สูตรลับ! 15 วิธี สร้างแฟรนไชส์ ใน 30 วัน

หลายธุรกิจที่อยากจะเติบโตอย่างรวดเร็ว มักหยิบเอาโมเดลแฟรนไชส์มาเป็นตัวเร่งการเติบโต แต่ก็ไม่ใช่ว่าคิดอยากจะทำก็จะทำกันได้ง่ายๆ เพราะแฟรนไชส์ที่จะเติบโตอย่างแข็งแกร่งนั้น

ต้องผ่านการวางรากฐานที่แข็งแรงด้วย ตั้งแต่วิธีคิด กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ร้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงรู้จักการบริหารความสัมพันธ์กับคนที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ สูตรลับ วิธีการขยายแฟรนไชส์ สำหรับเป็นแนวทางให้กับเจ้าของกิจการ เจ้าของธุรกิจ ที่อยากขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไชส์ มาดูพร้อมกันเลยครับ

สูตรลับ

1.ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจ

อย่าคิดว่าทุกธุรกิจสามารถทำเป็นแฟรนไชส์ได้ คิดจะขายแฟรนไชส์ก็ขายได้ทันที ธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์และขายสิทธิให้กับคนอื่นได้นั้น ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้า เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นกิจการที่มีผลกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาอยู่บ้าง มีอายุธุรกิจนานพอที่จะสามารถนำเอาเทคนิคและรูปแบบบริหารมาถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ และมีการสร้างทีมงานที่มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์

ดังนั้น ก่อนที่คุณคิดจะนำธุรกิจไปขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน อยู่ในระดับไหนแล้ว เพราะการขายแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย อาจต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เรียกได้ว่าต้องวางรูปแบบของธุรกิจ กำหนด Concept ของธุรกิจให้คนรู้จัก ดึงดูดลูกค้าได้

2.สร้างธุรกิจให้โดนใจลูกค้า

ธุรกิจของเราต้องครองใจลูกค้าให้ได้เสียก่อน ถ้าธุรกิจเรายังไม่ใช่สำหรับลูกค้า มันก็ยังคงไม่เพียงพอที่จะดึงลูกค้าเข้ามาในร้าน การที่จะขยายสาขาแฟรนไชส์ต่อไปได้นั้นเราต้องได้ใจของลูกค้าด้วย การสร้างธุรกิจที่ได้ใจลูกค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าทำได้ถูกต้องเราก็ไม่ต้องกลัวว่าต่อไปจะพลาด อย่าให้เราต้องเสียเวลาต้องกลับมาแก้ไขปัญหาภายหลัง คงไม่ใช่เรื่องสนุกเท่าไหร่

13

3.หาความรู้ระบบแฟรนไชส์

21

การเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์นั้น ก่อนอื่นคุณต้องมีความรู้และมีทีมงานที่มีความอดทน และมีความเข้าใจระบบงานแฟรนไชส์ในระดับดีพอสมควร เพราะการทำแฟรนไชส์เกี่ยวข้องกับการเงิน การตลาด ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ ค่าสิทธิต่อเนื่อง การสนับสนุนแฟรนไชส์ สัญญาแฟรนไชส์ คู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์ ฯลฯ หากไม่รู้เรื่องเหล่านี้ก็ทำแฟรนไชส์ไม่ได้

สำหรับใครที่อยากหาความรู้ในเรื่องแฟรนไชส์ คอร์สเรียนแฟรนไชส์ Step by Step https://bit.ly/3CMgxPT

4.การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

22

สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ ก็คือ การจดสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า (ตราสินค้า) เมื่อให้สัญญาแฟรนไชส์แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แล้ว สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้า ก็จะถูกผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปใช้ดำเนินธุรกิจด้วย พร้อมกับวิธีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และการให้บริการที่มีมาตราฐานจะต้องควบคู่ไปพร้อมกับการดำเนินธุรกิจดังกล่าวนั้นด้วย

บริการ #รับจดเครื่องหมายการค้า (Trade mark) https://bit.ly/37K1Zll

17

5.การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์

การสร้างร้านต้นแบบขึ้นมา ก็เพื่อนำมาศึกษาหาข้อดีข้อเสียของธุรกิจที่คุณกำลังทำ ว่ามีความสามารถเพียงใด ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งเท่าใด ระบบการขายอย่างไร ระบบเก็บเงินอย่างไร หลายๆ อย่างจะได้จากร้านต้นแบบ แต่ถ้าคุณมีร้านอยู่แล้ว ก็ต้องสร้างระบบควบคุมให้รัดกุม และ เป็นระบบที่สามารถกระจายการทำได้อย่างมีหลักมีเกณฑ์

6.สร้างระบบการจัดการ และการอบรม

เจ้าของธุรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องสร้างระบบการปฏิบัติงาน และการฝึกอบรม หรือ ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดร้านจะต้องปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง ทั้งการผลิต การขาย การจัดการ เป็น ดังนั้น การอบรม จึงเป็นวิธีการพื้นๆ แต่ได้ผลในการทำให้ระบบงานทั้งระบบเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

12

7.การเขียนสัญญาแฟรนไชส์

23

เจ้าของธูรกิจที่จะทำแฟรนไชส์ จะต้องมีการเขียนสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อเป็นแนวทางให้แฟรนไชส์นำไปปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นกฎปฏิบัติของแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง และห้ามทำอะไรบ้าง ใครไม่ปฏิบัติตามสัญญาก็สามารรฟ้องร้องกันได้ตามกฎหมาย เจ้าของธุรกิจอาจจะต้องจ้างทนาย หรือผู้เชี่ยวชาญในการร่างสัญญานี้ขึ้นมา

บริการ #รับร่างสัญญาแฟรนไชส์ https://bit.ly/2UjRORo

8.การจัดหาแหล่งผลิตวัตถุดิบ

เมื่อขายแฟรนไชส์ได้แล้ว เจ้าของแฟรนไชส์จะต้องทำหน้าที่จัดส่งวัตถุดิบในการผลิตสินค้าให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ เจ้าของธุรกิจจะต้องหาแหล่งผลิตวัตถุดิบ หรือซัพพลายเออร์ต่างๆ ที่มีคุณภาพ ที่สำคัญการจัดซื้อวัตถุดิบจากแหล่งใดก็ต้องหา Supplier ที่สามารถควบคุมคุณภาพให้เราได้ด้วยเช่นกัน

14

9.การจัดการเรื่องการรับ-ส่งวัตถุดิบ

คุณต้องเข้าไปดูแลตั้งแต่การรับสินค้าจาก Supplier การเก็บเข้าคลัง และการกระจายสินค้าออกไปสู่ แฟรนไชส์ซี การจัดทำ Packaging ที่ทำจากเครื่องเลย ก็มีส่วนช่วยให้ลดแรงงานลงไปได้เช่น น้ำจิ้ม หรือ สูตรสำเร็จที่จะใส่ในน้ำซุปเป็นต้น

10.ตั้งราคาขายวัตถุดิบให้แฟรนไชส์ซี

ราคาวัตถุดิบที่จะขายนั้น ควรจะเป็นราคาที่ไม่สูง หรือ ต่ำจนเกินไป ต้องรับรู้ว่าจริงๆ แล้ว เราต้องการสิ่งเหล่านี้ไปโดยตลอด เป็นรายได้หลักของเราที่จะเข้ามาทุกวัน หากคุณภาพและราคาไม่เหมาะกันแล้ว คุณอาจจะเสียลูกข่ายไปได้ง่ายๆ หรือ แฟรนไชส์ซี อาจจะไปซื้อของอย่างอื่นที่คุณภาพใกล้เคียงมาใช้แทน คุณก็จะเสียรายได้หลักไปโดยปริยาย

19

11.การวางแผนด้านการตลาด

การวางแผนการตลาดที่จะสนับสนุนการยอมรับตราสินค้าได้อย่างดี ทั้งด้านการสร้างตราธุรกิจ การสร้างลูกค้าที่เป็นผู้บริโภค รองรับการขยายของธุรกิจที่มีสาขามากขึ้น การตลาดที่ว่านี้ จะต้องรวมถึงการนำเสนอธุรกิจให้กับนักลงทุนได้อย่างดี น่าสนใจมากพอ ผู้ที่เป็นลูกค้าประจำของเราเองก็อาจจะ มีโอกาสที่จะกลายมาเป็นแฟรนไชส์ซีของเราต่อมาก็ได้

12.วิเคราะห์และวางแผนทางการเงิน

ร้านต้นแบบจะเป็นตัวช่วยในการวางโครงสร้างทางการเงิน เช่น ถ้าการเปิดแฟรนไชส์ 1 แห่ง จะมีรายละเอียดในการลงทุนอย่างไร มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง จุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ลูกค้ากี่คน ยอดขายที่จะคุ้มค่าใช้จ่ายต่อเดือนอยู่ที่ตัวเลขประมาณเท่าไหร่ และเป้าหมายควรมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ โอกาสที่จะได้เงินลงทุนคืนประมาณกี่ปี

และคุ้มไหมที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมาลงทุนทำธุรกิจนี้ ร้านต้นแบบจะทำให้ได้ภาพที่ชัดขึ้น และมีตัวเลขที่เข้าใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนด การเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) และค่าธรรมเนียมรายเดือน (Royalty Fee) ด้วย

16

13.สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก

หากคุณคิดจะทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องลองสำรวจตลาดก่อนว่า แบรนด์สินค้าและบริการธุรกิจของคุณเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปหรือไม่ ถ้าคนไม่รู้จัก ธุรกิจคุณก็ไม่สามารถขายแฟรนไชส์ได้

แบรนด์จะเป็นหน้าตาของธุรกิจคุณ เมื่อขายให้แฟรนไชส์ซีไปแล้วแบรนด์นั้นก็จะติดไปด้วย ถ้าลูกค้ารู้จักแบรนด์คุณมาก่อน ก็จะทำให้แฟรนไชส์ซีขายสินค้าได้เหมือนกับคุณ ไม่ว่าจะไปตั้งร้านอยู่ที่ไหนก็ตาม นั่นก็จะสร้างความมั่งคงกลับมาให้กับธุรกิจคุณด้วย ดังนั้น การสร้างแบรนด์อาจจำเป็นต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ หรือออกงานแสดงสินค้าร่วมด้วย

#ลงโฆษณาประชาสัมพันธ์แฟรนไชส์ https://bit.ly/30YZDeK

14.จัดทำคู่มือปฏิบัติการแฟรนไชส์

ระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีคู่มือการดำเนินธุรกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับร้านต้นแบบ คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์หรือรูปแบบการบริหารธุรกิจ ที่คุณจะถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจที่มีมานานให้แก่ผู้อื่น ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องปฏิบัติตามทุกอย่าง

คู่มือนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์ได้ง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าคุณจะขายแฟรนไชส์กี่สาขา ทุกสาขาก็จะยึดแนวทางการบริหารธุรกิจและบริการในรูปแบบเดียวกัน เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ถ้าคุณต้องการที่จะทำแฟรนไชส์ ต้องอย่าลืมจัดทำคู่มือการดำเนินงานธุรกิจ ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การตกแต่งร้าน การทำตลาดและประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่นต่างๆ การบริหารจัดการด้านการเงิน บริหารสต็อก เป็นต้น

15

15.สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี

เจ้าของกิจการที่จะสร้างแฟรนไชส์ ต้องมีการสร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ ทั้งการสนับสนุนก่อนเปิดร้าน และหลังเปิดร้าน โดยก่อนเปิดร้านจะเป็นการออกแบบตกแต่งร้าน การฝึกอบรมพนักงานทั้งในบริษัท และช่วงก่อนเปิดร้าน 4–5 วัน ส่วนการสนับสนุนหลังเปิดร้าน ก็จะเป็นการตรวจเยี่ยมเยี่ยมสาขาแฟรนไชส์ ว่าเดือนหนึ่งๆ จะออกไปตรวจกี่ครั้ง

รวมถึงการจัดส่งวัตถุดิบให้แฟรนไชส์จะต้องจัดส่งอย่างไร เพื่อไม่ให้ของขากมในร้านแฟรนไชส์ซี รวมถึงให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษาการดำเนินธุรกิจให้แฟรนไชส์ซีตลอดอายุสัญญาแฟรนไชส์ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์จะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน

ทั้งหมดถือเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ซึ่งจริงๆ แล้วหลักการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ไม่อยู่ๆ จะลุกขึ้นมาเปิดขายแฟรนไชส์กันเลย คุณต้องทำการศึกษาระบบและกระบวนการแฟรนไชส์ให้เข้าใจถ่องแท้

นอกจากจะสร้างธุรกิจให้มีชื่อเสียงในตลาดแล้ว ลูกค้าชื่นชอบ คุณอาจจะต้องเข้าคอร์สและผ่านอบรมการทำธุรกิจแฟรนไชส์จากสถาบันที่เกี่ยวข้อง หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เพื่อสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3r9f5U6

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช