“ พร้อมเพย์ ” ช่วย SMEs ไทย อย่างไร?

บริการ พร้อมเพย์ (PromptPay) หรือเดิมใช้ชื่อว่า เอนี่ ไอดี (Any ID) เป็นการให้บริการโอนเงินและรับเงิน ระหว่างบุคคลและภาคธุรกิจรูปแบบใหม่ โดยไม่ต้องใช้เลขที่บัญชีธนาคาร ใช้เพียงแค่หมายเลขโทรศัพท์มือถือ เลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยผู้ที่สนใจสามารถเลือกผูกบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่ต้องการใช้เป็นบัญชีในการรับเงิน

บริการพร้อมเพย์ ถือเป็น 1 ใน 5 โครงการของ “แผนยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ” (National e-Payment) โดยจะช่วยให้ระบบการชำระเงินของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจ่ายเงินระหว่างภาครัฐและประชาชนสะดวกสบายง่ายขึ้น รวมถึงการโอนเงินระหว่างประชาชนด้วยกัน หรือระหว่างประชาชนกับภาคธุรกิจมีความปลอดภัยมากขึ้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอข้อมูลและรูปแบบของการบริการพร้อมเพย์ รวมถึงประโยชน์ที่ประชาชนและภาคธุรกิจจะได้รับจากบริการพร้อมเพย์ มาดูกันเลยครับ

เริ่มใช้บริการพร้อมเพย์อย่างไร

พร้อมเพย์

ภาพจาก scb.co.th

สิ่งแรกที่ผู้ใช้บริการหรือผู้ประกอบการร้านค้าต้องทำ คือเลือกบัญชีเงินฝากที่ต้องการจะใช้เป็นบัญชีหลักในการรับเงินหลัก โดยต้องเตรียมเอกสาร 3 อย่างเพื่อประกอบการลงทะเบียน

  1. สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร
  2. บัตรประจำตัวประชาชน และ
  3. โทรศัพท์มือถือที่ท่านต้องการลงทะเบียน หลังจากนั้นจึงไปแจ้งลงทะเบียนกับธนาคาร

โดยสามารถใช้ช่องทางบริการ เช่น ATM, Internet Banking หรือ Mobile Banking หรือไปที่สาขาธนาคารเจ้าของบัญชีที่สะดวกก็ได้ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2559 และใช้บริการได้จริงเดือนตุลาคม 2559

หัวใจสำคัญของบริการพร้อมเพย์ คือ บริการที่จะทำให้ใครๆ ก็สามารถโอนเงินมาให้เราก็ได้ โดยไม่ต้องถามเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร ช่วยเพิ่มความสะดวกด้วยการจัดให้มีระบบข้อมูลกลาง หรือ “ถังข้อมูล”

เชื่อมเลขบัญชีเงินของทุกธนาคาร, หมายเลขโทรศัพท์มือถือ และเลขประจำตัวประชาชนไว้ด้วยกัน และต่อไปหากจะโอนเงินให้ใครจะสามารถใช้ 2 หมายเลขนี้ในการอ้างอิงแทนได้ ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าผู้รับเงินจะใช้บัญชีเงินฝากของธนาคารใด

ประโยชน์ของบริการพร้อมเพย์ ต่อ ภาคธุรกิจ

i16

ภาพจาก www.kasikornbank.com

1.การโอนเงิน-รับโอนเงิน มีความสะดวกสบายมากขึ้น

ประโยชน์ที่อยู่ใกล้ตัวมากที่สุด คือ ผู้ใช้บริการไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือเจ้าของร้านค้า รวมถึงประชาชน จะมีความสะดวกขึ้นมาก สามารถโอนเงินให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงได้โดยใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือ ที่เรามักจะจำได้หรือบันทึกไว้อยู่แล้ว

นอกจากนี้ ในส่วนของการรับเงินจากภาครัฐ เช่น เงินสวัสดิการ เงินช่วยเหลือ เงินคืนภาษี ก็จะสามารถรับตรงเข้าบัญชีได้ด้วยเลขประจำตัวประชาชนที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝากธนาคาร และที่สำคัญประชาชนมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลอย่างครบถ้วน สามารถเปลี่ยนแปลงยกเลิกการผูกบัญชีได้ง่าย และสามารถเลือกใช้บริการได้อย่างอิสระ

ตัวอย่างที่เห็นชัดเจน เช่น กรณีจ่ายเงินค่าซื้อสินค้า ถ้าเจ้าของร้านค้าเปิดใช้บริการพร้อมเพย์ ลูกค้าไม่มีเงินสดในตอนนั้น ก็สามารถที่จะโอนเงินด้วยบริการพร้อมเพย์ให้กับเจ้าของร้านได้ หรือถ้าคุณนั่งแท็กซี่ บางครั้งอาจจะไม่มีเงินสดติดตัว แต่ถ้าทั้งสองฝ่ายลงทะเบียนในระบบ ก็สามารถชำระเงินผ่านหมายเลขโทรศัพท์มือถือได้

2.ช่วยลดการใช้เงินสด และไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก

จะเห็นได้ว่าบริการพร้อมเพย์ จะช่วยลดการใช้เงินสด ไม่ต้องพกเงินสดในการซื้อของทั้งลูกค้าและเจ้าของร้านค้า หรือทำธุรกรรมทางการเงินกับทางธนาคาร ตรงนี้จะเพิ่มความรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบรายการย้อนหลังได้

ถ้าประชาชนและเจ้าของธุรกิจร้านค้าปรับเปลี่ยนมาใช้ e-Payment ในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จะมีส่วนช่วยลดต้นทุนของระบบการชำระเงินโดยรวม และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศได้ด้วย

3.เสียค่าธรรมเนียมในการโอนเงินถูกลง

i17

ภาพจาก krungsri.com

ปกติการโอนเงินต่างธนาคารระหว่างบุคคลจะเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 25-30 บาทต่อครั้ง แต่การโอนเงินในระบบพร้อมเพย์ระหว่างบุคคลด้วยกัน จะไม่เก็บค่าธรรมเนียมหรือฟรีค่าธรรมเนียมใน 5,000 บาทแรก, 5,000-30,000 บาท

เก็บค่าธรรมเนียมน้อยกว่า 2 บาทต่อรายการ, 30,000-100,000 บาท เก็บน้อยกว่า 5 บาทต่อรายการ, 100,000 บาทขึ้นไปตามแต่ละธนาคาร จะเก็บน้อยกว่า 10 บาทต่อรายการ ตรงนี้จะช่วยให้ผู้ใช้บริการมีเงินเหลือในบัญชีมากขึ้น

4.ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ

เป็นที่ทราบกันดีว่า การทำธุรกรรมด้วยเงินสด จะมีค่าใช้จ่ายในด้านการขนส่ง รถติด จราจรติดขัด สถาบันการเงินต้องเพิ่มจำนวนบุคลากร และค่าน้ำมันจากการขนส่ง โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่ต้องเดินทางออกไปจับจ่ายใช้สอยหรือซื้อสินค้าเอง รวมถึงให้คนไปส่งเช็ค-รับเช็ค ล้วนเสียค่าใช้จ่ายเป็นเป็นต้นทุนการทำธุรกิจทั้งนั้น

ดังนั้น หากคุณไม่มีทางเลือกที่ดีกว่าจากบริการรูปแบบใหม่ ควรหันมาใช้บริการพร้อมเพย์ เพื่อช่วยลดต้นทุนของระบบเศรษฐกิจ เพราะในอนาคตอาจจะต้องมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากธุรกรรมเงินสดที่มีต้นทุนแพงขึ้นแน่นอน

“พร้อมเพย์” จะช่วยลดพฤติกรรมการใช้เงินสดของประชาชนและภาคธุรกิจ ช่วยลดต้นทุนแบงก์ลงเพราะไม่ต้องใช้คนตามแบงก์สาขา ส่วนประชาชนก็ได้ประโยชน์จากการโอนเงิน-รับเงินที่สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นในอัตราค่าธรรมเนียมที่ถูกลง

ดังนั้น การทำธุรกรรมการเงินในระยะต่อไปจะต้องสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนโครงสร้างเศรษฐกิจยุคดิจิตอล

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช