ทำไมแบรนด์ใหญ่ ต้องทำแฟรนไชส์

ช่วงโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย เริ่มเห็นข่าวแฟรนไชส์ร้านอาหารมากขึ้น เริ่มตั้งแต่แบรนด์เล็กไปจนถึงแบรนด์ใหญ่ การบินไทยมีแผนจะขายแฟรนไชส์ปาท่องโก๋ซอสมันม่วงในปี 2564 หรือล่าสุดทางฟู้ดแพชชั่นเจ้าของร้านบาร์บีคิวพลาซ่า ทำการปั้นแบรนด์น้องใหม่ “หมูทอดกอดคอ” เปิดขายแฟรนไชส์รุกตลาดสตรีทฟู้ดเมืองไทย โดยไม่คิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์และค่าสิทธิรายเดือนแต่อย่างใด พร้อมให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ สำหรับคนที่ซื้อแฟรนไชส์ไปเปิดด้วย

นอกจาก 2 แบรนด์ใหญ่ข้างต้น ยังมีอีก 3 แบรนด์ใหญ่อย่าง CRG เปิดขายแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์ “อร่อยดี” ส่วน Zen ขายแฟรนไชส์แบรนด์ “เขียง” และเชสเตอร์ในเครือซีพีเตรียมขายแฟรนไชส์ “ตะหลิว” ซึ่งทั้ง 3 แฟรนไชส์ได้ปรับลดขนาดเป็นไซส์เล็กเพื่อตอบโจทย์นักลงทุน รวมถึงปรับตัวให้เข้าสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังไม่คลี่คลายมากนัก อยากรู้หรือไม่ว่า ทำไม แบรนด์ใหญ่ ต้องหันมาขายแฟรนไชส์ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

ทำไม

ภาพจาก facebook.com/MooTodGordKorFranchise

เราจะเห็นได้ว่าช่วงหลังๆ มานี้ แบรนด์ธุรกิจใหญ่ๆ ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ร้านอาหารมากมาย เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาสู่ระบบแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ในเมืองไทยเริ่มคลี่คลาย เนื่องจากบริษัทใหญ่ๆ มีความพร้อมทุกอย่าง ทั้งโรงงานการผลิต ทีมการตลาด และมีประสบการณ์ในธุรกิจมายาวนาน

อีกทั้งบริษัทใหญ่ๆ มองว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ให้ความมั่นใจในบริษัทแม่ เมื่อซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วประสบความสำเร็จอย่างแน่นอนเมื่อเทียบกับการไปซื้อแฟรนไชส์จากแบรนด์เล็กๆ ที่ใช้เงินลงทุนเท่ากัน แต่ไม่มีความมั่นคง ขณะที่แบรนด์ใหญ่จะมีความพร้อมในเรื่องระบบการซัพพอร์ตแฟรนไชส์ซี ยิ่งหากแบรนด์ใหญ่มีระบบการซัพพอร์ตแฟรนไชส์ซีที่ดี ก็จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง เมื่อคนหนึ่งประสบความสำเร็จแล้ว ก็อาจจะบอกต่อผู้สนใจซื้อแฟรนไชส์คนอื่นๆ ด้วย

40

ขณะเดียวกัน แบรนด์ใหญ่ที่หันมาขายแฟรนไชส์มากขึ้น เนื่องจากช่วงเกิดการระบาดโควิด-19 แบรนด์ใหญ่ๆ จะเปิดให้บริการในห้างซึ่งได้รับผลกระทบจากการปิดให้บริการชั่วคราว อีกทั้งลูกค้าเดินห้างน้อยลง

จึงทำให้แบรนด์ใหญ่เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ด้วยการสร้างแบรนด์ใหม่แล้วขายแฟรนไชส์ โดยใช้ทำเลที่ตั้งนอกห้างแทน ที่สำคัญใช้เงินลงทุนน้อยกว่าเปิดร้านในห้าง เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคได้ทานอาหารที่รู้สึกปลอดภัยกว่าในห้าง

โดยแบรนด์แฟรนไชส์ที่เปิดขายส่วนใหญ่จะมีขนาดไซส์เล็กลงกว่าเดิม เพื่อให้เหมาะสมกับจำนวนลูกค้าที่เข้าใช้บริการยุคโควิด และทำเลที่ตั้งในการเปิดร้านแฟรนไชส์จะอยู่นอกห้างเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถรองรับเดลิเวอรี่ได้ดีกว่า อีกทั้งนักลงทุนสามารถเข้าถึงแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น เพราะราคาแฟรนไชส์จะต่ำลงกว่าการเปิดร้านในห้าง

13

ภาพจาก bit.ly/38r6fro

นอกจากนี้ เหตุผลที่แบรนด์ใหญ่ขายแฟรนไชส์ยังสามารถเพิ่มมูลค่าของธุรกิจได้ เพราะเมื่อมีการขยายธุรกิจ ฝ่ายการตลาดของแฟรนไชส์ซอร์ก็มักจะคิดค้นสินค้าหรือบริการใหม่ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในเชิงธุรกิจ

ส่งผลให้ธุรกิจมีการขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและมีกำไรพอควร เนื่องจากธุรกิจทุกประเภทจะมีจุดคุ้มทุนที่แตกต่างกัน บางครั้งหากขยายตัวช้าก็ไม่สามารถบรรจุถึงจุดคุ้มทุนได้ แต่พอขยายกิจการผ่านแฟรนไชส์ซีอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนและเริ่มทำกำไรได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญมีโอกาสได้ผู้บริหาร (ผู้ซื้อสิทธิ์ Franchise) ที่ดีในพื้นที่ห่างไกล

ซึ่งโดยปกติแล้วแฟรนไชส์ซอร์จะไม่สามารถขยายกิจการและบริหารดูแลให้ดีได้ หากร้านค้าสาขาอยู่ห่างไกลมาก เพราะยากต่อการควบคุมดูแล การได้แฟรนไชส์ซีในท้องถิ่นห่างไกล ที่มีผู้ลงทุนและผู้บริหารที่ดี เสมือนกับว่าได้ผู้บริหารที่ดีของแฟรนไชส์ซีเหล่านั้นมาช่วยงานขยายธุรกิจ

12

ภาพจาก facebook.com/TALIEWTH

อีกทั้ง ผู้ซื้อแฟรนไชส์เป็นคนท้องถิ่น รู้จักตลาดเป็นอย่างดี การที่แฟรนไชส์ซีเป็นคนท้องถิ่น ย่อมจะรู้จักลูกค้าตลอดสภาพแวดล้อมอื่นๆ ในตลาดท้องถิ่นมากกว่า และมักมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสังคมหรือผู้หลักผู้ใหญ่ในท้องถิ่น

ย่อมดีกว่าการที่แฟรนไชส์ซอร์ไปลงทุนเองแล้วเป็นพ่อค้าแปลกถิ่นในที่นั่น ซึ่งบางครั้งหากเข้าไปแล้วไปขัดผลประโยชน์กับพ่อค้าท้องถิ่นหรือมีข้อพิพาทที่คาดไม่ถึง ย่อมเป็นอันตรายต่อการไปลงทุนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไปลงทุนในอีกประเทศหนึ่ง

นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมแบรนด์ใหญ่ ที่บริหารกิจการร้านอาหารหลากหลายแบรนด์ในเมืองไทย เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจมาสู่ระบบแฟรนไชส์ หลังจากมีสัญญาณโควิด-19 ในเมืองไทยเริ่มคลี่คลาย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3neRU5E

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช