แนวทางสร้าง มาตรฐานระบบแฟรนไชส์ เป็นอย่างไร?

เรื่องราวต่างๆ ของโลกใบนี้ บางทีก็น่าคิดว่าเราน่าจะหาทางออกด้วยการพูดจาทำความเข้าใจ จับเข่านั่งคุยกัน บางทีความขัดข้องหมองใจก็อาจจะหมดไปได้ และหลายคนก็คิดอย่างนั้น มีหลายเรื่องหลายสิ่งที่เราใช้เวลาการบอกกล่าว มาตรฐานระบบแฟรนไชส์ นำเสนอความคิดของตัวเองมากมาย

แปลกแต่จริงที่ยิ่งมีการพยายามบอกเรื่องราวที่มีมากมาย แต่กลับยังไม่ได้แก้ไขให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันบ้างเลย

ที่จริงแล้วสังคมไม่ได้ขาดเรื่องราวพูดจาบอกเล่า หรือ การสื่อสารที่ดี แต่จริงๆ แล้ว เราน่าจะขาดคนที่จะฟัง … มากกว่า ขณะที่เขียนต้นฉบับนี้ ผมกำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางเพื่อปฏิบัติภารกิจในอเมริกาต้นแบบของระบบธุรกิจด้านแฟรนไชส์รวมถึงรูปแบบการค้าปลีกหลายๆ ด้าน มาตรฐานระบบแฟรนไชส์

115

ต้องยอมรับว่าการเจริญเติบโตบางส่วนของเขาเองนั้นดีกว่าบ้านเรา เป็นตำราเล่มใหญ่ให้กับการทำความเข้าใจสำหรับนำมาพัฒนาธุรกิจบ้านเรา ที่ยังอาจจะต้องใช้เวลาบ้าง แต่ด้วยการเรียนรู้จากสิ่งที่มีอยู่ก็น่าจะสามารถร่นระยะเวลาการเติบโตพัฒนาให้เร็วขึ้นได้มากกว่าการคิดเองขึ้นมาใหม่

การสร้าง มาตรฐานระบบแฟรนไชส์ การดำเนินธุรกิจด้านแฟรนไชส์ในบ้านเราเองก็จะต้องมีขึ้นไม่ว่าในทางใดทางหนึ่งเพราะการสร้าง ธุรกิจระบบแฟรนไชส์ มาตรฐานระบบแฟรนไชส์ นั้นเป็นรูปแบบที่มีผลกระทบต่อวิธีการลงทุนของชาวบ้านร้านค้าเป็นอย่างมาก ทั้งในแง่การพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจ การแข่งขัน รวมถึงแนวทางการลงทุน

สำหรับประชาชนทั่วไปแล้วเมื่อพูดถึง ระบบแฟรนไชส์ นับว่าเป็นธุรกิจอย่างเดียวที่ต้องทำความเข้าใจอย่างมากก่อนที่จะควักเงินก้อนสุดท้ายไปลงทุน การผิดพลาดจากการตัดสินใจนั้น ต่างมีผลกระทบอย่างมากสำหรับชาวบ้านร้านค้า หรือผู้ที่กำลังตั้งใจประกอบธุรกิจ

ถ้าหากว่าบ้านเรา เมืองเรามีแต่แฟรนไชส์ที่เป็นธุรกิจมาตรฐานเพียงพอ ถึงแม้ว่ายังมีบ้างที่อยู่ในขั้นการพัฒนาปรับธุรกิจให้ดีขึ้นนั้นก็เป็นเรื่องธรรมดาที่พอยอมรับได้ แต่ที่สำคัญถ้าธุรกิจที่สร้างเป็นระบบแฟรนไชส์เกิดขาดความตั้งใจที่จะพัฒนาธุรกิจของตนเองให้เกิดความสำเร็จแท้จริง เพียงแต่สร้างเป็นธุรกิจขึ้นมาเพื่อแสวงหาประโยชน์เท่านั้นจะเป็นเรื่องอันตรายอย่างมาก

117

นอกจากมีโอกาสสร้างความเสียหาย มีความเสี่ยงต่อการขาดทุน หรือขาดอนาคตในทางการตลาดระยะยาวแล้ว ที่สำคัญเท่ากับไปปลูกสร้างความไม่เข้าใจทั้งระบบแฟรนไชส์และขัดกับแนวทางการสร้างผู้ประกอบการที่ดีไปด้วย เสียอะไรไปก็ไม่เท่ากับเสียความตั้งใจของคนดีๆที่จะเป็นกำลังให้สังคมไป ผมถือว่าเป็นการขาดทุนของสังคมที่ไม่ควรเกิด

การจัดแนวทางการดำเนิน ธุรกิจระบบแฟรนไชส์ ที่ควรทำ ควรเป็น ที่เรียกว่าเป็นจรรยาบรรณของผู้ประกอบการ โดยสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์ฯ ที่แถลงข่าวไปไม่นานมานี้ ก็เพื่อเพิ่มข้อดีของการลงทุนในระบบแฟรนไชส์ที่สำคัญ คือ ประโยชน์ของแฟรนไชส์ซีทีได้จากการเรียนรู้วิธีการทำธุรกิจอย่างเป็นระบบ

เพราะการเริ่มธุรกิจที่มีพี่เลี้ยงที่เป็นแฟรนไชส์ซอร์เป็นผู้เอาใจใส่ดูแลจะต้องนำมาในสิ่งที่ดีกว่าแน่นอน การวัดความเป็นมาตรฐานของการดำเนินธุรกิจเหมือนกับเป็นการให้ข้อสังเกตกับสังคมทั่วไปว่า ยังมีแฟรนไชส์ที่อยู่ในข่ายในเกณฑ์น่าลงทุน ทำให้เกิดการสร้างรูปแบบของการประกอบการที่ดีตามที่ต้องการและสามารถบอกกับนักลงทุนได้ว่า แฟรนไชส์ใดเป็นแฟรนไชส์ที่ควรอยู่ในกรอบของธุรกิจน่าพิจารณาลงทุน หรือ ให้ตัดทิ้งไปได้เลย

วิธีการตรวจสอบและให้ ตราสัญลักษณ์ ครั้งนี้ เกิดจากโครงการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กให้เป็นแฟรนไชส์ มาตรฐานระบบแฟรนไชส์ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ที่ปัจจุบันกำลังจัดสร้างเกณฑ์การวัดมาตรฐานของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ โดยโครงการนี้จะดำเนินการตรวจสอบกับธุรกิจต่างๆที่ผ่านการอบรมการสร้างธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ ทั้งหมดที่ดำเนินการมาตลอดระยะเวลาสี่ปีที่ผ่านมากว่า 200 บริษัท

มาตรฐานระบบแฟรนไชส์ สร้างได้ ถ้าผู้ประกอบการตั้งใจจริง
มาตรฐานระบบแฟรนไชส์ สร้างได้ ถ้าผู้ประกอบการตั้งใจจริง

โดยโครงการนี้ถือเป็นการนำร่องเสียก่อนที่จะมีการสร้างเป็นมาตรฐานการตรวจสอบธุรกิจแฟรนไชส์ทุกๆ ธุรกิจในประเทศ และยอมรับด้วยกันทุกฝ่ายในช่วงต่อไป สำหรับเกณฑ์การวัด วิธีการ รวมถึงรายชื่อบริษัทที่จะได้รับการคัดเลือกให้เป็นบริษัทแฟรนไชส์ที่ได้รับการเลือกนั้น คงต้องนำมาเล่าให้ท่านที่รักรับทราบกันต่อไป

แต่สำหรับวันนี้คงต้องบอกว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ที่กำลังเดินหน้าเต็มกำลังเพื่อจะเป็นแกนของระบบธุรกิจค้าขายรายเล็กในประเทศของเรานี้ ไม่ได้เพียงเติบโตโดยขาดการเหลียวแล แต่ยังมีหน่วยงานทีสำคัญต่างๆกำลังโอบประคองให้ธุรกิจในภาพรวมเติบโตไปอย่างถูกหลักการ ต้นไม้ใหญ่ที่ชื่อ แฟรนไชส์ต้นนี้จะลงรากปักลึกได้นั้นต่างต้องมีเวลาสำหรับการเติบโต เมล็ดพันธ์ที่ดี กับความตั้งใจจริงที่จะดูแลอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ คือสิ่งที่พวกเราทุกคนต้องร่วมมือกันครับ.

 

ลิขสิทธิ์รูปภาพโดย ThaiSMEsCenter.com

ดร.พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ บริษัท บิสิเนส โค้ช แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด

Email : peerapong@consultant.com