ปัจจัยทำเศรษฐกิจไทยตกต่ำ

ก่อนการระบาดของโควิด-19 เศรษฐกิจไทย อยู่ในภาวะชะลอตัว โดยมาจากปัจจัยภายในประเทศ อาทิ ความไม่แน่นอนทางการเมือง จนทำให้งบประมาณประจำปี 2563 ล่าช้า ปัญหาภาวะภัยแล้ง รวมทั้งปัจจัยภายนอก

เช่น สงครามทางการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่งผลให้ไทยได้รับผลกระทบในด้านการส่งออก แล้วมีปัจจัยอะไรบ้าง ทำให้เศรษฐกิจไทยตกต่ำจนถึงขั้นติดลบ  วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

ต้องยอมรับว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2563 มีการเติบโตต่ำกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 อย่างแน่นอน โดยมีปัจจัยฉุดรั้งสำคัญ นั่นคือ การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์, ปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือนภาคเกษตร, พ.ร.บ.งบประมาณฯ ที่ล่าช้า ทำให้เกิดความล่าช้าในการลงทุนโครงการของภาครัฐ รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมือง ที่เกิดการชุมนุมประท้วง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น

ปัจจัยทำ

ภาพจาก bit.ly/2E58TGC

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานาน อาทิ ความสามารถในการแข่งขันภาคการส่งออก ปัญหาความเหลื่อมล้ำและการกระจายรายได้ของภาคครัวเรือน รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือน ซึ่งล้วนเกี่ยวพันและผูกโยงกัน

สำหรับภาคการท่องเที่ยวนั้น แม้ว่าจะมีขนาดเล็กในระบบเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับภาคการส่งออก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาภาคการท่องเที่ยว มีส่วนสำคัญในการช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยไว้ได้ เมื่อเครื่องยนต์หลักของประเทศขัดข้อง

แต่หากการระบาดโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย หรือลากยาวไปจนถึงกลางปี 2564 หรือประเทศต่างๆ ทั่วโลกยังระบาดรุนแรงอยู่ แน่นอนว่าอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวไทยตายสนิท หลายๆ ธุรกิจต้องปิดกิจการ คนตกงานหลายล้านคน ดังนั้น ความท้าทายของการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวในครั้งนี้ จึงขึ้นอยู่กับว่าโรคระบาดโควิด-19 จะยืดเยื้อเพียงใด

11

ภาพจาก bit.ly/32AbxOc

ส่วนการลงทุนของภาครัฐและเอกชน ต้องเจออุปสรรคจาก พ.ร.บ. งบประมาณฯ ล่าช้า ส่งผลให้การลงทุนของภาครัฐที่เป็นโครงการใหม่ๆ ต้องเลื่อนออกไป บั่นทอนความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ จนทำให้ภาคเอกชนบางส่วนชะลอการลงทุนออกไปก่อน เนื่องจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ถือเป็นความหวังสำคัญฉุดเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นกลับคืนมา

นอกจากนี้ วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย และ แดทเทล ได้ร่วมกันเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทย ในการซื้อสินค้าและบริการประเภทต่างๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

จากข้อมูลการสำรวจพบว่า คนไทยส่วนใหญ่คิดเป็น 3 ใน 4 เชื่อว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะคนไทยกว่า 46% มีความกังวลว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเป็นเวลานานจากโควิด-19 ส่วนอีก 40% เชื่อว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ แต่จะฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วหลังจบโควิด-19 ถือว่าเป็นอัตราความกังวลที่สูงที่สุดในเอเชีย นี่อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญทำให้เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะตกต่ำ เนื่องจากผู้บริโภคไม่กล้าจับจ่ายใช้สอยมากนัก ให้กำลังซื้อลดลง

10

ภาพจาก bit.ly/3iztSk0

ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤติ ด้วยการให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือสถาบันการเงิน เพื่อจะช่วยให้ประชาชนสามารถผ่านพ้นได้ และรัฐบาลควรเตรียมแผนการลงทุนใหม่ๆ เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างงาน หากว่าวิกฤติโควิด-19 ผ่านพ้นไป รวมถึงช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

สรุป ปัจจัยทำ เศรษฐกิจไทยตกต่ำ ก็คือ การระบาดของโควิด-19, ปัญหาภัยแล้ง, พ.ร.บ.งบประมาณฯ ล่าช้า รวมถึงปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมือง ที่เกิดการชุมนุมประท้วง ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2RvLwJw

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช