ปัญหาแฟรนไชส์ 7 ข้อที่คุณจะเจอ!

แม้ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะเป็นทางลัดในการดำเนินธุรกิจ ไม่ต้องเสียเวลาในการก่อร่างสร้างธุรกิจขึ้นมาใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าธุรกิจที่สร้างขึ้นนั้นจะตอบโจทย์และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากน้อยแค่ไหน พูดง่ายๆ คือ ธุรกิจอาจไม่โดนตลาด

อีกทั้งการซื้อแฟรนไชส์มีทางเลือกในการประกอบธุรกิจที่ตัวเองสนใจมากมาย เพราะมีหลากหลายแบรนด์ที่มีชื่อเสียงเป็นรู้จักของผู้คน เจ้าของแบรนด์มีการฝึกอบรม จึงทำให้มีความเสี่ยงน้อย มีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าการเปิดร้านเอง

แต่รู้หรือไม่ว่า แม้แฟรนไชส์จะเป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียง บริษัทแฟรนไชส์ช่วยเหลือในเรื่องของการทำตลาด แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการซื้อแฟรนไชส์จะมีเส้นทางสู่ความสำเร็จได้ง่ายขึ้น เพราะมีอุปสรรคและความท้าทายมากมาย

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะชี้แนะให้เห็นภาพของ ปัญหาแฟรนไชส์ ที่มักเกิดขึ้นในระบบแฟรนไชส์ โดยเฉพาะขั้นตอนการซื้อแฟรนไชส์ หรือขอรับสิทธิแฟรนไชส์ ตลอดจนการบริหารแฟรนไชส์ให้ทราบ

1.ระยะเวลาในการให้สิทธิแฟรนไชส์ยาวนาน

65

ในระบบแฟรนไชส์นั้น แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีเปรียบเสมือนหุ้นส่วนความสำเร็จด้วยกัน แบรนด์แฟรนไชส์จะต้องเหมาะสมกับผู้ได้รับสิทธิ และแฟรนไชส์ซีจะต้องเหมาะสมกับแบรนด์ด้วย ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่าแฟรนไชส์หลายๆ แบรนด์มีข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์ยาวนานถึง 10-15 ปี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แฟรนไชส์ซอร์จะใช้ระยะเวลาในการอนุมัติการให้สิทธิแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์แต่ละรายยาวนาน 4-5 ปี ต้องเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสมกับแบรนด์มากที่สุด

วิธีแก้ปัญหา

เพื่อเร่งกระบวนการให้สิทธิแฟรนไชส์เร็วขึ้น ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสมัครแฟรนไชส์ให้ถูกต้อง และปฏิบัติตามข้อกำหนดของแฟรนไชส์ซอร์ อาจช่วยให้กระบวนการอนุมัติให้สิทธิเร็วขึ้น บางทีผู้ซื้อแฟรนไชส์อาจใช้เวลานี้พิจารณาและประเมินอีกครั้งว่าแฟรนไชส์ที่เลือกเหมาะสมกับตัวเองหรือไม่

2.ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นสูง

64

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อมในเรื่องของเงินลงทุน ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee), ค่าออกแบบตกแต่งร้านก่อนเปิด, ค่าใช้จ่ายในการเปิดร้าน ซึ่งไม่รวมค่าสิทธิของยอดขายรายเดือน

อาทิ KFC มีค่าแฟรนไชส์ 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐ + ค่าออกแบบตกแต่งร้าน 1.4-2.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ แมคโดนัลด์ มีค่าแฟรนไชส์ 45,000 ล้านเหรียญสหรัฐ + ค่าออกแบบตกแต่งร้าน 1.2-2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยผู้ซื้อแฟรนไชส์แมคโดนัลดื ยังต้องจ่ายค่าสิทธิ (Royalty Fee) 4% ของยอดขายรายเดือนให้แฟรนไชส์ซอร์ ส่วน Subway เรียกเก็บ 12.5% ของยอดขายรายสัปดาห์สำหรับ Royalty Fee และ Marketing Fee

วิธีแก้ปัญหา

ระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง แฟรนไชส์ซีจะต้องจ่ายค่าสิทธิและค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ให้แก่แฟรนไชส์ซอร์ และจะต้องบริหารจัดการธุรกิจตามที่แฟรนไชส์ซอร์ถ่ายทอดให้ทุกอย่าง ไม่ใช่รอรับเงินปันผลอย่างเดียวเหมือนกรณี “ดารุมะ ซูชิ” ที่หลอกขายแฟรนไชส์ และคูปองทิพย์ แต่ก่อนจะซื้อแฟรนไชส์ควรศึกษาข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์อย่างละเอียด

3.ควบคุมมาตรฐานแบรนด์ได้น้อยลง

 

66

แม้ว่าแฟรนไชส์จะเป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง มีจำนวน 2,000 กว่าสาขา แต่ถ้าสาขาใดสาขาหนึ่งทำเสียชื่อเสียง หรือมีสิ่งแปลกปลอมในเมนูอาหาร ก็จะส่งผลเสียต่อแบรนด์แฟรนไชส์ทั้งหมด แม้จะมีปัญหาเกิดขึ้นในไม่กี่สาขาเท่านั้น แต่สามารถแฟรนไชส์อื่นๆ อาจได้รับผลกระทบ ลูกค้าอาจจะหลีกเลี่ยงการเข้าใช้บริการ เพราะเป็นแบรนด์เดียวกัน

วิธีแก้ปัญหา

แต่ละสาขาแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความสะอาด รสชาติ รวมถึงการให้บริการลูกค้า หรือถ้าเป็นปัญหาใหญ่จริงๆ ก็โทรปรึกษากับแฟรนไชส์ซอร์ว่าจะแก้ปัญหาได้อย่างไร

4.มีอำนาจในการตัดสินใจไม่มากนัก

62

เป็นเรื่องะรรมดาที่แฟรนไชส์ซีจะมีอำนาจในการตัดสินใจน้อยลง เพราะต้องปฏิบัติตามระบแฟรนไชส์แต่ละแบรนด์เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น แต่ละสาขาต้องมีเมนูเหมือนกัน จัดโปรดมชั่นพร้อมๆ กัน มีบริการเหมือนกัน หรือกระทั่งเปิด-ปิดร้านเวลาเดียวกัน ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะพัฒนาเมนูใหม่ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเองไม่ได้

วิธีแก้ไขปัญหา

หากแฟรนไชส์ซีมีไอเดียในการทำธุรกิจใหม่ๆ หรือพัฒนาเมนูอาหาร เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับร้าน ก็อาจสามารถโทรติดต่อไปยังสำนักงานใหญ่หรือแฟรนไชส์ซอร์โดยตรง อธิบายมุมมองและเหตุผลในการสร้างรายได้เพิ่ม เหมือนกรณีเมนูร้านฟาสต์ฟู้ด เช่น Big Mac, KFC bucket, Foot long และ Filet-o-Fish ล้วนเป็นเมนูที่พัฒนาขึ้นโดยแฟรนไชส์ซี

5.กฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละสถานที่

67

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ควรจะต้องศึกษากฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละสถานที่หากต้องการเปิดร้านแฟรนไขส์ที่นั่น เพราะแต่ละสถานที่จะมีกฎระเบียบแตกต่างกัน เช่น ในห้างสรรพสินค้าอาจมีค่าใช้จ่ายแตกต่างจากข้างนอก รวมถึงการเปิด-ปิดร้านต้องเป็นไปตามระเบียบของทางห้าง ตรงนี้อาจส่งผลกระทบยอดขายและรายได้ของผู้ซื้อแฟรนไชส์

วิธีแก้ปัญหา

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ต้องทำความคุ้นเคยและศึกษาดูว่า กฎระเบียบของสถานที่แห่งนั้น มีความเหมาะสมสำหรับแบรนด์แฟรนไชส์หรือประเภทแฟรนไชส์ที่เตรียมจะเปิดหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

6.อัตราการลาออกของพนักงานสูง

61

ประเทศไทยอาจไม่มีปัญหา แต่สำหรับร้านอาหารแฟรนไชส์ในอเมริกา ถือเป็นปัญหาใหญ่ เพราะในแต่ละปีร้านฟาสต์ฟู้ดต่างๆ มีอัตราการลาออกของพนักงานสูงมาก รวมถึงการเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงเพิ่มขึ้น เช่น แมคโดนัลด์ เมื่อเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ไม่ทำตาม พนักงานก็ลาออก เพราะธุรกิจร้านอาหารทั่วไปมีความต้องการพนักงานเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

วิธีแก้ปัญหา

ต้องมีสวัสดิการให้กับพนักงานที่เหมาะสม กำหนดแผนจูงใจพนักงานเพื่อรักษาพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการลดหยุด โบนัสพิเศษ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกันสังคม รวมถึงสวัสดิการอื่นๆ

7.คู่แข่งและการอิ่มตัวของตลาดแฟรนไชส์เดียวกัน

60

ภาพจาก https://bit.ly/3I231ue

ปัญหาสุดท้ายของแฟรนไชส์ คือ ความอิ่มตัวของตลาดแฟรนไชส์เดียวกัน เช่นตลาดแฟรนไชส์ในอเมริกา เชื่อหรือไม่ว่า Chick-fil-A ทำรายได้ต่อสาขามากกว่า McDonald’s และ Starbucks รวมกันในปี 2020

สาเหตุที่แต่ละสาขาของ Chick-fil-A ทำรายได้มากกว่า เพราะ Chick-fil-A ทำการเปิด 1 สาขาในพื้นที่ แต่จะมีร้าน McDonald’s หรือ Starbucks ทุกๆ 6 แห่งในพื้นที่ และ Subway ทุกๆ 10 แห่งในพื้นที่ ด้วยจำนวนร้านค้าที่น้อยลงของ Chick-fil-A แต่ละพื้นที่จึงทำให้ร้านมีเมนูที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้มาใช้บริการ

สำหรับคนที่เปิดร้านอาหารแฟรนไชส์ (โดยเฉพาะฟาสต์ฟู้ด) ในสหรัฐอเมริกา ไม่ควรคาดหวังรายได้ที่ยั่งยืนจากการจดจำแบรนด์และชื่อเสียง แต่ควรตระหนักถึงส่วนแบ่งการตลาด และรู้ว่าร้านอื่นที่มีชื่อและมีเมนูเดียวกันอยู่ใกล้กันแค่ไหน

วิธีแก้ปัญหา

ก่อนซื้อแฟรนไชส์ ควรศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจด้วยว่า จะมีความโดดเด่นในด้านไหนที่แตกต่างจากคู่แข่งในพื้นที่เดียวกันได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเมนู ความหลากหลายสินค้า รสชาติ การให้บริการ เป็นต้น

นั่นคือ 7 ปัญหาที่มักเกิดขึ้นในระบบแฟรนไชส์ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับฝั่งผู้ซื้อแฟรนไชส์ หรือแฟรนไชส์ซี


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. ระยะเวลาในการให้สิทธิแฟรนไชส์ยาวนาน
  2. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นสูง
  3. ควบคุมมาตรฐานแบรนด์ได้น้อยลง
  4. มีอำนาจในการตัดสินใจไม่มากนัก
  5. กฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละสถานที่
  6. อัตราการลาออกของพนักงานสูง
  7. คู่แข่งและการอิ่มตัวของตลาดแฟรนไชส์เดียวกัน

ข้อมูลจาก https://bit.ly/3ua1kFB

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3AlS4ls

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช