ธุรกิจแฟรนไชส์ ต้องทำ Pilot Project หรือไม่

องค์ประกอบอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้ระบบ ธุรกิจแฟรนไชส์ อยู่รอดและประสบความสำเร็จ เติบโตได้อย่างมั่นคงทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี คือ การสร้างร้านต้นแบบ หรือ Pilot Project เพราะจะช่วยในเรื่องของการวางรูปแบบบริหารจัดการเพื่อสร้างมาตรฐานการทำงานของระบบแฟรนไชส์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ได้คุณภาพสินค้า การบริการ และการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเหมือนกันทุกร้าน

Pilot Project

รวมถึงร้านต้นแบบจะเป็นกรณีศึกษา เป็นครูชี้นำทาง เป็นร้านตัวอย่างที่จะทำให้คุณทราบถึงข้อดี ข้อเสีย ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น หากต้องขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลที่น่าสนใจของการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ว่าทำไมเจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องทำ Pilot Project ก่อนที่จะขายแฟรนไชส์ พร้อมทั้งเทคนิคการทำ Pilot Project แบบง่ายๆ

ร้านต้นแบบมีประโยชน์อย่างไร

1.เป็นโมเดลธุรกิจ เมื่อคุณเริ่มเสนอขายแฟรนไชส์ให้กับแฟรนไชส์ซี ถ้าคุณมีร้านต้นแบบอยู่แล้วจะยิ่งช่วยให้คุณเจรจากับแฟรนไชส์ซีได้ผลเร็วยิ่งขึ้น เพราะร้านต้นแบบจะช่วยชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ให้กับแฟรนไชส์ซีแทนคุณเอง เพราะบางครั้งหากคุณพูดอย่างเดียวแต่ไม่ร้านโชว์ให้เขาได้เห็น ที่พอเป็นโมเดลได้ แฟรนไชส์ซีอาจไม่เชื่อคุณก็ได้

kk32
2.เป็นเครื่องมือพิสูจน์ระบบธุรกิจที่สร้างขึ้น ก่อนขายแฟรนไชส์คุณจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพิสูจน์ระบบแฟรนไชส์ที่คุณสร้างขึ้นมา ว่าใช้ได้หรือไม่ ถึงแม้ว่าคุณจะซื้อมาจากนอกที่มีระบบสมบูรณ์แบบแล้ว

แต่เมื่อมาถึงเมืองไทยที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน คุณจะต้องทดสอบดูเสียก่อนว่า ติดปัญหาตรงไหน เจออุปสรรคอะไร คู่มือแฟรนไชส์ที่เขียนขึ้นมา ระบบถ่ายทอดการอบรมจะใช้ได้ผลหรือไม่ ร้านต้นแบบจะเป็นตัวพิสูจน์ว่าที่คุณสอนทั้งเจ้าของ ผู้จัดการร้าน พนักงาน จะสามารถทำธุรกิจได้สำเร็จหรือไม่ มีกำไรเหมือนกับที่คุณทำหรือเปล่า

3.ช่วยให้แฟรนไชส์ซียินดีทำตามคำแนะนำ ถ้าคุณไม่มีร้านต้นแบบที่มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ชัดเจนและประสบความสำเร็จมาแล้ว เมื่อคุณขายแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซีไปแล้ว

เขาอาจจะไม่เชื่อในคำแนะนำการบริหารจัดการที่คุณได้วางรูปแบบเอาไว้ก็ได้ เพราะแฟรนไชส์ซีไม่ได้เห็นแบบอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าคุณมีร้านต้นแบบแน่นอนว่าระเบียบต่างๆ ที่ต้องการให้แฟรนไชส์ซีทำ น่าจะได้รับการยอมรับมากกว่า

kk34

4.สร้างความมั่นใจให้แฟรนไชส์ซอร์ เมื่อคุณผ่านร้านต้นแบบแฟรนไชส์ซีแห่งที่ 1 มาแล้ว ย่อมสร้างความมั่นใจให้กับคุณได้ไม่น้อย สามารถที่จะเปิดตัวขายแฟรนไชส์ให้กับรายอื่นอย่างเต็มที่

เพราะร้านต้นแบบจะพิสูจน์ได้ถึงตัวเลขที่ทำกำไรได้ในแต่ละเดือน มีระบบการอบรมที่ได้ผลสำเร็จ เมื่อแฟรนไชส์ซีเข้ามาเดินดูร้านต้นแบบ คุณก็สามารถตอบคำถามแฟรนไชส์ซีได้อย่างมั่นใจ ดังนั้น ร้านต้นแบบจะเป็นครูที่แท้จริงให้กับคุณ ก่อนที่คุณจะขายแฟรนไชส์ออกไป

kk36

เทคนิคการทำ Pilot Project

1.กำหนดวัตถุประสงค์ มีความสำคัญอย่างยิ่งก่อนทำร้านต้นแบบ คุณต้องมีร่างวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของการทำร้านต้นแบบให้ตรงกับความต้องการของธุรกิจอย่างถูกต้อง เช่น ธุรกิจร้านอาหาร ต้องระบุว่าเป็นร้านอาหารประเภทไหน ตั้งอยู่ทำเลอะไร ใครเป็นลูกค้า ชนิดของอาหาร รวมทั้งเอกลักษณ์ของอาหารจะเป็นแบบไหนด้วย สามารถเขียนง่ายๆ สั้นๆ

2.เลือกคนบริหารร้าน สิ่งที่ต้องกำหนดต่อไปคือ เลือกคนมาบริหารร้านต้นแบบ เพราะจะทำให้โครงการมีความสมบูรณ์มากขึ้น คุณอาจจะคัดเลือกจากผู้บริหารในบริษัทมาเป็นผู้ดำเนินงานแล้วให้ลงทุนร่วมไม่เกิน 25% ก็ได้ หรือแบ่งเปอร์เซ็นต์จากผลกำไรให้นอกเหนือจากเงินเดือน วิธีนี้จะทำให้ Pilot Project แสดงภาพของแฟรนไชส์ซีได้ชัดเจนมากขึ้น

3.เอกลักษณ์หรือภาพลักษณ์ของร้าน มีความสำคัญตรงที่จะช่วยสร้างแรงดึงดูดจูงใจให้ลูกค้ามาใช้บริการได้มากขึ้น ร้านต้นแบบที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวจะได้เปรียบมาก สามารถสร้างพลังและแข่งขันกับคู่แข่งในพื้นที่เดียวกันได้อย่างสบาย เอกลักษณ์อาจจะมีตั้งแต่ป้าย โลโก้ การออกแบบตกแต่งร้าน สีของร้าน ชุดพนักงาน การบริการ เป็นต้น

kk38

4.ทำเลที่ตั้ง เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่จะบ่งบอกถึงความสำเร็จและล้มเหลวของธุรกิจแฟรนไชส์ ถ้าร้านต้นแบบของคุณตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่ดีก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ จะใช้ฝีมืออย่างเดียวคงจะสู้คู่แข่งที่มีร้านต้นแบบอยู่ในทำเลที่ดีกว่าไม่ได้ ซึ่งทำเลที่ตั้งอาจมีความสำคัญอันดับต้นๆ ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นธุรกิจ

โดยทำเลที่ตั้งที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าได้ดี คุณอาจจะมองไปที่ย่านคนพลุกพล่าน มีคนสัญจรผ่านไปมาต่อเนื่อง ห้างสรรพสินค้า แหล่งชุมชน เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทำเลที่ตั้งในแต่ละสถานที่อาจมีค่าเช่าแตกต่างกัน คุณต้องเลือกให้เหมาะกับธุรกิจคุณ ว่าหักค่าเช่าแล้วทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหน

5.ระบบการจัดการ ถือว่ามีความสำคัญในการสร้างร้านต้นแบบ ถ้าคุณมีกระบวนการและระบบการจัดการที่ดี มีมาตรฐาน ก็จะยิ่งทำให้ร้านต้นแบบของคุณประสบความสำเร็จสูง สามารถส่งต่อระบบไปยังร้านอื่นๆ ได้อย่างราบรื่น ซึ่งระบบการจัดการที่ดีอาจต้องควบคุมไปถึง การมีระบบการจัดสินค้าและบริการที่ดี มีระบบบัญชีที่สามารถรู้กำไร-ขาดทุน

สามารถทำงบดุลได้เอง มีระบบการบริหารงานบุคคลภายในร้าน มีการจดบันทึกการทำงานทุกๆ วัน เช่น พนักงานบริการลูกค้าเป็นอย่างไร ลูกค้าเข้าใช้บริการช่วงเวลาไหน สินค้าที่ได้รับความนิยม ความถี่เข้าใช้บริการของลูกค้า เป็นต้น

kk39

6.สร้างมาตรฐานของร้านต้นแบบ ถือเป็นหัวใจสำคัญของระบบธุรกิจแฟรนไชส์ เพราะการสร้างร้านต้นแบบให้ประสบความสำเร็จ คุณควรที่จะมีการสร้างมาตรฐานขึ้นมาด้วย ตั้งแต่การเลือกทำเลที่ตั้ง การออกแบบตกแต่ง ระบบงานต่างๆ ระบบ IT คอมพิวเตอร์ ที่จะช่วยให้การทำงานในร้านมีความสะดวกและง่ายขึ้น

ดังนั้น การสร้างมาตรฐานร้านต้นแบบควรที่จะนำระบบ IT เข้ามาช่วยในการบริหารงานต่างๆ ด้วย เพราะจะทำให้คุณสามารถควบคุมดูแลการทำงานของแฟรนไชส์ซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปแบบการบริหารจัดการร้านไปในทิศทางเดียวกัน

คุณจะเห็นได้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์จำเป็นต้องทำ Pilot Project เพราะเป็นทั้งโมเดลธุรกิจ เป็นร้านตัวอย่าง และเป็นสถานที่ฝึกงานของแฟรนไชส์ซีได้อีกด้วย เมื่อคุณตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำ Pilot Project จะเป็นเหมือนแผนที่ที่จะบอกถึงทิศทาง ที่จะต้องเดินทางไปให้บรรลุเป้าหมาย รู้ถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Untitled-1

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/38truJ6

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช