มี “เขียง” มี “ตะหลิว” จะได้ “อร่อยดี” 3 แบรนด์ใหญ่สร้างโมเดลแฟรนไชส์น่าลงทุน!

หลังจากช่วงโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เราได้เห็นความนิยม แฟรนไชส์ร้านอาหาร มากขึ้น โดยเฉพาะแบรนด์ใหญ่ๆ ทำการปั้นแบรนด์ใหม่ขายแฟรนไชส์ต่อเนื่อง

โดย CRG เปิดขายแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ “อร่อยดี” ขณะที่ Zen ขายแฟรนไชส์ มี เขียง และเชสเตอร์ในเครือซีพีเตรียมขายแฟรนไชส์ “ตะหลิว” ซึ่งทั้ง 3 แฟรนไชส์ได้ปรับลดขนาดของร้านให้เล็กลงจากเดิม เพื่องบประมาณการลงทุนจะได้น้อยลง ให้สามารถขยายสาขาได้ง่ายในช่วงหลังโควิด-19

ทั้ง 3 แบรนด์มีกลยุทธ์ขยายธุรกิจแบบแฟรนไชส์ และมีจุดเด่นอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลจะมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบให้เห็นกันชัดๆ ว่าแต่ละแบรนด์มีความโดดเด่นอย่างไรบ้าง

Zen เร่งขยายแฟรนไชส์ “เขียง” 100 สาขาสิ้นปี 63 พร้อมผุดเพิ่มอีกเท่าตัวปี 64

มี เขียง

ภาพจาก bit.ly/2TypFlN

บริษัท เซ็น คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ZEN วางกลยุทธ์รุกขยายแฟรนไชส์ร้านเขียง ซึ่งเป็นแบรนด์เรือธงในกลุ่มร้านอาหารไทยตามสั่งแนวสตรีทฟู้ด ครบรอบ 1 ปีนั้น ได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนที่เข้ามาซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก

จากช่วงแรกที่บริษัทฯ ลงทุนขยายสาขาเอง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการให้บริการเดลิเวอรี่ที่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ในทุกสถานการณ์ โดยในสิ้นปี 2563 ZEN เตรียมแผนเปิดร้านเขียงให้ครบ 100 สาขา จากปัจจุบันมีกว่า 80 สาขา

ส่วนใหญ่เป็นการขยายสาขาแบบแฟรนไชส์ ซึ่งจะทำให้เขียงก้าวขึ้นเป็นแบรนด์สตรีทฟู้ดร้านอาหารไทยตามสั่งแบบ Omni Model เช่น กะเพรา ที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย โดยร้านเขียงแบ่งเป็น 2 โมเดล คือ แบบสแตนดาร์ด และแบบโลว์คอสต์

8

ภาพจาก bit.ly/2TypFlN

ผู้ที่สนใจลงทุนแฟรนไชส์บริษัทคิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า 600,000 บาท ค่าธรรมเนียมลอยัลตี้และมาร์เก็ตติ้งเดือนละ 15,000 บาท และเงินลงทุนอีก 1 – 2 ล้านบาท สำหรับเปิดร้านขนาดพื้นที่ 40 – 50 ตารางเมตร รองรับได้ประมาณ 20 – 30 ที่นั่ง

ความโดดเด่นของร้านเขียง ก็คือ จากการเปิดสาขาส่วนใหญ่ที่ผ่านมา สามารถสร้างยอดขายเฉลี่ยเดือนละ 400,000 บาท (ขึ้นกับทำเลและจังหวัดที่เปิดบริการ) และบางสาขาที่ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีสามารถสร้างยอดขายได้ถึงเดือนละ 600,000 – 800,000 บาท ดังนั้นหากตั้งอยู่ในทำเลที่ดีจึงมีโอกาสคืนทุนภายในระยะเวลา 1 – 3 ปี โดยราคาอาหารเริ่มต้น 65 – 150 บาท

7

ภาพจาก bit.ly/2TypFlN

สำหรับแผนงานขยายร้านเขียงในปี 2564 จะมุ่งเน้นการขยายแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยในส่วนพื้นที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันบริษัทวางแผนขยายแฟรนไชส์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลอีกไม่ต่ำกว่า 100 สาขา

ซึ่งในจำนวนนี้จะบรรลุข้อตกลงการทำสัญญากับแฟรนไชส์ 2 ราย ที่ต้องการขยายร้านเขียงประมาณ 60 สาขาในปี 2564 จึงมั่นใจว่าจะสามารถขยายสาขาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นแบรนด์ที่นึกถึงเมื่อต้องการรับประทานอาหารตามสั่งรสชาติจัดจ้าน

CRG บุกสตรีทฟู้ด ปั้นแบรนด์ “อร่อยดี” ขายแฟรนไชส์ ตั้งเป้า 300 สาขาใน 5 ปี

6

ภาพจาก facebook.com/CRGAroiDeeRestaurant/

อีกหนึ่งแบรนด์ใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ซึ่งดำเนินกิจการด้านอาหารมา 42 ปี เตรียมเปิดขายแฟรนไชส์แบรนด์ “อร่อยดี” ร้านอาหารไทยจานด่วน เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2563 ในงาน TFBO ไบเทค บางนา ปัจจุบันมีสาขา 20 แห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งเป้า 5 ปี ขยายสาขา 300 แห่ง แบ่งเป็น CRG 75 แห่ง แฟรนไชส์ 225 แห่งทั่วประเทศ พร้อมชูจุดแข็ง ร้านอาหารไทยจานด่วน รสชาติคุ้น อิ่มครบ จบทุกมื้อ ด้วยวัตดุดิบคุณภาพ ทำเลสะดวก

โดย CRG วางกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแฟรนไชส์ “อร่อยดี” ได้แก่ พนักงานออฟฟิศ คนทำธุรกิจส่วนตัว อายุระหว่าง 25 – 45 ปี ที่ชื่นชอบอาหารไทย รสชาติอร่อย ร้านอยู่ในทำเลที่ตั้งที่สะดวก สามารถเลือกเป็นจุดแวะ เติมความอิ่มในเวลารีบเร่งได้ ตามสโลแกนหลัก “รสชาติคุ้น อิ่มครบ จบทุกมื้อ” ปัจจุบันทางแบรนด์ “อร่อยดี” มีพร้อมแล้วที่จะเปิดรับสมัครแฟรนไชส์

5

ภาพจาก facebook.com/CRGAroiDeeRestaurant/

“อร่อยดี” ถือเป็นแบรนด์ร้านอาหารไทยจานด่วน ในเครือ CRG เปิดตั้งแต่ปี 2562 ด้วยความมุ่งมั่นส่งมอบอาหารไทย รสชาติคุ้น อิ่มครบ จบทุกมื้อ บริษัทคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ เปิดในทำเลใกล้บ้าน และย่านชุมชนที่เข้าถึงได้สะดวก

เป้าหมายการขยายสาขาแบรนด์ “อร่อยดี” ในปีแรก (สิ้นปี 63) ตั้งเป้าจำนวนสาขาของ CRG 25 แห่ง (ปัจจุบัน 20 แห่ง) ส่วนสาขาแฟรนไชส์ 1 แห่ง หลังจากนั้นในช่วงปีที่ 2 – 5 เป้าหมายขยายสาขาของ CRG ปีละ 10 แห่ง แฟรนไชส์ในปีแรก 35 แห่ง ปีที่ 2 – 4 จำนวน 45 แห่ง และปีที่ 5 จำนวน 54 แห่ง รวม 300 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็นของ CRG 75 แห่ง สาขาแฟรนไชส์ 225 แห่ง

สำหรับจุดแข็งแฟรนไชส์อร่อยดี คือ แบรนด์ภายใต้ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ที่ดำเนินกิจการด้านอาหารมา 42 ปี ดำเนินธุรกิจร้านอาหารไทยจานด่วน รสชาติคุ้น อิ่มครบ จบทุกมื้อ ด้วยวัตดุดิบคุณภาพ ทำเลที่ตั้งสะดวก และเป็นศูนย์รวมความอร่อยหลายแบรนด์ อาทิ เจ๊เกียง โจ๊กกองปราบ,โตกียว โบวล์ และ เจ๊เกียงหมูทอด ข้าวเหนียวนุ่ม เป็นต้น

4

ภาพจาก facebook.com/CRGAroiDeeRestaurant/

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการระบาดโควิด-19 หลายๆ ธุรกิจร้านอาหารได้รับผลกระทบจากวิกฤติกันถ้วนหน้า แต่แบรนด์แฟรนไชส์ “อร่อยดี” กลับไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากยอดขายส่วนใหญ่กว่า 70% มาจากช่องทาง Delivery รวมทั้งร้านอร่อยดีจำนวนกว่า 53% อยู่ใน Gas Station และ 16% อยู่ใน Grab kitchen & Cloud Kitchen

เหตุผลที่ CRG ปั้นแบรนด์อร่อยดี ก็เพื่อบุกตลาดสตรีทฟู้ด ด้วยไอเดีย อาหารไทยจานเดียว รสชาติคุ้นเคย เมนูง่ายที่หลากหลาย ราคาเข้าถึงได้ อาทิ ข้าวผัดรถไฟ / ข้าวผัดกะเพรา / ผัดมาม่าใส่ไข่ เป็นต้น อีกทั้งส่งแบรนด์อร่อยดีเข้าแพลตฟอร์ม Delivery เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าปัจจุบันที่เน้นการสั่งอาหารทางแพลตฟอร์ม Delivery มากกว่าการมารับประทานที่ร้าน

สำหรับงบการลงทุนของแฟรนไชส์ “อร่อยดี” อยู่ที่ 1.3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 400,000 บาท มีค่า Royalty Fee 4% และ Marketing Fee 1% ของยอดขาย คาดว่าสามารถคืนทุนภายใน 2 ปี มีรายได้เฉลี่ย 500,000 – 550,000 บาท/เดือน/สาขา โดยมีต้นทุน 38 – 40% และกำไร 17% ปัจจุบันสาขาที่ขายดีที่สุดได้แก่ ไทวัสดุบางนา, รามอินทรา และสายไหม มียอดขายเฉลี่ย 750,000 บาท/เดือน ลูกค้าส่วนใหญ่มียอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 150 บาท/บิล โดยราคาขายอาหารประมาณ 65 – 105 บาท

“เชสเตอร์” โดดร่วมวงสตรีทฟู้ด ปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” ลุยแฟรนไชส์ปี 2564

3

ภาพจาก facebook.com/TALIEWTH/

“เชสเตอร์” แฟรนไชส์ร้านอาหารในเครือซีพีเป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่ตั้งเป้ากระโดดร่วมวงสตรีทฟู้ด ด้วยการปั้นแบรนด์ “ตะหลิว” เพื่อต่อยอดจากจุดเด่นของแบรนด์ คือ ข้าว และพริกน้ำปลา โดยตะหลิวได้วางจุดยืนเหมือนกับแบรนด์อื่นๆ เน้นที่เมนูอาหารตามสั่ง เมนูอาหารไทยยอดนิยมอย่างข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่า ต้มยำ และเมนูเส้น มีราคาเริ่มต้นที่ 60 บาท

ที่ผ่านมา “เชสเตอร์” ได้เปิดร้านตะหลิวแบบเงียบๆ ในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 โดยทำเลส่วนใหญ่เป็นฟู้ดคอร์ทระดับพรีเมียม ได้แก่ อาคาร CP Tower 2 และโรงพยาบาลศิริราช ล่าสุดได้เปิดสาขาใหม่ที่อิมพีเรียล สำโรง เป็นโมเดลแบบร้านมีที่นั่ง

2

ภาพจาก facebook.com/TALIEWTH/

ส่วนแผนการขยายสาขาของ “ตะหลิว” ในปี 2563 ผู้บริหารบอกว่ายังอยู่ช่วงทดลองตลาด ศึกษาดูว่าทำเลไหนเหมาะสำหรับเปิดร้าน และการตอบโจทย์ผู้บริโภค โดยในช่วงแรกบริษัทจะเป็นผู้ลงทุนเองก่อน ร้านจะมี 3 รูปแบบหลักๆ

ได้แก่ ร้านเล็กๆ ในฟู้ดคอร์ท, ร้านแบบมีที่นั่ง และ Cloud Kitchen ที่เน้นเดลิเวอรี่ โดยจะใช้ครัวของเชสเตอร์เป็นหลัก หากผลตอบรับดีจะเริ่มขยายแฟรนไชส์ในช่วงไตรมาสที่ 2 ในปี 2564 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโมเดลในการหารายได้เพิ่ม และยังช่วยขยายสาขาได้เร็วขึ้น

1

ภาพจาก facebook.com/TALIEWTH/

หากสังเกตทั้ง 3 แบรนด์ให้ดี จะเห็นวิธีการสร้างแบรนด์ของทั้งสามโดย มี เขียง จะเสิร์ฟอาหารในหม้ออบ “อร่อยดี” จะเสิร์ฟอาหารในจานแบบวินเทจ ส่วน “ตะหลิว” จะเสิร์ฟอาหารในถาดสังกะสี

ต่อจากนี้เป็นต้นไป โดยเฉพาะในช่วงปี 2564 ต้องจับตาดูตลาด Street Food ในเมืองไทยว่าจะหอมหวนแค่ไหน ซึ่งจะมีเชนร้านอาหารรายใหญ่ๆ ลงมาเล่นตลาดนี้อีก เพราะตลาดยังยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เพียงแต่ต้องแตกต่างจากตลาดอย่างไร


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2HFPsGm

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช