ธุรกิจ อาหารคลีนฟู้ด (Clean Food) การกินเพื่อสุขภาพ รูปแบบอาชีพยุคใหม่ที่เติบโตเร็วมาก

เทรนด์ของสุขภาพถือเป็น ธุรกิจ ที่คาดการณ์ว่าจะมาแรงติด 1 ใน 5 ธุรกิจ ที่น่าลงทุนประจำปี 2559 เหตุผลก็คือสมัยนี้คนเราหันมามองเรื่องสุขภาพตัวเองมากขึ้นพูดง่ายๆก็คือรู้จักการกินให้ถูกวิธีมากขึ้นไม่ใช่อะไรก็ได้ที่กินแล้วอิ่มกินแล้วอร่อย

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดไอเดียน่าสนใจเกี่ยวกับอาหารแบบ Clean Food โดยใช้การจัดส่งแบบ delivery เอาใจหนุ่มสาวออฟฟิศที่ทำงานวุ่นวายจนไม่มีเวลารับประทานอาหารแต่อยากได้สุขภาพที่แข็งแรงไปพร้อมๆกันด้วยแม้ว่าอาหาร Clean Food จะเริ่มมาเปิดตัวในเมืองไทยได้แค่ 2-3 ปีที่ผ่านมา

ธุรกิจ

แต่ทีมงาน www.ThaiSMEsCenter.com พบข้อมูลการสำรวจธุรกิจอาหารประเภทนี้ว่ามีมูลค่าในตลาดมากกว่า8,000-10,000 ล้านบาท ถือเป็นตลาดที่เติบโตสูงตามข้อมูลของภาคธุรกิจเอกชนที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ตลาดใหญ่นอกจากหนุ่มสาวออฟฟิศ ก็ยังมีฟิตเนสที่เป็นฐานลูกค้าสำคัญของธุรกิจประเภทนี้

อยากทำธุรกิจอาหาร Clean Food ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

hh46

การเริ่มต้นทำธุรกิจอาหารคลีนนั้นก่อนอื่นต้องหาสูตรในการคำนวณแคลลอรี่ ซึ่ง ในอินเตอร์เน็ตมีให้อยู่แล้ว การทำอาหารคลีนก็ไม่อยากสูตรอาหารปรกติต่างๆเราสามารถปรับให้เป็นอาหารคลีนได้เพียงแค่เปลี่ยนส่วนประกอบบางอย่าง และ วัตถุดิบบางชนิดเท่านั้นก็กลายเป็นอาหารคลีนได้แล้ว เช่น ข้าวขาว เปลี่ยนเป็นข้าวไรเบอร์รี่ หรือ ข้าวกล้อง เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผัก และ ผลไม้

หลักในการปรุงส่วนใหญ่ที่จำหน่ายกันนั้น จะเน้นที่วัตถุดิบเพื่อสุขภาพ ไม่มีวัตถุดิบพวกหมักดอง หรือ ขัดขาว เช่นน้ำตาลทรายขาว ข้าวขาว อาหารต่างไร้ไขมัน แต่มีน้ำมันประกอบอาหารในจำนวนน้อยและใช้น้ำมันพืชที่ดีเช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวันและปรุงรสให้กลมกล่อมแบบกลางๆมากกว่าการเน้นรสจัดและต้องครบห้าหมู่

hh47

 

เมนูหลากหลายที่เราสามารถดัดแปลงเป็นอาหารคลีนนั้นหลากหลาย การจัดแพคบรรจุกล่องให้ดูน่าทาน จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้อาหารคลีนของเราได้ ก่อนอื่นต้องหัดทำให้คล่องก่อน คำนวณต้นทุนว่าหนึ่งกล่องใช้วัตถุดิบเท่าไหร่ ต้นทุนเท่าไหร่ ควรจะขายเท่าไหร่และบวกค่าแรงในการทำเข้าไปด้วยและแน่นอนว่าช่องทางขายสำหรับอาหารคลีนนั้นยังเปิดกว้างอยู่และส่วนใหญ่จะเดลิเวอรี่ราคาต่อกล่องนั้นเริ่มจาก45-80 บาทหรือถ้าเราใช้วัตถุดิบที่หาง่ายและปลอดสารพิษในราคาที่ไม่แพงก็จะสามารถทำขายในราคาที่ถูกได้

การสร้างความน่าเชื่อถือในธุรกิจอาหารคลีนฟู้ด

hh48

แน่นอนว่าลูกค้าต้องมองที่วัตถุดิบเป็นอย่างแรก ต่อมาคือปริมาณต่อกล่องที่คุณเองน่าจะต้องหาความรู้ในเรื่องหลักการทางโภชนาการหรือวิทยาศาสตร์อาหาร (FoodSience) มาเป็นองค์ประกอบในการให้ความรู้แก่ผู้บริโภค อาจจะเพิ่มเติมด้วยคุณค่าทางสารอาหารเขียนติดไว้ข้างกล่องว่าอาหารชนิดนี้มีปริมาณสารอาหารเท่าไหร่และอะไรบ้าง นอกจากนี้อาจมีการพรีเซนต์ในหลากหลายรูปแบบ เช่นวิธีการทำ ลักษณะห้องครัว เพื่อให้คนจดจำความเป็นสินค้าคลีนฟู้ดที่เราต้องการนำเสนอ

ดูเหมือนจะขายได้ง่ายๆแต่ต้องรู้จักตลาดว่าจะขายที่ไหนได้บ้าง

hh49

ใครที่คิดจะเข้าสู่ธุรกิจนี้ให้มองหาช่องทางตลาดไว้ก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าไม่รู้จะเริ่มจาก

1. Facebook ก่อนเป็นอันดับแรก ช่องทางนี้อาจจะยอดนิยมที่สุดแต่สิ่งสำคัญคือควรมีการอัพเดทข้อมูลใหม่และให้ความรู้เรื่องสุขภาพควบคู่ไปด้วยอย่ามัวแต่อัพเดทรูปอาหารอย่างเดียวจะกลายเป็นข้อเสียสำคัญได้

2. พื้นที่ใกล้บ้าน จะง่ายมากหากว่าคุณอยู่ในหมู่บ้านใหญ่ หรืออยู่ในเขตชุมชนยิ่งมีออฟฟิศแถวนั้นมากๆยิ่งดี อาจจะเริ่มที่การทำใบปลิวไปแจกหรืออาจจะใช้ระบบผูกปิ่นโตร่วมด้วยก็ได้ ถ้ายังไม่แน่ใจอาจทำป้ายติดไว้หน้าบ้านเพื่อบอกให้ทุกคนรู้ว่าเรามีอาหารคลีน

3. ขายเพื่อนหรือญาติ นี่เป็นช่องทางแบบง่ายอาศัยญาติพี่น้องให้เป็นคนบอกต่อเพื่อนฝูงกันอีกที ช่วงแรกอาจจะยังหวังผลเรื่องกำไรไม่ได้ ขอแค่ให้คนรู้จักและรู้ว่ารสชาติอาหารเราเป็นอย่างไร วิธีนี้ลงทุนน้อยสุด ง่ายสุดแต่อาจใช้เวลานานสักหน่อยกว่าจะติดตลาด

hh52
นอกจากนี้เราอาจจะต้องตีสนิทกับรถรับจ้างหรือวินมอเตอร์ไซด์ไว้บ้าง เพื่อให้ลูกค้าที่อาจอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5-10 กิโลเมตร ได้รับสินค้าของเราอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่เคยพูดคุยติดต่อไว้ถึงเวลาส่งของกันจริงๆอาจมีปัญหาคิวไม่ว่าง อาหารก็ส่งไม่ได้ กลายเป็นผลเสียกับธุรกิจของเราทันที

เหนือสิ่งอื่นใดการฝึกฝีมือในการทำอาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าจะให้ดีงานนี้มีลูกมือมาช่วยด้วยก็คงจะทำให้งานราบรื่นและสะดวกมากขึ้น แม้ธุรกิจนี้จะทำเองได้ง่ายๆที่บ้านแต่องค์ประกอบก็มีหลายอย่าง ถ้าคิดจะลงมือรายละเอียดเล็กๆน้อยก็ควรศึกษา เพราะตลาดแนวนี้ยังเติบโตได้อีกมากถ้าเริ่มได้ตอนนี้อนาคตมีสิทธิ์ไปไกลทีเดียว

hh53
ขอบคุณรูปภาพจาก : กู๊ด กรีน คลีน ฟู้ด 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด