ปัจจัยทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ล้มเหลว

แม้ว่า ระบบแฟรนไชส์ จะเป็นทางลัดในการทำธุรกิจ ช่วยให้เจ้าของธุรกิจขยายธุรกิจได้เร็วขึ้น รวมถึงช่วยให้คนอยากเริ่มต้นธุรกิจใหม่ประสบความสำเร็จได้ง่าย เจ้าของแฟรนไชส์ไม่ต้องเสียเงินลงทุนขยายสาขาด้วยตัวเอง ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้แบรนด์ธุรกิจที่ได้รับการยอมรับ ไม่ต้องทำการตลาด ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วสามารถทำธุรกิจได้ทันที

แต่ระบบแฟรนไชส์ ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป หลายๆ แบรนด์แฟรนไชส์ต่างล้มเหลวมามากเช่นเดียวกัน ทั้งปัญหามาจากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ จึงทำให้ระบบแฟรนไชส์นั้นล้มเหลวไปไม่ประสบความสำเร็จ

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอ ปัจจัยทำให้ การสร้างความล้มเหลวให้กับธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ โดยเจ้าของธุรกิจขายแฟรนไชส์ไปแล้วธุรกิจไม่โต ขณะที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์บริหารธุรกิจไม่สำเร็จ มาดูพร้อมๆ กันเลยครับ

แฟรนไชส์ซอร์

ปัจจัยทำให้

1.แฟรนไชส์ซอร์ไม่เคยทดลองระบบก่อนขายแฟรนไชส์

เจ้าของธุรกิจหลายๆ คน พอสินค้าและบริการของตัวเองได้รับความนิยม ขายดิบขายดี จนกระทั่งมีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์ก็อยากขาย พอขายไปไม่มีการวางระบบการถ่ายทอดอะไร ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง ระบบบัญชี การสต็อก การจัดส่ง เป็นต้น สุดท้ายผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปปิดก็เหมือนเป็นการลองถูกลองผิดด้วยตัวเอง ในที่สุดก็ไปไม่รอด

2.แฟรนไชส์ซอร์ขาดเงินทุนสนับสนุนงานแฟรนไชส์

อาจเป็นเพราะแฟรนไชส์เหล่านี้เป็นการขายขาด เก็บเพียงแค่ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ไม่เก็บเปอร์เซ็นต์รายเดือน ทำให้ไม่มีเงินไปสนับสนุนด้านการทำตลาด การสร้างแบรนด์ รวมถึงการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีให้เติบโต

3.แฟรนไชส์ซอร์เร่งรีบขายแฟรนไชส์เร็วเกินไป

ไม่ว่าจะเป็นการขายแฟรนไชส์เร็วเกินไป ทั้งที่ธุรกิจก่อตั้งได้ไม่นาน ไม่มีสาขาต้นแบบ ไม่มีความรู้เรื่องการทำแฟรนไชส์ รวมถึงการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่ไม่มีคุณภาพ มองเพียงแค่ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีเงินลงทุนจึงขายแฟรนไชส์ให้เพราะเห็นก้อนกองอยู่หน้า

14

4.แฟรนไชส์ซอร์ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อแฟรนไชส์ซี

จัดส่งสินค้าและวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี เพื่อต้องการรายได้ และลดต้นทุนให้ถูกลง หรือนำเงินที่ได้จากค่า Royalty Fee ไปใช้ในส่วนของตัวเอง ไม่แนะนำแนวทางการทำธุรกิจที่ถูกต้อง

5.แฟรนไชส์ซอร์ไม่สนับสนุนแฟรนไชส์ซีต่อเนื่อง

อาจเกิดจาดการขาดเงินทุนหมุนเวียน นำเงินไปใช้ในทางที่ผิด แทนที่จะเอาไปสนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จด้วยกัน หรือพอขายแฟรนไชส์ได้มากๆ ก็ดูแลไม่ทั่วถึง เพราะไม่มีความพร้อมด้านทีมงานคอยช่วยเหลือและอื่นๆ

6.หลอกลวงนักลงทุนว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์

มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่แอบอ้างคำว่าแฟรนไชส์ไปใช้ในทางไม่ถูก ทำให้คนร่วมลงทุนด้วย ก็ต้องพบกับความล้มเหลว จ่ายเงินไปแล้วไม่มีธุรกิจจริง ไม่มีร้านต้นแบบใดๆ หรือหลอกลวงว่าแฟรนไชส์ของตัวเองมีมาตรฐาน ทำให้ คนซื้อแฟรนไชส์เชื่อ ซึ่งตรงนี้เป็นลักษณะของธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ที่แอบอ้างว่าเป็นธุรกิจแฟรนไชส์

แฟรนไชส์ซี

15

1.ไม่ดำเนินธุรกิจตามระบบที่ได้รับการถ่ายทอด

การซื้อแฟรนไชส์เป็นการทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการขายการทำงานทุกๆ อย่าง เพราะแฟรนไชส์เป็นการซื้อสูตรสำเร็จของธุรกิจนั้นๆ มา ต้องทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ถ่ายทอดให้

2.ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์

ถือเป็นปัจจัยสำคัญเพราะการซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ ถ้าอยากประสบความสำเร็จ แฟรนไชส์ซีจะต้องทำตามคำแนะนำของแฟรนไชส์ซอร์ทุกอย่าง เพราะบางครั้งแฟรนไชส์ซอร์จะคอยแนะนำช่องทาการขายใหม่ๆ แต่ละช่วงเทศกาล รวมถึงการกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อสร้างรายได้ในระยะยาว

3.แฟรนไชส์ซีไม่เหมาะกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่ซื้อมา

อาจมองว่าแฟรนไชส์นั้นๆ กระแสมาแรง จึงคิดว่าซื้อมาแล้วจะประสบความสำเร็จ ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ชอบธุรกิจนั้นเลย พอทำไปได้สักพักก็เบื่อ เมื่อรู้สึกเบื่อก็อาจจะให้คนอื่นหรือลูกน้องดูแลธุรกิจแทน ปล่อยทิ้งขว้าง สุดท้ายก็ไปไม่รอด หรืออาจโดนโกง

13

4.ไม่มีวินัยทางการเงิน ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

ไม่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และไม่ทำบัญชีแยกออกจากเงินส่วนตัว หรือนำเงินรายได้จากธุรกิจไปใช้อย่างอื่นโดยไม่จำเป็น ทำให้เงินที่ได้จากการขายหมดไปเรื่อยๆ ไม่มีเงินเก็บ ไม่มีเงินซื้อวัตถุดิบ ขาดเงินทุนหมุนเวียน สุดท้ายก็ต้องปิดร้าน

5.ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการหล่อเลี้ยงธุรกิจ

ผู้ซื้อแฟรนไชส์นอกจากจะต้องปฏิบัติตามระบบแฟรนไชส์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากแฟรนไชส์ซอร์แล้ว ในช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจจะต้องเตรียมเงินทุนสำรองหรือเงินทุนหมุนเวียนไว้อย่างน้อย 5-6 เดือน เพื่อใช้ในการซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างพนักงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็นภายในร้าน เพราะกว่าธุรกิจจะมียอดขายและทำกำไรได้อย่างคงที่อาจต้องใช้เวลาสักพัก

6.แฟรนไชส์ซีไม่กระตือรือร้นและทุ่มเทในการทำธุรกิจ

คุณสมบัติที่สำคัญของผู้ซื้อแฟรนไชส์ ก็คือ ความกระตือรือร้นและทุ่มเท ตั้งใจทำธุรกิจ ไม่ใช่ซื้อแฟรนไชส์มาแล้วขี้เกียจทำ ให้คนอื่นทำแทน จงคิดว่าแฟรนไชส์ที่ซื้อมาจะต้องทุ่มเททำให้ประสบความสำเร็จเหมือนธุรกิจที่ตัวเองสร้างขึ้นมา อาจจะใช้วิธีการโทรปรึกษาแฟรนไชส์ซสอร์ในเรื่องการขาย กาจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอดขาย เป็นต้น

12

หวังว่าปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่ความล้มเหลวในธุรกิจแฟรนไชส์ข้างต้น น่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซอร์) และผู้ซื้อแฟรนไชส์ (แฟรนไชส์ซี) เชื่อว่าถ้าหากเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ และผู้ซื้อแฟรนไชส์ สามารถบริหารธุรกิจและทำตามข้อปฏิบัติข้างต้น

รวมถึงการช่วยเหลือกันและกันของทั้ง 2 ฝ่าย มีความซื่อสัตย์ต่อกัน น่าจะช่วยให้ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์อันเดียวกัน ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3c7wSQz

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช