ทำไมเมืองไทยต้องมี Street Food

ทุกๆ ปีเราจะได้เห็นข่าวจากสื่อต่างประเทศ จัดอันดับให้กรุงเทพมหานคร เป็น “สวรรค์แห่งอาหารริมทาง” หรือเมืองที่มี อาหารริมทาง ( Street Food ) ดีที่สุดในโลก และติดอันดับต้นๆ ทุกปีด้วย

โดยนักท่องเที่ยวสามารถเลือกซื้ออาหารได้หลากหลาย และระบุด้วยว่าเยาวราช คือ ย่านของกินที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง ขณะที่สภาอาหารริมทางโลก (World Street Food Congress) ยกให้ “หอยทอด” เป็น 1 ใน 3 ของอาหารที่ขึ้นชื่อมากที่สุด ที่หารับประทานได้ริมทางในกรุงเทพฯ

จึงไม่แปลกที่ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะยกให้ Street Food เป็นอีกหนึ่งจุดขายด้านการท่องเที่ยวของไทย จนรัฐบาลทำการปัดฝุ่นและจัดระเบียบ Street Food ให้ได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัย และลบภาพลักษณ์อาหารข้างทาง ที่มีวิธีการปรุงไม่ค่อยถูกสุขลักษณะ เพื่อให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

อาหารริมทาง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอเหตุผลว่า ทำไมเมืองไทยจำเป็นต้องมี Street Food ซึ่งหากมองดูแล้ว Street Food ก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ในแง่ของพ่อค้าแม่ค้าสามารถเป็นอาชีพที่สร้างรายได้อย่างงดงาม ผู้บริโภคสามารถหาซื้อกินได้ง่าย ราคาไม่แพงด้วย อีกทั้งยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศให้เดินทางมาเที่ยวเมืองไทยจำนวนมาก

สำหรับแนวทางการพัฒนา Street Food ในเมืองไทยให้มีชื่อเสียง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ถูกหลักอนามัย โดยภายในปี 2560 รัฐบาลได้เดินหน้าจัดระเบียบ Street Food จำนวน 2 แห่งนำร่องในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้แก่ จุดแรกบริเวณถนนเยาวราช เขตสัมพันธวงศ์ ตั้งแต่แยกเฉลิมบุรีถึงแยกราชวงศ์ ยาวประมาณ 600 เมตร

xx12

ส่วนใหญ่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม และเบ็ดเตล็ด โดยกำหนดให้ช่องทางซ้ายสุดและขวาสุด เป็นพื้นที่สำหรับประชาชนเดินเลือกซื้ออาหารตั้งแต่เวลา 18.00–24.00 น. ให้ผู้ประกอบการค้า ร้านอาหาร วางแผงค้าอาหารบนทางเท้าด้านชิดกับผิวการจราจร ขนาดแผงประมาณ 1.00×2.00 เมตร

กรณีมีโต๊ะบริการให้ลูกค้านั่งรับประทานให้จัดโต๊ะเฉพาะในพื้นที่ของตนที่ได้รับอนุญาต ทุกร้านต้องทำแผงขายอาหารที่มีลักษณะเดียวกัน และสะท้อนอัตลักษณ์ของถนนเยาวราช

ผู้ค้าและผู้ช่วยค้าทุกคนจะต้องผ่านการอบรมและทดสอบด้านสุขอนามัย และโภชนามัยจากสำนักอนามัยกทม.ก่อน ซึ่งจะจัดทำระบบฐานข้อมูล เพื่อตรวจตราไม่ให้ผู้ค้าที่ไม่ได้รับอนุญาต หรือไม่ได้ผ่านการอบรมเข้าค้าขายเด็ดขาด

xx15

จุดที่ 2 บริเวณถนนข้าวสาร เขตพระนคร ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจะต้องเป็นผู้ที่ค้าขายอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้ค้าตั้งวางแผงค้าบนทางเท้าทั้งสองฝั่ง แต่อนุญาตให้วางแผงค้าบนพื้นถนนได้ตั้งแต่เวลา 18.00–24.00 น.

โดยจะไม่อนุญาตให้ผู้ค้าที่เป็นต่างด้าวเข้าทำการค้า และทุกร้านต้องจัดทำแผงขายอาหารที่มีลักษณะเดียวกัน และสะท้อนอัตลักษณ์ของถนนข้าวสาร พร้อมทั้งกำหนดให้มีช่องทางสำหรับรถฉุกเฉิน เพื่อดูแลเหตุฉุกเฉินทั้ง 2 ฝั่งถนนได้สะดวก

เพื่อให้ Street Food มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาด ร้านอาหารต้องติดป้ายราคาทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน หรือภาษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม

โดยกทม.จะออกใบรับรองคุณภาพให้กับร้านค้า ที่ได้รับอนุญาตจำหน่ายสิ่งของในบริเวณถนนเยาวราช และถนนข้าวสาร เพื่อรับรองว่าร้านค้าดังกล่าวได้ผ่านการตรวจประเมินและรับรองคุณภาพแล้ว มีความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และไม่อนุญาตให้บุคคลต่างด้าวทำการค้าใดๆ เนื่องจากเป็นสิ่งผิดกฎหมาย

xx11

ข้อดีของการมี Street Food

  1. สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับพ่อค้าแม่ค้า
  2. ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว และนักชิมทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ
  3. กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน และสร้างรายได้ให้กับประเทศ
  4. ประชาชนได้สามารถซื้ออาหารการกินได้ง่า สะดวก ราคาไม่แพง
  5. ส่งเสริมภาพลักษณ์ของเมืองให้มีความเป็นเสน่ห์ เป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางทั่วโลก
  6. สร้างอาชีพและรองรับกลุ่มแรงงงานนอกระบบ และคนตกงาน

เราจะเห็นได้ว่า ในหลักของความเป็นจริงแล้ว หากมองในแง่วัฒนธรรมแล้ว การเติบโตของร้านค้าริมถนนเกิดขึ้นจากวัฒนธรรมการกินของคนไทย สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยสามารถรับประทานได้ทุกเวลา การรับประทานอาหาร คือ ความสนุก การท่องเที่ยวและการพักผ่อน ซึ่งร้านค้าแผงลอยสามารถตอบโจทย์ทางวัฒนธรรมนี้ได้

ทั้งนี้ ข้อมูลจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุว่า จากการสำรวจรายจ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย พบว่า ร้อยละ 60 เป็นรายจ่ายค่าอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งการซื้อจากร้านอาหาร ภัตตาคาร และอาหารริมทาง ตรงนี้ก็น่าจะแสดงให้เห็นว่า ทำไมเมืองไทยจำเป็นต้องมี Street Food และหลายๆ ประเทศก็สร้างรายได้จาก Street Food มหาศาลทีเดียวครับ

อ่านบทความ SMEs goo.gl/YjoU7p หรือสนใจซื้อแฟนไชส์อาหาร หลากหลายแบรนด์ น่าลงทุน ไปประกอบธุรกิจ เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ goo.gl/zgmZRS

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช