ทำไม “คุมอง” ถึงเป็นแฟรนไชส์การศึกษาอันดับ 1 ของโลก

แฟรนไชส์การศึกษา “คุมอง” จากประเทศญี่ปุ่น ได้รับการจัดอันดับแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วโลกของเว็บไซต์ franchisedirect.com โดยรั้งอันดับที่ 20 ซึ่งส่วนใหญ่แล้วแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จจะเป็นกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ทำไม คุมอง ถึงประสบความสำเร็จมากมาย กลายเป็นแฟรนไชส์การศึกษาอันดับ 1 ของโลก 

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ เมื่ออ่านจากประวัติศาสตร์ของคุมอง พบว่า คุมองเป็นระบบการเรียนจากประเทศญี่ปุ่นที่ถูกคิดค้นเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว โดย “โทรุ คุมอง” ครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับมัธยมปลาย

ทำไม คุมอง

จุดเริ่มต้นของการคิดค้นระบบการเรียนการสอนแบบคุมองมาจากที่ภรรยาของโทรุ คุมอง สังเกตเห็นว่าลูกชายของเธอ ทาเคชิ คุมอง มีปัญหาเรื่องคณิตศาสตร์ ป.2 ทั้งๆ ที่พ่อของเขาเป็นคุณครู โทรุ คุมอง จึงลองคิดทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์ในแบบฉบับของเขาเอง เพื่อให้ลูกชายได้หัดทำและฝึกฝนทุกๆ วัน อย่างไม่ยากลำบาก เพื่อให้เกิดการพัฒนาทักษะอย่างสม่ำเสมอด้วยตัวเอง

และการฝึกฝนทำแบบฝึกหัดทุกวัน ทำให้ทาเคชิสามารถพัฒนาความสามารถไปได้อย่างรวดเร็วสามารถเรียนก้าวหน้าจนทำแบบฝึกหัดแคลคูลัสเชิงอนุพันธ์และอินทิกรัลได้ตอนจะขึ้นไปเรียนชั้น ป.6

12

เมื่อทาเคชิเก่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โทรุจึงได้ชวนเด็กในละแวกบ้านให้ลองมาฝึกฝนผ่านแบบฝึกหัดที่เขาทำขึ้นมาเอง และผลปรากฏว่าเด็กๆ ที่เข้ามาทำแบบฝึกหัดของโทรุ คุมองก็สามารถพัฒนาตัวเองทางด้านคณิตศาสตร์ไปได้ไกลขึ้น

จนในปี 2501 โทรุ คุมองจึงตัดสินใจก่อตั้งสำนักงาน คุมอง ในเมืองโอซากา ก่อนที่จะขยายอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ โดยสาขาแรกของคุมองในต่างประเทศอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เปิดสอนในปี 1974

11

จนกระทั่งปัจจุบัน คุมอง มีนักเรียนกว่า 4 ล้านคน จาก 25,000 สาขาใน 57 ประเทศ และเป็นแฟรนไชส์ด้านการศึกษาที่มีสาขามากที่สุดในโลก ในปี พ.ศ. 2562 นี้ บริษัทคุมอง (ไทยแลนด์) จำกัด ได้ดำเนินกิจการในประเทศไทยครบรอบ 21 ปีแล้ว ซึ่งระบบการเรียนแบบคุมองถือได้ว่าเป็นระบบการเรียนเสริมหลักสูตรที่แพร่หลายที่สุดในโลก

10

สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันมีศูนย์แฟรนไชส์คุมองกว่า 470 สาขาใน 71 จังหวัดทั่วประเทศ และกำลังพัฒนาเด็กไทยกว่า 94,000 คน ด้วยระบบจัดฝึกอบรมผู้เปิดศูนย์ใหม่ และให้การสนับสนุนทั้งด้านการสอนและการตลาดตลอดระยะเวลาที่เปิดศูนย์ รวมทั้งการพัฒนาแบบฝึกหัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้คุมองรักษามาตรฐานและขยายแฟรนไชส์ได้ครอบคลุมทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง

กุญแจแห่งความสำเร็จของคุมองในไทย

9

1.เด็กๆ แต่ละคน การเรียนรู้ในระบบคุมองจะเป็นประสบการณ์ในการเรียนรู้ที่มีประโยชน์เสมอต่ออนาคต และการเติบโตของเด็กคนนั้น และสร้างโอกาสให้เด็กๆ จำนวนมากเท่าที่จะมากได้ ได้เรียนด้วยระบบการเรียนแบบคุมอง

2.ผู้ที่มีอุดมการณ์และมีหัวใจเดียวกันที่พร้อมจะร่วมเดินไปกับเรา เริ่มตั้งแต่ผู้เปิดศูนย์แฟรนไชส์ หรือ Kumon Instructors รวมไปถึงผู้ที่ให้ความสำคัญกับเด็กๆ และทำงานที่เป็นประโยชน์แก่สังคมร่วมกันผ่านการศึกษา เราจะให้ความเคารพ ทำกิจกรรมร่วมกัน และสนับสนุนช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง

8

3.พนักงานคุมองทุกๆ คน สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลให้เกิดความรู้สึกร่วมกันถึงเป้าหมาย และคุณค่าของงาน เพื่อการทำงานอย่างกระตือรือร้น และการเติบโตพัฒนาขึ้นในทุกๆ วัน

4.ความสัมพันธ์ที่มีต่อสังคม คุมองให้ความสำคัญกับหน้าที่ และความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม เพื่อสร้างสังคมให้ดีขึ้น ด้วยการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า รวมทั้งพัฒนาคุณภาพการศึกษา และวัฒนธรรมของสังคมที่เราอยู่

7

เป้าหมายของคุมองในประเทศไทย คุมองวางเป้าหมายที่จะมีนักเรียนจำนวนเกินกว่า 100,000 คน และมีจำนวนศูนย์คุมองมากกว่า 500 ศูนย์ โดยในปี 2019 ได้เปิดศูนย์ในต่างจังหวัดทั้งในอำเภอเมืองและอำเภอรองของแต่ละจังหวัด เพื่อขยายโอกาสให้เด็กๆ จำนวนมากได้รับการพัฒนาผ่านระบบการเรียนแบบคุมอง

รายได้ของคุมองทั่วโลก

6

  • ปี 2015 มีรายได้ 90,456 ล้านเยน กำไร 10,187 ล้านเยน
  • ปี 2016 มีรายได้ 90,043 ล้านเยน กำไร 11,831 ล้านเยน
  • ปี 2017 มีรายได้ 90,590 ล้านเยน กำไร 12,547 ล้านเยน
  • ปี 2018 มีรายได้ 93,159 ล้านเยน กำไร 13,190 ล้านเยน
  • ปี 2019 มีรายได้ 93,011 ล้านเยน กำไร 13,228 ล้านเยน

ใครสนใจลงทุนแฟรนไชส์คุมอง คลิก bit.ly/2E2sMy7


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

แหล่งข้อมูลจาก

อ้างอิงจาก https://bit.ly/34go7mY

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช