ปลูก มะระขาย ทำเงิน 5 แสนในระยะเวลา 4 เดือน

สมัยนี้ถ้าใครมองเรื่องเกษตรว่าเป็นเรื่องล้าหลังคงต้องเปลี่ยนความคิดกันใหม่เพราะปัจจุบันคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยทีเดียวที่หันมาเอาดีทางด้านการเพาะ ปลูก

แต่เกษตรสมัยใหม่ก็ต้องใช้เรื่องของเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยรวมถึงเรื่องการตลาดที่ไม่สามารถทำในมิติเดียวได้อีกต่อไปเกษตรยุคใหม่จึงต้องผสมผสานความรู้สมัยเก่ากับวิทยาการสมัยใหม่เพื่อให้เดินหน้าธุรกิจเกษตรได้อย่างเป็นระบบ

ปลูก

การเลือกพืชสำหรับการปลูกก็เป็นปัจจัยสำคัญพืชอะไรก็ได้ที่ตลาดมีความต้องการพืชอะไรก็ได้ที่มีปริมาณการใช้ค่อนข้างสูงแต่หลายคนก็ยังมองไม่ออกว่าพืชที่ว่านี้จะมีอะไรบ้าง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีมานำเสนอให้ทุกท่านต้องร้องว้าว!กับพืชผักใกล้ตัวอย่าง “มะระ”ที่ไม่น่าเชื่อว่าเห็นอยู่แทบทุกวันบางคนชอบกินด้วยซ้ำแต่ไม่รู้สักนิดว่ามีศักยภาพในการสร้างรายได้ถึงขนาดนี้

uu4

ข้อดีของมะระคือเก็บผลผลิตได้นานหลายครั้ง

ข้อดีของการปลูกมะระเมื่อเปรียบเทียบกับผักชนิดอื่นๆคือลดความเสี่ยงในเรื่องราคาโดยเฉพาะพวก”ผักใบ”ที่มีการตัดเก็บครั้งเดียวถ้าราคาดีก็ได้มากแต่ถ้าโดนช่วงราคาตกต่ำก็ทุนหายกำไรหดได้เหมือนกันแต่จุดเด่นของมะระคือสามารถเก็บผลผลิตได้นานหลายครั้งกระจายความเสี่ยงในเรื่องราคาด้วยระยะเวลาการขายที่มากกว่าผักใบชนิดอื่นโดยปกติแล้วมะระจะแพงช่วงฤดูแล้งประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคมและเก็บเกี่ยวผลผลิตเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงนี้การทำมะระจะน้อยเพราะมีความเสี่ยงมาก

เนื่องจากมะระจะไม่ค่อยโตแคระแกร็นเพลี้ยไรไวรัสจะระบาดหนักแต่ถ้าทำได้ก็คือราคาดีมากอีกช่วงหนึ่งที่มะระราคาแพงแต่ทำยากคือปลายฝนต้นหนาวที่จะมีปัญหายอดไม่ค่อยเดินเถามักจะเหลืองเสี่ยงต่อไวรัสและเพลี้ยไฟ เก็บผลผลิตได้ไม่นาน ถ้าช่วงนี้ทำได้ก็มีโอกาสที่จะโกยราคาสูงๆได้เช่นกัน

uu3

ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการปลูก

1.ทำค้าง…… “มะระ”เป็นพืชที่ต้องมีการทำ “ค้าง” จึงต้องมีการใช้ “ไม้รวก” 1 มัด มี 10 ลำ ราคามัดละ 60 บาทถ้าพื้นที่ปลูกมีเกิน 10 ไร่ก็ต้องใช้ไม้รวกประมาณ 500 มัด เป็นเงินประมาณ 30,000 บาท

2.ตาข่ายและเชือกขึงตาข่ายราคาผืนละ 100 บาทใช้ประมาณ 100 ผืนมีต้นทุนประมาณ 10,000 บาท ส่วนเชือกซื้อแบบเป็นกิโลในราคา 65 บ./กก.ใช้เชือกในการขึงตึงเพื่อความแข็งแรงประมาณ 150 กก.เป็นเงินประมาณ 10,000 บาท

uu5

ต้นทุนเมล็ดพันธุ์

ใช้เป็นมะระจีนพันธุ์ผสมเบอร์16ราคา 1,150 บาท/กระป๋อง ในแต่ละร่องใช้เมล็ดพันธุ์ 350 เมล็ด ขึ้นอยู่กับว่าในพื้นที่ปลูกจะมีทั้งหมดกี่ร่อง

การบำรุงดูแลด้วยการใช้สารเคมี ปุ๋ย และฮอร์โมนต่างๆ

แบ่งออกเป็นหลายช่วงตามการเจริญเติบโตเริ่มตั้งแต่การปรับปรุงดินเพื่อเตรียมหยอดเมล็ดมีการใช้ปุ๋ยคอกก่อนที่จะไถกลบในช่วงหยอดเมล็ดลงแปลงแล้วก็เริ่มมีการให้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโตการใช้สารเคมีในการป้องกันโรคและแมลงเมื่ออายุของต้นมะระโตขึ้นสัดส่วนการใช้ก็มีปริมาณมากขึ้นรวมถึงต้องมีการเปลี่ยนสูตรให้เข้ากับภาวะการเจริญเติบโตด้วย

uu6

ลำดับขั้นการปลูก“มะระ” ก่อนตัดจำหน่ายมีวิธีการดังนี้

  1. การเพาะกล้าลงในวัสดุปลูกพอเริ่มเห็นใบแตกออกมา2ใบจึงเอาไปลงแปลงปลูกทันทีใช้เวลาช่วงนี้ประมาณ 10 วัน
  2. หลังลงแปลงประมาณ1อาทิตย์ให้ปุ๋ยทุก7วัน รวมถึงมีการใช้ฮอร์โมนเพื่อให้ต้นเติบโตเร็วขึ้นด้วย
  3. หลังจากปลูกแล้ว50-60วันจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งแรกได้หรือที่ชาวสวนนิยมเรียกกันว่า“มีดแรก”

uu7

ดูแลดีๆอาจจะเก็บเกี่ยวได้ถึง 20 ครั้งผลผลิตมากกว่า 5-6 ตัน

หลังจากเก็บเกี่ยวรอบแรกก็จะสามารถเก็บไปได้เรื่อยๆอีกประมาณ2เดือนถึงจะครบรอบความถี่ในการเก็บครั้งที่1-4จะใช้เวลา2วัน/ครั้งการจะเก็บเกี่ยวได้ทั้งหมดกี่ครั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลของชาวสวนอาจจะได้มากถึง 20ครั้ง ปริมาณโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 5-6 ตัน การจำหน่ายก็จะคัดแยกมะระออกตามขนาดเรียกกันเป็นหน้าเช่น หน้า 3 หน้า 4 หน้า 5

โดยใช้น้ำหนักของมะระเป็นเกณฑ์ในการแบ่งแยกขนาดราคาแต่ละขนาดก็จะแตกต่างกันไปหน้า 3 หน้า 4 ราคาถุงละ 100 บาท หน้า 5 ถุงละ 90 บาท แต่ถ้าช่วงไหนที่มะระออกสู่ตลาดได้น้อยราคาจำหน่ายก็จะแพงมากขึ้นกว่านี้อีกเป็นเท่าตัวทีเดียว

ซึ่งเมื่อคำนวณหักลบรายจ่ายและรายได้แล้ว ในระยะเวลาประมาณ4-5เดือน เกษตรกรจะมีกำไรไม่ต่ำกว่า 500,000 บาท ถือว่าสูงมากแต่ก็ต้องแลกมาด้วยความอดทนการดูแลเพราะเป็นงานที่ต้องอยู่กลางแจ้ง แต่ว่ารายได้ดีขนาดนี้ร้อนนิดร้อนหน่อยผมว่าก็คุ้มค่าดีนะ

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด