“ น้ำแข็ง ” ต้นทุนสำคัญที่ร้านอาหาร และร้านเครื่องดื่ม ต้องรู้!

น้ำแข็ง เป็นต้นทุนที่หลายคนมองข้ามโดยเฉพาะร้านอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งถ้าลองมาคำนวณดูดีๆ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าหลายคนตกใจทีเดียว ราคาน้ำแข็งที่ส่งตามร้านทั่วไป ประมาณ 45-60 บาท 1 กระสอบน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม คิดราคาเฉลี่ยคือ 50 บาท

ยกตัวอย่างร้านกาแฟ ใช้น้ำแข็งประมาณ 2 กระสอบต่อวัน ก็จะเท่ากับวันละ 100 บาท 1 เดือนเท่ากับ 100 x 30 = 3,000 บาท ใน 1 ปี ต้นทุนค่าน้ำแข็งเท่ากับ 36,500 บาท และถ้าเป็นร้านอาหารหรือร้านขนาดใหญ่ปริมาณน้ำแข็งที่ใช้ก็ยิ่งมากกว่านี้ต้นทุนตรงนี้ก็ยิ่งสูงขึ้นอีกด้วย แต่ความน่าสนใจไม่ได้แค่เรื่องต้นทุนเท่านั้น ซึ่งแท้ที่จริงน้ำแข็งก้อนเย็นๆที่เราเห็น มันก็มีอยู่หลายประเภท วิธีจะลดต้นทุนให้เราได้ทางหนึ่งคือการเลือกใช้น้ำแข็งให้เหมาะกับธุรกิจของเรา ดังนี้

น้ำแข็งที่แบ่งตามวิธีการผลิต

น้ำแข็ง

ภาพจาก https://bit.ly/3gKnmHB

1.น้ำแข็งชนิดซอง เป็นน้ำแข็งที่ผลิตโดยวิธีการแช่แข็งในบ่อน้ำเกลือ มี 2 ชนิด คือ

  • น้ำแข็งที่รับประทานได้ จะต้องใช้น้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพ แล้วนำไปผลิตเป็นน้ำแข็งก้อนใหญ่ จะมีขั้นตอนการเป่าลมเพื่อให้น้ำแข็งทั้งก้อนใส
  • น้ำแข็งที่รับประทานไม่ได้ นิยมใช้ในทางการประมงเพื่อแช่อาหารทะเล แต่กรรมวิธีจะไม่มีขั้นตอนการเป่าลม ทำให้ก้อนน้ำแข็งมีสีขาวขุ่น

2.น้ำแข็งชนิดก้อนเล็ก เป็นน้ำแข็งที่ทำด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นก้อน, หลอด หรือเกล็ด โดยทั่วไปมักจะเรียกว่า น้ำแข็งหลอด ซึ่งจะนำน้ำที่ผ่านขั้นตอนการปรับคุณภาพแล้ว เข้าเครื่องทำน้ำแข็งอัตโนมัติ

ทีนี้ถ้ามาแยกย่อยลงไปอีกจะพบว่ามีน้ำแข็งหลายประเภท ที่การใช้งานก็แตกต่างกันได้เริ่มจาก

1.น้ำแข็งสี่เหลี่ยม (Cube)

4

ภาพจาก https://bit.ly/3HUMKGA

มีให้เลือก 2 รูปแบบ คือ Full Cubes และ Half Cubes มีคุณสมบัติการละลายช้ากว่าน้ำแข็งประเภทอื่นๆ เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง สามารถรักษาอุณหภูมิความเย็นไว้ได้นาน เหมาะสำหรับเครื่องดื่มที่ไม่ต้องการให้น้ำแข็งทำลายรสชาติของเครื่องดื่ม ธุรกิจที่เหมาะจะใช้น้ำแข็งประเภทนี้คือร้านขายเครื่องดื่ม, ร้านขนม, ร้านอาหารทั่วไป

2.น้ำแข็งเกล็ดกรอบ (Nugget)

3

ภาพจาก https://bit.ly/3gK3uEC

เป็นน้ำแข็งที่เรามักเห็นในร้านสะดวกซื้อทั่วไปมีขนาดเล็ก ไม่แข็งมาก ถือว่าเป็นน้ำแข็งที่เคี้ยวง่ายที่สุดแต่จะมีการละลายที่ค่อนข้างเร็ว จึงเหมาะใช้กับเครื่องดื่มทุกชนิด เช่น น้ำอัดลม, น้ำหวาน, ชา, กาแฟ รวมถึงในร้านอาหารที่ต้องการให้เครื่องดื่มมีอุณหภูมิที่เย็นเร็ว

3.น้ำแข็งถ้วย (Gourmet)

2

ภาพจาก https://bit.ly/3gMmliA

ลักษณะเป็นถ้วยรูปทรงกระบอกขนาด 2 ซม. ลักษณะคล้ายๆ หมวก มีรูปทรงและขนาดที่แน่นอน เพราะผลิตจากบล็อคน้ำแข็งที่ได้มาตรฐาน ไม่มีรูตรงกลางเหมือนน้ำแข็งทั่วไป จึงเป็นคุณสมบัติพิเศษทำให้น้ำแข็งละลายช้า ไม่ทำให้รสชาติของเครื่องดื่มเปลี่ยน เหมาะสำหรับเครื่องดื่มระดับพรีเมี่ยมเช่นวิสกี้ , บรั่นดี เป็นต้น ธุรกิจที่เหมาะจะใช้น้ำแข็งประเภทนี้คือภัตตาคารและร้านอาหารในโรงแรมต่างๆ

4.น้ำแข็งแผ่น (Flake)

1

ภาพจาก https://bit.ly/3uRlrcA

มีความหนาแน่นของน้ำประมาณ 70% ให้ความเย็นเร็ว แต่มีอณูไม่หนาแน่น จึงละลายได้เร็วในต่างประเทศ ไม่นิยมนำมาบริโภค แต่จะใช้แช่อาหารสดมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นการจัดโชว์หน้าร้าน หรือแช่อาหารทะเลอยู่ตามไลน์บุฟเฟ่ต์ ดังนั้นน้ำแข็งประเภทนี้จึงมีไว้แช่ของสด อาหารทะเล เนื้อสัตว์ผลไม้ ธุรกิจที่เหมาะจะใช้คือร้านอาหารบุฟเฟ่ต์, ร้านอาหารทะเล, ตลาดสด เป็นต้น

เรื่องเล็กๆ อย่าง “น้ำแข็ง” แต่หากไม่ศึกษาให้ดีการทำธุรกิจเองก็อาจจะต้องมาเสียต้นทุนกับสิ่งเหล่านี้โดยไม่จำเป็น ดังนั้นควรเลือกใช้น้ำแข็งให้เหมาะสมกับสินค้าธุรกิจตัวเอง จะได้ไม่ต้องแบกต้นทุนที่มากเกินไปและที่สำคัญน้ำแข็งมีค่าเสื่อมสภาพที่เร็วมาก จึงต้องบริหารจัดการให้ดี ไม่เช่นนั้นต้นทุนที่ใช้จะบานปลายได้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3uInEqD , https://bit.ly/3HI1Tek , https://bit.ly/3LtEoYX

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BsgsAs

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด