท แล้วถ้าขาย 1,000,000 บาท จะเพิ่มขึ้นเป็น 30,000 บาท

และถ้าขาย 10 ล้าน จะได้ผลตอบแทนสูงถึง 300,000 บาท มากกว่าพนักงานกินเงินเดือน 30,000 บาท/เดือน ถึง 10 เท่า ซึ่งปัจจุบันมีคอร์สเรียนที่พร้อมสอนให้คนสนใจสามารถก้าวเข้ามาเป็นนายหน้าแบบมืออาชีพ แต่คนที่จะทำอาชีพนี้ก็ต้องมีไหวพริบ มีความรู้ และต้องรู้จักคนมาก รวมถึงต้องเป็นคนที่เข้าสังคมได้เก่งด้วย

10. สร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์

56

แม้แต่ภาครัฐเองยังส่งเสริมให้คนไทยหันมาลงทุนในระบบแฟรนไชส์เพราะเชื่อว่าจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ ซึ่งตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้หลายกิจการต้องปิดตัว มีคนตกงานจำนวนมาก คำว่า “เป็นนายตัวเอง” จึงเริ่มชัดเจนมากขึ้น

ซึ่งปัจจุบันหลายธุรกิจปรับระบบตัวเองมาสู่ “แฟรนไชส์” ที่มีจุดเด่นคือ ผู้ลงทุนไม่ต้องลองผิดลองถูก ไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ มีอุปกรณ์และวัตถุดิบให้พร้อมเปิดร้าน สอนสูตรและเทคนิคการเปิดร้านให้อย่างมืออาชีพ และลองคิดดูว่าถ้าเราทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์จากที่ต้องมาเปิดร้านขายเอง ทุกวัน พอเริ่มมีสาขาแฟรนไชส์ซี เท่ากับเรามีร้านที่ 2 ที่ 3 ที่ผู้ลงทุนจะช่วยขยายสินค้าของเราให้ทุกคนรู้จักมากขึ้น จากคนขายเอง ก็เริ่มหันมาดูแลระบบให้มีคุณภาพให้ผู้ลงทุนทุกคนอยู่ได้

“คนมีเงิน จะหาเงินง่าย แต่ คนไม่มีเงิน จะหาเงินยากมาก” เป็นคำกล่าวที่ดูเหมือนจะย้อนแย้งแต่ก็เป็นความจริงที่เราต้องยอมรับ ในขณะที่การเริ่มต้นธุรกิจแบบคนไม่มีเงินอะไรก็ดูจะติดขัดไม่เป็นใจ แต่ในขณะที่คนมีเงินจะเริ่มต้นอะไรสักอย่างก็ดูง่ายดายไปหมด ดังนั้นการหาเงิน ใช้เงินในยุคนี้นอกจากหาเงินให้เป็น ต้องรู้จัก เก็บเงินให้เป็นด้วย สถานการณ์หลายอย่างไม่เอื้ออำนวยให้เราใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย แต่ในวิกฤติก็ยังมีโอกาส อยู่ที่เราว่าจะจมปลักอยู่กับปัญหาหรือว่าเดินหน้าสู้กับมันอย่างเต็มที่


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. คนว่างงาน ตกงาน
  2. แบรนด์ใหญ่ทำไซด์เล็ก 
  3. แบรนด์ดังมักอยู่รอด
  4. ลดความเสี่ยงเริ่มต้น
  5. คนยังต้องกินต้องใช้

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3oiDhz3

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด