ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ! แก้ปัญหาอย่างไรในยุคโควิด

จากการระบาดโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจหนักสาหัส ไม่ว่าจะเป็นภาคการท่องเที่ยว โรงแรม ภัตตาคาร ค้าปลีก การศึกษา สปา รวมถึงธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม แม้ว่าจะเปิดร้านให้บริการแบบเดลิเวอรี่ได้ แต่ยอดได้ลดลงกว่า 70-80% ธุรกิจเหล่านี้เมื่อดำเนินธุรกิจไม่ได้ก็ต้องปิดกิจการ ธุรกิจเป็นหนี้ และอาจถึงขั้นถูกฟ้องร้องจากเจ้าหนี้ตามมา

ปัญหาดังกล่าว แบงก์ชาติได้ร่วมมือกับสถาบันทาการเงิน ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ SMEs ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 เปิดตัวโครงการแก้หนี้สำหรับภาคธุรกิจ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” (โครงการดีอาร์บิส) เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจกลุ่มที่ยังมีศักยภาพ แต่ประสบปัญหาจากสถานการณ์เศรษฐกิจและมีเจ้าหนี้ธนาคารหลายราย ให้ได้รับการบรรเทาภาระหนี้โดยการรวมหนี้ และลดระยะเวลาการติดต่อเจ้าหนี้หลายราย

ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ

ภาพจาก bit.ly/2Vu2yNq

ผ่านแนวทางแก้ไขหนี้ที่เจ้าหนี้ได้ตกลงร่วมกัน เช่น การขยายเวลาชำระหนี้ การลดค่างวด รวมทั้งจะมีการพิจารณาให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกหนี้ที่มีแผนธุรกิจชัดเจน มีประวัติการชำระหนี้ดี และมีความตั้งใจในการทำธุรกิจ

โดยลูกหนี้ธุรกิจที่ประสบปัญหาและมีเจ้าหนี้หลายราย สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อแก้ไขหนี้ในคราวเดียวกันได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค. 64 ที่ https://www.bot.or.th/app/drbiz หรือติดต่อธนาคารเจ้าหนี้ที่เจ้าของธุรกิจสะดวก

#เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการแก้หนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง”

4

ภาพจาก bit.ly/3fs2tRn

  • เป็นลูกหนี้ธุรกิจทุกประเภทธุรกิจ และอุตสาหกรรม
  • มีสถานะหนี้ปกติ หรือเป็น NPL กับธนาคารบางแห่งตั้งแต่ 1 ม.ค. 2562 เป็นต้นไป เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19
  • ต้องไม่ถูกฟ้องคดี ยกเว้นเจ้าหนี้ถอนฟ้อง

#นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับธุรกิจ ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและปัจจุบัน โดย “คุณศิณาภรณ์ หู้เต็ม” ได้เขียนแนวทางการแก้ไขอย่างไม่เป็นทางการบนเว็บไซต์ https://www.pattanakit.net/ ระบุว่า

  1. การพูดคุยโดยตรงกับเจ้าหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ยินยอมให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ โดยอาจจะต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างทางการเงินให้กลับมาเหมือนเดิม ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน
  2. การปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ เช่น การเปลี่ยนหนี้บางรายการ จากระยะสั้นเป็นระยะยาว หรือเปลี่ยนหนี้เป็นทุน โดยปัจจุบันมีวิธีแก้ปัญหาปรับโครงสร้างหนี้ธุรกิจที่มีเจ้าหนี้หลายราย แบงก์ชาติต้องการช่วยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด
  3. การยืดระยะเวลาชำระหนี้ พูดคุยกับเจ้าหนี้ให้ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปก่อน โดยเจ้าหนี้ยังได้รับการชำระหนี้เต็มจำนวนที่ยังคงค้างไว้
  4. การประนอมหนี้ ต่อรองให้เจ้าหนี้ยินยอมลดจำนวนหนี้สินของธุรกิจลง แม้บางครั้งอาจจะเป็นการชำระหนี้ที่ไม่สูงแต่ยังดีกว่าที่เจ้าหนี้จะไปฟ้องร้องเอา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายตามมาอีกมากมาย
  5. การเลิกกิจการ โดยลูกหนี้ขอเลิกกิจการแบบไม่เป็นทางการกับเจ้าหนี้โดยตรง หากเจ้าหนี้ยินยอมก็จะมีการชำระบัญชีนำสินทรัพย์ออกขายทอดตลาดแล้วแบ่งชำระหนี้ หากมีสินทรัพย์เหลือก็จ่ายคืนทุน วิธีนี้ทำให้เจ้าหนี้ได้รับผลตอบแทนสูง

3

2

ภาพจาก bit.ly/3xfBTkw

ทั้งหมดเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ให้กับ ธุรกิจเป็นหนี้เยอะ ทั้งแนวทางการช่วยเหลือจากแบงก์ชาติและสถาบันการเงิน ผ่านโครงการแก้หนี้สำหรับภาคธุรกิจ “DR BIZ การเงินร่วมใจ ธุรกิจไทยมั่นคง” (โครงการดีอาร์บิส) รวมถึงแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ธุรกิจด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ และการพูดคุยเจราจาโดยตรงกับเจ้าหนี้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก https://bit.ly/37vlqhy , https://bit.ly/2U1YELc

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3lLUuCG

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช