ธุรกิจคุณทำเป็น แฟรนไชส์ ได้ไหม?

เราจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีธุรกิจ แฟรนไชส์ เกิดขึ้นใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์นอก แบรนด์ไทย แต่ถ้าใครที่มีความคิดอยากจะทำธุรกิจแฟรนไชส์เหมือนคนอื่นเขา ก็ลองประเมินธุรกิจที่ตัวเองกำลังบริหารอยู่นั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนในการทำ แฟรนไชส์ ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com จะนำคุณลักษณะของธุรกิจที่เหมาะกับการทำแฟรนไชส์มาให้ลองศึกษาเป็นไกด์นำทาง

แฟรนไชส์

1. ธุรกิจที่ทำมานานหลายปี และมีรายได้ที่มากพอสมควร ยิ่งถ้ามีหลายสาขาด้วยแล้วก็จะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสูง
2.ธุรกิจมีการเปิดสาขาในที่แตกต่างกัน ถือเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่าตลาดของคุณใหญ่แค่ไหน
3.เจ้าของธุรกิจมีความชำนาญในธุรกิจมากน้อยแค่ไหน เพราะคนที่จะซื้อแฟรนไชส์จะต้องซื้อความชำนาญของเจ้าของแบรนด์หรือกิจการนั้นๆ เช่น เซเว่นฯ ที่ขายได้เพราะคนส่วนใหญ่เขามาซื้อความชำนาญ มีระบบการบริหารจัดการที่ ธุรกิจที่จะขายแฟรนไชส์ได้ต้องมีความเก๋าในวงการพอสมควร
4.แบรนด์ธุรกิจต้องเป็นที่รู้จักในวงกว้าง เพราะถ้าเป็นแบรนด์ที่คนไม่รู้จัก เป็นไปได้ยากมากที่จะประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่คนที่มาซื้อแฟรนไชส์มาจากการที่เขาได้เห็นลูกค้าเข้าไปซื้อสินค้า หรือคนต่อแถวเข้าซื้อสินค้าในร้านนั้นๆ
5.ธุรกิจต้องมีเป้าหมายเป็นผู้นำตลาด เพราะจะทำให้คุณมีความพยายามในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ คุณต้องตั้งเป้าเป็นที่ 1 ในตลาด หรือกินแชร์สูงสุดในตลาด
6.เป็นสินค้าที่มีตลาดกว้าง ไม่จำกัดเฉพาะในโรงงานหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น
7.สินค้าต้องมีจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน ลองสังเกตดูว่าหน้าปากซอยของคุณ มีร้านปาท่องโก๋ที่ขายดีกี่เจ้า ถ้ามีร้านที่มีคนต่อคิวยาวเป็นแถว นั่นแสดงว่าเขามีจุดเด่นที่แตกต่างจากคนอื่นๆ อาจมีความอร่อย หรือนุ่ม กรอบ
8.สินค้าจะต้องไม่มีวงจรชีวิตสั้น อย่างกรณีตุ๊กตาเฟอร์บี้ ที่ได้รับความนิยมอยู่พักหนึ่ง แต่สุดท้ายต้องหลุดจากวงโคจรตลาด

mmm9

9.ธุรกิจต้องสามารถถ่ายทอดในระยะเวลาอันสั้นได้
10.ธุรกิจจะต้องไม่ใช้พรสวรรค์เป็นปัจจัยหลัก เพราะไม่สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นทำตามได้
11.ธุรกิจนั้นจะต้องลอกเลียนแบบได้ยาก กรณีปาท่องโก๋ในตอนแรกเปิดเพียงไม่กี่เจ้า แต่ปัจจุบันมีมากมายตามตรอกซอกซอย ไม่จำเป็นต้องซื้อแฟรนไชส์ ทุกคนสามารถทำได้
12.ธุรกิจจะต้องมีการซื้อซ้ำ ไม่ใช่นานๆ คนมาซื้อที อย่างกรณีธุรกิจฟาสฟู้ดส์พบว่าการซื้อซ้ำน้อยมาก ไม่เหมาะที่จะซื้อมาทำแฟรนไชส์ แม็คโดนัลคนก็ไม่นิยม จึงหันไปทำอาหารจานเดียวแทน ถ้าลูกค้าซื้อซ้ำจะทำให้ธุรกิจของเรามีความมั่นคง ลูกค้าซื้อซ้ำคือความมั่นคงของธุรกิจ
13.ธุรกิจจะต้องมีการแข่งขันไม่สูงเกินไป เพราะจะทำให้บริหารแฟรนไชส์ลำบากขึ้น ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น เห็นได้ชัดเจนจากแต่ก่อนมีร้านขายโทรศัพท์เกิดขึ้นมากมาย แต่ปัจจุบันเหลือไม่กี่เจ้า ลูกค้าเขาไปซื้อที่เดียว อย่างกรณีไปมาบุญครองซื้อได้ทุกยี่ห้อ
14.ธุรกิจต้องไม่ลงทุนสูงเกินไป แต่ต้องมีมาร์จิ้นในตลาดสูง มีรายได้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ถ้ามีกำไรแต่น้อยมาก ก็จะไม่มีใครมาซื้อแฟรนไชส์คุณ
15.คุณต้องเป็นเจ้าของแบรนด์ที่ถูกต้อง เพราะจะสร้างความน่าเชื่อให้กับผู้มาซื้อแฟรนไชส์ ไม่ใช่พอทำไปสักพักก็มีคนมาฟ้องร้องลิขสิทธิ์
16.ผู้บริหารธุรกิจต้องมีความสามารถ ยกตัวอย่าง ร้านหนังสือดอกหญ้า แต่ก่อนเป็นร้านหนังสือที่มีคนเข้าร้านเยอะมาก ผู้บริหารเก่งในเรื่องการหาทำเลในการตั้งร้าน โดยจะเลือกทำเลที่มีคนเดินพลุกพล่าน แต่ในที่สุดร้านหนังสือดอกหญ้าไปไม่รอด เพราะผู้บริหารนำเงินไปใช้ในธุรกิจบันเทิง ซึ่งเป็นธุรกิจที่ตัวเองไม่ถนัดหรือมีความชำนาญ

“วันนี้ลองสำรวจความพร้อมของคุณและธุรกิจที่ทำอยู่ ว่ามีความพร้อมหรือยังที่จะทำแฟรนไชส์”

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2TOsFhg

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช