ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ จะถูก Disrupt หรือไม่

ในช่วงปีสองปี ที่ผ่านมา Disruption กับ Transformation น่าจะเป็นคำที่คนในแวดวงต่างๆ โดยเฉพาะแวดวงธุรกิจน่าจะคุ้นเคยเป็นอย่างดี เพราะสองคำนี้มักปรากฏในสื่อต่างๆ หัวข้องานสัมมนา หนังสือตำรา

กระทั่งคำพูดคุยสนทนาระหว่างคู่ค้าและคนในที่ทำงาน ในยามที่เราพูดถึงอนาคต อนาคตที่ไม่แน่นอน อนาคตที่เราไม่รู้ อนาคตที่กำลังถูก “รบกวน” และหลายๆ สิ่ง กำลังเปลี่ยนแปลง เพราะการมาถึงของ Digital

ในช่วงปีสองปี

Digital ทำให้เราเห็น รับรู้ แลกเปลี่ยน และส่งต่อมากกว่าเดิม จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงที่เกิดเร็วขึ้นกว่าเดิม “ระยะทาง” และ “เวลา” หดสั้นลง นำมาซึ่งผลพวงที่เห็นได้ชัด 2 เรื่อง

คือ ธุรกิจที่เคยเป็นตัวกลางถูก Disrupt และทำให้ธุรกิจกลายเป็น “โลกแห่งการขโมยเวลา” ขณะที่ Big Data ก็คือ อาวุธสำคัญในการขโมยเวลา เพื่อใช้หาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า แม้แต่ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์

a1

ในวันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะเสนอก็ยังถูกรบกวน หรือถูกทำลายล้าง เพื่อให้สิ่งที่คล้ายคลึงกันเข้ามาแทนที่ และสร้างการเปลี่ยนแปลง จนกระทั่งธุรกิจนั้นๆ เกิดการหยุดชะงัก เว้นเสียแต่ธุรกิจแฟรนไชส์นั้น

เริ่มที่จะคิดนอกกรอบ และยอมรับพลังทำลายล้างของนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงเทคโนโลยีที่จะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ สูญเสียส่วนแบ่งของตลาด และสุดท้ายก็ดำรงอยู่ร่วมกับธุรกิจ หรือสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลง หรือรบกวน

a4

อย่างไรก็ตาม การรักษาสภาพที่เป็นอยู่ของธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถนำไปสู่ความล้าสมัย เช่นกรณี แฟรนไชส์ในตลาดธุรกิจเช่าวิดีโอ สมัยก่อนเจริญเติบโตรุ่งเรือง มาเดี๋ยวนี้ได้มีเทคโนโลยีเข้ามาก่อกวน คือ Netflix หรือ ยูทูป

ที่เข้ามาทำลายหรือแย่งส่วนแบ่งการตลาดในอัตราที่รวดเร็ว ในทางกลับกันผู้ค้าปลีกอย่าง Musica ได้ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ และเริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์ความบันเทิงแบบดิจิทัลและเกมใหม่ และตอบโจทย์ลูกค้าได้ดีด้วย

a6

หรือแม้แต่ธุรกิจที่มีการหยุดชะงักอยู่บ่อยๆ หรือไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ดี จึงทำให้เกิดจากวิธีการหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น แนวคิด Uber เกิดขึ้นจากลูกค้าบางคนไม่สามารถหารถแท็กซี่ตอนดึก

หรือในยุคปัจจุบันจะขายสินค้าและบริการนั้นไม่ยาก แค่ตั้งตลาดออนไลน์ขึ้นมา ให้คนซื้อและคนขายมาเจอกัน ง่ายต่อการเข้าถึง ไม่ต้องเดินหาให้เมื่อย เช่น eBay, iTunes, Appstore, Uber, AirBnB

วิธีดูว่า ธุรกิจจะถูก Disrupt หรือไม่

a5

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาว่าธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะถูกรบกวนหรือไม่นั้น คุณต้องถามตัวเองเองว่า ตอนนี้ธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณยังคงตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีหรือไม่

หรือคุณกำลังใช้เทคโนโลยีล่าสุดอยู่หรือไม่? คุณกำลังสื่อสารด้วยวิธีที่เกี่ยวข้องกับตลาดเป้าหมายของคุณหรือไม่? ตัวอย่างเช่น หากตลาดเป้าหมายของคุณเป็นลูกค้ากลุ่มวัยรุ่นมันจำ คุณจำเป็นต้องใช้สื่อ หรือช่องทางโซเชียลมีเดีย

a7

นอกจากนี้ หากมองว่าธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณจะถูกรบกวนหรือไม่ คุณควรพิจารณาอีกประการหนึ่ง คือ การให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง แล้วคุณให้สิ่งที่ลูกค้าต้องการหรือไม่? เช่น แมคโดนัลด์ ได้นำเสนอแพลตฟอร์มที่เรียกว่า “ออกแบบอาหารของคุณ”

เพราะผู้บริโภคชอบเลือกสิ่งที่ตัวเองต้องการ และยินดีจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้ได้ตามความต้องการ คุ้มค่า และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ยิ่งกว่านั้น ในต่างประเทศ เช่น อเมริกา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์

ซึ่งแม็คโดนัลด์ มีแคมเปญ CYT หรือ Create Your Taste หรือการออกแบบอาหารของคุณเอง ทั้งหมดได้ปรับจนกลายเป็น My Burger เบอร์เกอร์รูปแบบใหม่ ตามใจคนกิน

a8

หรืออย่างในเมืองไทย เชื่อหรือไม่สังคมไทยเป็นเหมือนสังคมไฟไหม้ฟาง เพราะมีความนิยมหรือชื่นชอบต่อผู้คนหรือสินค้าใดๆ แล้วสามารถเปลี่ยนแปลงผันผวนได้ตลอดเวลา และหลายครั้งที่ถึงขั้นพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว

ลองนึกภาพดูว่า ในช่วง 20 กว่าปีมานี้ มีสินค้านำเข้าหรือผู้ประกอบการสร้างขึ้นเองในประเทศไทยมากมาย ตั้งแต่ช่วงเปิดตัวได้ทำให้ลูกค้าต้องรอคิวนานๆ ขนาดที่แถวยาว มีการพูดปากต่อปาก แชร์ ตามหา จนเกิดกระแส ผลิตเยอะ ผู้คนแห่ทำธุรกิจตามกัน จนสินค้าล้นตลาด เบื่อกิน เลิกกิน หาของใหม่ ของเก่าไป ของใหม่มา ก็จะวนๆ อยู่แบบนี้

คลิกอ่าน เจาะ Timeline ธุรกิจฮิตติดกระแส เก่าไป ใหม่มา : goo.gl/zpKMUz

a10

รูปแบบการรับมือกับการ Disrupt มีหลายวิธีการ

  1. Block Strategy – ใช้พลังทางกฎหมาย ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร เป็นกำแพงในการป้องกันธุรกิจเกิดใหม่ที่ใช้เทคโนโลยี
  2. Invest in Disruption Model – ถ้ามีเงินทุนมากพอ เห็นแล้วว่านี่คือธุรกิจใหม่ที่จะมา Disrupt ก็ลงทุนไปด้วยซะเลย
  3. Disrupt the Current Business Strategy – เปิดสินค้าและบริการใหม่เข้าแข่งขันเลย ใช้ประโยชน์จากความรู้ ความชำนาญในตลาดที่มีมาก่อน เอาชนะในทางการตลาดให้ได้
  4. Retreat into a Strategic Niche Strategy – ถ้าเห็นว่าสู้ได้ยาก ก็สั่งถอยทัพกลับมาดูแนวทางการทำตลาด และเลือกเจาะกลุ่มเฉพาะทางเพื่อรักษาฐานที่มั่น ซึ่งคู่แข่งยากจะเข้าถึง
  5. Exit Strategy – หนึ่งในสุดยอดกลยุทธ์คือหนี เมื่อเห็นแล้วว่าไม่มีทางแข่งขันได้ ชิงขายธุรกิจดึงเงินทุนกลับมาในขณะที่ธุรกิจยังมีมูลค่าอยู่
  6. Redefine the Core Strategy – การเปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่นที่ใกล้เคียงกัน ก็มีส่วนช่วยให้ธุรกิจอยู่รอด หนึ่งในกรณีศึกษาระดับโลกที่น่าสนใจ เช่น IBM ที่ขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ และมุ่งพัฒนาธุรกิจซอฟต์แวร์และ Consulting สร้างการเติบโตได้อย่างมหาศาล

a9

จะเห็นได้ว่า Disrupt เป็นหนึ่งในคำที่ได้ยินบ่อยที่สุดในยุคดิจิทัลครองเมือง เพราะความพิเศษของดิจิทัลเทคโนโลยี ที่สามารถเปลี่ยนสิ่งแบบเดิมๆ ให้ทันสมัยและทรงพลังมากกว่าเดิม ทำให้รูปแบบเดิมๆ

โดยแย่งชิงบทบาทจนแทบจะหายไป (และอาจจะหายไปในที่สุด) หรือแม้แต่สินค้ากระแส หรือแบรนด์ฟ้าผ่า ก็สอนให้เรารู้ว่า การที่สินค้าหรือบริการใดๆ เข้าตลาดมาอย่างฉาบฉวยหรือสร้างกระแสได้อย่างรวดเร็วนั้น จะอยู่ในตลาดได้อย่างต่อเนื่องหรือไม่ ย่อมมาจากองค์ประกอบหลาย ๆ

ที่สำคัญสินค้านั้นๆ สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนไทยหรือไม่ สินค้าเป็นไปตามกระแสของสังคมหรือไม่ สินค้ามีประโยชน์มากกว่าโทษหรือไม่ สินค้าไม่ใช่ของที่เลียนแบบง่ายหรือหาง่ายตามท้องตลาด และสินค้ามีการลงทุนระยะยาวและจริงจัง


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/H2rvyV
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี แบรนด์อื่นๆ เปิดร้าน goo.gl/VMtkhp

อ้างอิงข้อมูล

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qwUN4F

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช