พ.ร.บ.คอมฯ กับการดำเนินธุรกิจ SMEs

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ 2560 หลายคนตั้งคำถามว่า พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับนี้จะเป็น ซิงเกิล เกตเวย์ (Single Gateway) เพื่อลวงเอาข้อมูลประชาชนหรือไม่ ซึ่งในตัวกฎหมายไม่ได้เขียนเอาไว้ แต่ประเด็นเหล่านี้อาจจะกระทบต่อพ่อค้าแม่ค้า SMEs ถ้าคุณเป็นผู้ประกอบการคุณควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไปล้วงลึกและดูว่า พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับปี 2560 จะส่งผลกระทบต่อการทำธุรกิจอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และขาของออนไลน์ มาดูพร้อมๆ กันเลยครับ

ต้องบอกว่า พ.ร.บ.คอมฯ ฉบับปี 2560 ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการจัดการกับปัญหาเดิมๆ ที่ยังค้างคาไม่ชัดเจนในพ.ร.บ.คอมฯ ฉบับเก่าเมื่อปี 2550 และผลกระทบที่หนักสุดเห็นจะเป็นพ่อค้าแม่ค้าทางออนไลน์ ที่ต้องใช้สติให้ดีในการแชทคุยกับลูกค้า

ความสุจริตใจในการประกอบอาชีพ รวมไปถึงการใช้เครื่องมือออนไลน์อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรม ซึ่งเรื่องที่ SMEs บนแพลทฟอร์มออนไลน์ของไทยต้องระวังมี 2 ประเด็นใหญ่ๆ ดังนี้

1.จริยธรรมของผู้ประกอบการ

พ.ร.บ.คอมฯ

ภาพจาก goo.gl/vs4X4r

ในอดีตการหมิ่นประมาท การทำให้เสียชื่อเสียงการปลอมแปลงเว็บไซต์ การปลอมแปลงตัวตนบนโลกออนไลน์ และก่อให้เกิดความอับอาย จะอยู่ในมาตรา 14(1) ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท จึงทำให้มีการอ้างมาตรานี้ฟ้องร้องคดีกันเต็มไปหมด

ส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต หรือกระทบต่อกลไกการตรวจสอบ แต่พ.ร.บ.คอมฯฉบับปี 2560 จะเข้าไปแก้ไขเกี่ยวกับความรัดกุมของกฎหมาย ถึงการหลอกลวงขายของ

การที่ผู้ซื้อโอนเงินแล้วไม่ได้รับสินค้า การไลฟ์สดขายของละเมิดลิขสิทธิ์ การปลอมแปลงสินค้าหรือหมิ่นประมาทต่างๆบนออนไลน์ โดยให้ไปใช้สิทธิ์ในกฎหมายอาญาแทน เพราะเนื่องจากไม่สามารถยอมความกันได้ จึงเป็นกฎหมายใหม่ที่เข้มงวดกับการควบคุมผู้ค้าผู้ขายทางโลกโซเชียล เพื่อไม่ให้ทำผิดกฎหมาย

2.หยุดการซื้อขายจนน่ารำคาญ

er14

ภาพจาก goo.gl/NfnLiG

เรื่องของสแปม (Spam) ในพ.ร.บ.คอมฯฉบับเก่าระบุว่า ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ไปให้บุคคลอื่นแล้วมีการปลอมแปลง IP Address หรือที่มาของข้อมูล ซึ่งในอดีตเราจะไม่ปลอมแปลง แต่เป็นการส่งไปตรงๆ เลย เช่น การขายตรงผ่าน SMS, Line ฯลฯ เพื่อการขายตนสินค้าต่างๆ ในอดีตมีการส่งกันอย่างหนัก ทำให้กฎหมายใหม่ต้องออกมาบอกว่าห้ามส่ง

หากต้องการส่งจริงๆ ต้องได้รับอนุญาตจากปลายทางก่อน ผู้บริโภคต้องสามารถกดยอมรับหรือปฏิเสธได้ หากไม่ได้รับอนุญาตแล้วส่งไป หลังจาก 24 พฤษภาคม 2560 จะมีโทษปรับการส่งสแปมไปในอีเมลล์หรือไลน์ ข้อความละ 200,000 บาท

แต่หากผู้รับยอมตกลงให้ส่งได้ ผู้ให้บริการต้องมีข้อตกลงหรือจุดหรือปุ่มให้ผู้รับบริการสามารถบล็อกหรือยกเลิกการส่งข้อความ รูปภาพหรือวีดีโอนั้นได้ (กฎหมายบอกต่อว่าโดยง่าย นั่นหมายถึงต้องสามารถยกเลิกสแปมได้ไม่ซับซ้อนและหลายขั้นตอนเกินไป) ณ ตอนนี้มีการเขียนว่าห้ามส่งสแปมทั้งในและต่างประเทศ

ส่วนสิ่งที่กฎหมายไม่ระบุให้เป็นสแปมก็คือ การส่งที่สืบเนื่องมาจากสัญญาข้อตกลง “นิติสัมพันธ์” เช่น ไปสมัครขอเงินกู้จากธนาคาร ธนาคารก็มีสิทธิจะส่งข้อมูลต่างๆ มาให้คุณได้ ซึ่งในแง่ของธุรกิจการให้บริการถือว่ากระทบอย่างมาก เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจรายใหญ่หรือรายเล็ก ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน

ได้เห็นแล้วว่ามีประเด็นอะไรบ้าง ที่ผู้ประกอบการ SMEs ไทยต้องระมัดระวังอย่างยิ่ง หลังพ.ร.บ.คอมฯ มีผลบังคับใช้ เพราะประเด็นเนื้อหาการปรับปรุง เพื่อมุ่งเน้นในการคุ้มครองผู้บริโภคและหลักศีลธรรมอันดีของผู้ใช้

อีกทั้งยังช่วยให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ค้าขายกันอย่างสุจริตใจ ไม่หลอกลวงผู้บริโภค จนทำร้ายเพื่อนร่วมอาชีพ นอกจากนี้ก็จะช่วยทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อของทางออนไลน์ยิ่งขึ้น

อ่านบทความ SMEs อื่นๆ goo.gl/uiiGA7

อ้างอิงข้อมูลจาก goo.gl/8BQPUE

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช