มุขขำๆ กับการตลาด! สร้างฮา สร้างแบรนด์ได้ดีกว่า

อย่าเพิ่งคิดว่า การทำโฆษณา ทางการตลาดจะต้องเน้นเนื้อหาแบบซีเรียส หรือไอเดียแบบบรรเจิดสร้างสรรค์เท่านั้น หากมองในมุมตรงกันข้ามเอาพื้นฐานของความรู้สึกเป็นตัวตั้ง

จะพบว่าคนเราส่วนใหญ่ใครๆ ก็ชอบเสียงหัวเราะกันแทบทั้งนั้นด้วยเหตุนี้นักการตลาดจึงเสนอเทคนิคที่เรียกว่า LOL (Large Opportunity of Laughing) มาเป็นกลยุทธ์หนึ่งเพื่อเพิ่มสีสันการตลาดแต่ที่น่าแปลกใจคือสินค้าที่เอาวิธีนี้มาใช้กลับได้ผลดีชนิดเกินคาดเลยทีเดียว

ในประเทศไทยเองโฆษณาแบบสุดฮาก็เคยมีผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็น “ไอ้ฤทธิ์มันกินแบล็ค” หรือว่า โฆษณายาริดสีดวงทวารกับวลีที่น่าจดจำ “ก็ลมมันเย็น” www.ThaiSMEsCenter.com กำลังมองว่าถ้าจะหาจุดเด่นที่ทำให้คนจดจำและอยากให้สินค้าและบริการ การโฆษณาแบบ LOL นี้น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

มุขยิ่งขำ ยิ่งทำให้ดังง่าย!

การทำโฆษณา

ภาพจาก goo.gl/IVGQ2b

มีงานวิจัยมากมายพูดถึงประโยชน์ของอารมณ์ขันและเสียงหัวเราะ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำความคิดสร้างสรรค์นี้ไปเชื่อมโยงกับบริบททางวัฒนธรรมและเหตุการณ์ร่วมสมัย ก่อนจะดัดแปลงเป็นมุกตลกที่สามารถสร้างรอยยิ้ม การเปิดใจ และจินตนาการ และยิ่งตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา

อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางการแพร่กระจายข่าวสารยิ่งทำได้ง่ายสินค้าที่ติดมุขตลกเข้าไปจึงเกิดกระแสโด่งดังได้รวดเร็วยิ่งขึ้นและกลายเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างไวรัลของสื่อออนไลน์ เพราะมันช่วยสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและแบรนด์ ด้วยความตลกที่จูงใจให้ลูกค้ายอมใช้เวลาและเปิดใจรับข้อความที่ถูกส่งออกมามากขึ้น

สินค้าที่มากับความฮา ขายได้ขายดีทั่วโลก

1. HEMA เว็บไซต์ขายของออนไลน์ จัดหน้าเพจตัวเองด้วยมุขตลก

hh7

ภาพจาก goo.gl/XUrHJK

เว็บไซต์ขายของออนไลน์ของร้านเฮมา (HEMA) ร้านค้าปลีกสัญชาติดัตช์ มองเผินๆ มีการจัดหน้าตาของร้านและสินค้าที่ดูสวยงามและน่าเชื่อถือ เว็บไซต์ร้านขายของธรรมดาท่ามกลางร้านค้าออนไลน์มากมายและไม่มีใครพูดถึง

หากแต่การทำหน้าเพจให้สินค้าวางเรียงเป็นแนวตั้ง และมีความเคลื่อนไหวจากแก้วน้ำที่อยู่แถวบนหล่นลงมาด้านล่างจนกระทบสินค้าตัวอื่นเป็นโดมิโน ก่อให้เกิดความเสียหายและท้ายที่สุดทำให้ตัวอักษรหล่นลงมาจนเพจพังไม่เป็นท่า กลับทำให้ผู้คนจดจำร้านค้าออนไลน์แห่งนี้ได้ขึ้นใจ และยินดีที่จะส่งต่อให้ผู้อื่นรับรู้อย่างเต็มใจ

2. ฮาสร้างแบรนด์แบบ Old Spice

hh4

ภาพจาก goo.gl/gXeT2T

Old Spiceคือ แบรนด์โคโลญ น้ำหอมหลังโกนหนวด และน้ำหอมระงับกลิ่นกายที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1934 ด้วยหน้าตาแพ็คเกจและความยาวนานของสินค้า ทำให้แบรนด์นี้ถูกมองว่าเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับคนรุ่นปู่รุ่นพ่อ

จึงทำให้ยอดขายจำกัดอยู่เฉพาะกลุ่ม แต่เมื่อ P&G (Procter and Gamble) ตัดสินใจซื้อแบรนด์นี้มาปรับโฉมใหม่เพื่อบุกตลาดผลิตภัณฑ์สำหรับชายหนุ่มในปี 1990 ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป และเพื่อให้ต่อสู้กับเจ้าของการตลาดเดิมในสินค้าประเภทนี้อย่าง AXE ได้ดีขึ้น

บริษัทจึงได้ทำซีรี่ส์โฆษณาผลิตซีรีส์โฆษณาที่สามารถสื่อสารได้ทั้งหญิงและชายด้วยคำพูดที่ว่า “ผู้ชายที่ผู้ชายของคุณมีกลิ่นเหมือนได้” (The Man Your Man Could Smell Like) เมื่อประกอบกับฉากและบทสนทนาทำให้ภาพที่ปรากฏในโฆษณาดูเกินจริงและน่าขำ จนทำให้มีผู้ชมผ่านยูทูบมากกว่า 40 ล้านครั้งและยอดขายเพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว

ขึ้นแท่นแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จในการพลิกฟื้นจากสมบัติเก่า มาผสมกับอารมณ์ขันอย่างชาญฉลาดภายใต้บริบทของคนอเมริกัน ด้วยเหตุนี้แคมเปญต่อๆ มาของ Old Spiceจึงยังคงรักษาความขำแบบเหนือจริงนี้ ผ่านโปสเตอร์และสื่อออนไลน์อย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊กที่ปรากฏข้อความขำขันที่ทำให้คนนำไปแชร์ต่อ ทำให้ผู้คนรู้จักผลิตภัณฑ์มากขึ้นแม้ว่าจะยังไม่ได้ซื้อก็ตาม

3. Zappos กับกลยุทธ์สร้างบรรยากาศให้ดูตลกในองค์กร

hh2

ภาพจาก goo.gl/af28fC

Zappos เป็นร้านขายรองเท้าและเสื้อผ้าออนไลน์ที่สามารถสร้างยอดขายได้ถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เคล็ดลับที่ผลักดันให้ Zappos ก้าวขึ้นมายิ่งใหญ่เช่นนี้เพราะ Tony Hsieh ผู้เป็นตำแหน่ง CEO ใช้หลักการการบริหารและสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบมีความตลกเป็นศูนย์กลาง (Humour-Centric) พร้อมเปิดโอกาสให้พนักงานที่เป็น Call Center

ซึ่งต้องพูดคุยกับลูกค้าโดยตรงและเป็นหัวใจของการให้บริการเข้าคอร์สอบรมของโรงเรียนความตลกแห่งชาติ ที่ Zappos ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้พนักงานได้กลับมาพร้อมกับอารมณ์ที่สดใสและมีแนวคิดใหม่มาพัฒนาองค์กรได้มากขึ้นด้วย

ตัวอย่างเหล่านี้อาจจะยังไม่ขำขันและเห็นพลังของการทำตลาดแบบสุดฮามากพอ ขอแนะนำว่าถ้ายังไม่รู้ว่าเทคนิคที่ว่านี้มีข้อดีอย่างไรลองไปค้นหาโฆษณาเก่าๆที่ใช้มุขสุดฮามาเป็นตัวเชื่อมระหว่างลูกค้ากับผลิตภัณฑ์ ลองเปิดดูถ้าไม่ยิ้มมุมปาก หรือว่าไม่ฮาจริงๆ วิธีนี้ก็คงไม่ได้ผลแต่ถ้าคุณขำ คุณฮา แสดงว่าวิธีนี้ได้ผลดีอย่างน้อยก็รู้ว่าเขาโฆษณาอะไรนั่นเอง

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด