มาดูกัน! แฟรนไชส์ “ ชาพะยอม ” ทำไมถึงดัง?

ใครคิดเริ่มต้นธุรกิจเปิดร้านขายเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ไม่ว่าจะซื้อแฟรนไชส์ หรือสร้างแบรนด์เอง ต้องบอกเลยว่า ณ เวลานี้คุณคงต้องเร่งปรับปรุงกลยุทธ์ พัฒนาระบบการให้บริการที่เข้มข้นมากขึ้น เพราะไม่ว่ามองไปทางไหน มีแต่คู่แข่งเปิดร้านเครื่องดื่ม ชา กาแฟเกลื่อนไปหมด ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก รายใหญ่ ราคาระดับล่างถึงระดับบน ทั้งในห้าง นอกห้าง

ยิ่งเป็นคู่แข่งที่มาแรง ผู้คนพูดถึงบ่อย อย่าง “ ชาพะยอม ” จากแดนใต้ เพียงไม่กี่ปี มีสาขามากมาย ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ขยายเครือข่ายจากภาคใต้ แพร่กระจายปักหมุดเกือบทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ปริมณฑล ต่างจังหวัด

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำท่านไปเจาะลึกถึงก้นแก้วชาพะยอมดูว่า มีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้แฟรนไชส์ “ชาพะยอม” โด่งดัง มีคนพูดถึงมากมาย ขยายสาขาได้มาก ใครที่ไม่เคยลิ้มลอง ก็อยากจะซื้อดื่มดูสักครั้ง โดยทีมงานได้ลงพื้นที่สำรวจตลาด พูดคุยกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ชาพะยอม และได้ลองซื้อชิมรสชาติมาแล้ว มาดูกันเลยครับ

1.กลยุทธ์ “อร่อยแก้วไหน” ราคาเดียว 25 บาท

ชาพะยอม

คนที่เป็นคอเครื่องดื่ม ชา กาแฟ จะรู้เลยว่าเครื่องดื่มที่เคยไปซื้อแล้วนั้น มีหลากหลายเมนู หลากหลายราคา แต่สำหรับแฟรนไชส์ “ชาพะยอม” สร้างความแตกต่างจากแฟรนไชส์หรือแบรนด์อื่นๆ ด้วยการตั้งธงขายเครื่องดื่มทุกชนิด ทุกเมนู ราเดียว คือ แก้วละ 25 บาทเท่ากัน เหมือนสินค้าราคาเดียว 20 บาทนั่นแหละ ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มี 50-60 บาท มาเป็นทางเลือก

นอกจากนี้ เมนูเครื่องดื่มของแฟรนไชส์ “ชาพะยอม” มีให้เลือกหลากหลายมากกว่า 15 เมนู ที่สร้างความโดดเด่นและสร้างชื่อติดตลาดให้กับแบรนด์แฟรนไชส์ คือ ชาเย็นพะยอม และกาแฟเย็นพะยอม นอกนั้นมีเหมือนกันกับร้านกาแฟอื่นๆ

oo2

จุดเด่นของร้าน คือ ราคาแก้วละ 25 บาท ไม่ว่าจะในห้าง หรือนอกห้าง ราคาเดียวกัน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ถือเป็นกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้า และรสชาติของเครื่องดื่ม เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ แล้วแต่ว่าใครจะชอบหวานมาก หวานน้อย

2.ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือหักเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย และไม่กำหนดยอดการขาย

oo4

แฟรนไชส์ “ชาพะยอม” เดินเกมกลยุทธ์ เรียกเก็บค่าแฟรนไชส์ครั้งเดียว 100,000 บาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่นค่าเคาน์เตอร์ (ถ้าตามแบบที่เค้าใช้ๆ กัน) ก็ประมาณ 20,000 บาท

ค่าอุปกรณ์อีกสัก 20,000 บาท (หม้อต้มไฟฟ้า 3 ใบ แก้วชง อุปกรณ์การชง ฯลฯ) สิ่งที่ต้องซื้อกับแฟรนไชส์ซอร์ คือ แก้วพิมพ์โลโก้ ผงชาเย็น ผงชาเขียว ผงกาแฟโบราณ ส่วนที่เหลือหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไป เช่น นม น้ำตาล (ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ คาร์เนชั่น ที่ทุกร้านจะเหมือนกัน)

จะเห็นว่ากลยุทธ์การขยายสาขาของชาพะยอม แบบเสียค่าแฟรนไชส์ 100,000 บาทครั้งเดียว จะช่วยสร้างความสนใจให้กับลูกค้าที่ต้องการซื้อแฟรนไชส์ชาพะยอมได้เป็นอย่างมาก เพราะคิดว่าเป็นการลงทุนครั้งเดียวจบ ไม่ต้องแบ่งเปอร์เซ็นต์ยอดการขายในแต่ละเดือนให้เจ้าของแฟรนไชส์ รอเวลาคืนทุนอย่างเดียว

oo6

ยิ่งถ้ามีแฟรนไชส์ซีคนอื่นบอกว่า ขายได้วันละ 300 แก้ว ก็เท่ากับ 300 แก้ว x 25 บาท = 7,500 / วัน หรือ 7,500บาท x 30 วัน = 225,000 /เดือน/1สาขา ทำคนอยากซื้อแฟรนไชส์ตาลุกเป็นไฟเลยทีเดียว

ที่สำคัญแฟรนไชส์ชาพะยอม ไม่มีกฎระเบียบ ขั้นตอน การคัดเลือกแฟรนไชส์ที่ยุ่งยากซับซ้อน ใครมีเงินลงทุนสามารถซื้อแฟรนไชส์ เข้าฝึกอบรมการชงชา กาแฟ และเครื่องดื่มต่างๆ ได้เลย และต้องมีทำเลตั้งร้านขายด้วย

3.แก้วใหญ่ ขายถูก รสชาติดี จนต้องบอกปากต่อปาก

oo7

ความโดนเด่นของแฟรนไชส์ชาพะยอมอยู่ที่ ความแตกต่างของรสชาติ ที่ปรับให้มีความเข้มข้น มีความหอมของชา ใช้วัตถุดิบอย่างดี อย่างชาที่ใช้ก็เป็นชาแท้ ที่สำคัญไม่เน้นใส่น้ำทราย เพราะจะทำให้รสชาติไม่เข้มข้น หวานมัน

เรื่องราคาก็สำคัญ เพราะเน้นขายในราคาถูก ราคาเดียวกันทุกเมนู 25 บาท แก้วใหญ่ด้วย ไม่ว่าจะเป็น ชาเย็น ชาเขียว โกโก้ ชาดำเย็น ชามะนาว นมสด โอวัลติน โอเลี้ยง มอคค่า ชาเย็นพะยอม ฯลฯ

คนที่ได้ลิ้มลองรสชาติแล้ว ต้องบอกต่อกันปากต่อปาก เลยทำให้ยิ่งเป็นที่รู้จักและนิยมดื่มกันมากขึ้น อีกทั้งร้านชาพะยอม ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบสีเขียว เป็นที่จดจำของผู้คนที่ผ่านไปมาได้ง่าย จนทำให้ต้องขยายกิจการในรูปแบบแฟรนไชส์ ปัจจุบันเจาะตลาดไปได้เกือบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ย่านปริมณฑล ต่างจังหวัด ตามหมู่บ้านต่างๆ ก็ยังมีให้เห็น

4.แฟรนไชส์ “ชาพะยอม” กระแสดังเพราะปัญหา

oo8

ไม่มีใครคาดการณ์ออกว่า เส้นทางแฟรนไชส์ชาพะยอมนับจากนี้ จะเป็นอย่างไร สวยหรูมากน้อยแค่ไหน หรือไม่ได้โรยด้วยดอกกุหลาบ เพราะแม้ปัจจุบันแฟรนไชส์ชาพะยอมจะขยายสาขาแฟรนไชส์ได้จำนวนมาก คลอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ เรียกได้ว่าแทบทุกตำบล ทุกหมู่บ้านก็ว่าได้ จะเห็นร้านเครื่องดื่มสีเขียวชาพะยอมตั้งเกลื่อนไปหมด จนหลายคนชินตา

แต่ในเบื้องลึกแล้ว แฟรนไชส์ชารพะยอมมีผู้ดูแล (ผู้ขายแฟรนไชส์) 2 คน ซึ่งเป็นพี่น้องกัน โดยทั้งคู่กำลังมีปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าอยู่ในขั้นตอนของศาล

แต่ก็สามารถขายแฟรนไชส์ให้ผู้ที่สนใจซื้อแฟรนไชส์ชาพะยอมด้วยกันทั้งคู่ เรียกได้ว่า ต่างคนต่างขาย แต่ใช้แบรนด์เดียวกัน ซึ่งหลายคนอาจมองเป็นเรื่องดี

แต่ในระบบแฟรนไชส์ถ้าแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่งเกิดมีปัญหาขึ้น หรือเจ้าของแฟรนไชส์ทะเลาะกัน ส่วนใหญ่แฟรนไชส์มักไปไม่รอด มีปัญหาเกิดขึ้นกับระบบแฟรนไชส์ตามมามากมาย

ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่ดี ทำเลที่ตั้งร้านค้าไม่มีศักยภาพ คุณภาพมาตรฐานสินค้าลดลง รสชาติและการบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่คงมาตรฐานทุกร้าน

จากการลงพื้นที่สำรวจของทีมงาน ThaiSMEsChiseCenter.com ได้พบปัญหาที่เกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ชาพะยอมจริงๆ เจ้าของแฟรนไชส์ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ไม่มีกระบวนการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่เป็นระบบ และเป็นมาตรฐานมากนัก

 

oo10

ใครมีเงินทุน 100,000 บาท ก็สามารถเปิดร้านได้ โดยโอนเงินมัดจำก่อน 10,000 บาท เจ้าของแฟรนไชส์จะส่งรูปแบบการตกแต่งร้านให้ดู และก่อนเปิดร้านและนัดวันอบรม 4 ชั่วโมง ค่อยชำระเงินส่วนที่เหลือ 90,000 บาท โดยที่เจ้าของแฟรนไชส์ไม่มาดูทำเลที่ตั้งร้านค้าด้วยซ้ำ ว่าระยะความห่างแต่ละสาขาเท่าไหร่ เจ้าของแฟรนไชส์ไม่สนใจ

พอมีคนขอซื้อแฟรนไชส์ ถ้ามีทำเลที่พอขายได้ เจ้าของแฟรนไชส์จะขายแฟรนไชส์ทันที พื้นที่จะอยู่ใกล้กัน ห่างกัน ไม่ว่า แต่ขอให้ขายได้ ปล่อยให้เป็นกลยุทธ์บริหารร้านกาแฟของแต่ละคน ตรงนี้เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ชาพะยอม หลายพื้นที่พบว่าระยะห่าง 500 เมตร มีแฟรนไชส์ชาพะยอมตั้งร้านขายแข่งกันถึง 2 ร้าน

oo11

คุณได้เห็นแล้วว่า มีปัจจัยอะไรบ้างที่ช่วยทำให้แฟรนไชส์ชาพะยอม ได้รับความนิยม มีชื่อเสียง โด่งดัง ผู้คนมีการกล่าวขานถึง ที่สำคัญขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วด้วย ในแง่มุมหนึ่งก็เป็นเรื่องดีของระบบแฟรนไชส์ ที่มีสาขาได้จำนวนมาก

แต่ธุรกิจแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จ เติบโตอย่างมั่นคง ผู้บริหารแฟรนไชส์ หรือเจ้าของแฟรนไชส์ ต้องไม่เร่งรีบขายแฟรนไชส์ มีกระบวนการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่มีมาตรฐาน ทำเลที่ตั้งร้านค้าต้องดีมีศักยภาพ และต้องดูแลเอาใจใส่แฟรนไชส์ซีด้วย และเราก็ไม่รู้ด้วยว่าเส้นทางจากนี้ของแฟรนไชส์ชาพะยอมจะเป็นเช่นไร คงต้องติดตามกันต่อไปครับ

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/38J4Iep

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช