ทำไมคนไทยซื้อแฟรนไชส์ แล้วไม่สำเร็จ

การมีธุรกิจ เป็นของตัวเอง กลายเป็นความฝันของใครหลายๆ คน โดยเฉพาะคนทำงานประจำ ที่เริ่มเบื่อกับชีวิตมนุษย์เงินเดือน แต่หากจะเริ่มธุรกิจด้วยตัวเอง

โดยยังไม่มีประสบการณ์ ไม่มีความรู้ในการบริหารจัดการธุรกิจ อีกทั้งทุนยังมีน้อย ถือว่าค่อนข้างเสี่ยงที่จะเริ่มต้น ข้อจำกัดต่างๆ เหล่านี้ จึงทำให้การซื้อแฟรนไชส์เป็นอีกทางเลือกธุรกิจที่น่าสนใจ

เนื่องจากการซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ เป็นอีกวิธีหนึ่งของคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะสามารถบริหารจัดการได้เอง แม้เราจะยังไม่มีความรู้ด้านธุรกิจมากเท่าที่ควร เนื่องจากธุรกิจแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ ได้มีเทคนิค และขั้นตอนในการทำธุรกิจสำเร็จรูปอยู่แล้ว ทำให้โอกาสสำเร็จ ย่อมมีมากกว่าการสร้างธุรกิจด้วยตัวเอง

แต่ก็ใช่ว่า การซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจของตัวเอง จะประสบความสำเร็จเสมอไป เพราะหลายๆ ครั้ง เรามักจะเห็นว่าคนที่ซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ มักจะขายดีในช่วงแรก แต่พอทำไปสักระยะหนึ่งก็ปิดกิจการ ธุรกิจไปไม่รอด

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จึงอยากจะมาแชร์ข้อมูลให้ฟังว่า ทำไมคนไทยซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ แล้วไม่ประสบความสำเร็จ มีเหตุผล หรือปัจจัยอะไร มาทำให้การซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจประสบความล้มเหลว ธุรกิจไปไม่รอด

ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า สาเหตุที่คนไทยซื้อแฟรนไชส์ แล้วไม่ประสบความสำเร็จนั้น แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกมาจากตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เอง ส่วนที่สองมาจากระบบและเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์ ที่มีส่วนทำให้การซื้อแฟรนไชส์ล้มเหลว

ผู้ซื้อแฟรนไชส์

g1

1.ผู้ซื้อแฟรนไชส์ขาดทักษะ ไม่ถนัดในธุรกิจที่ทำ

ก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์มาทำธุรกิจ ลำดับแรกต้องดูก่อนว่า คุณมีทักษะ และมีความถนัดด้านไหน หรือชอบทำอะไร เช่น ถ้าเป็นคนรักการบริการ ชอบดูแลผู้อื่น คุณเหมาะกับแฟรนไชส์บริการ

เช่น แฟรนไชส์ซักอบรีด แฟรนไชส์บริการไปรษณีย์เอกชน รวมไปถึงแฟรนไชส์เกี่ยวกับการค้าขาย ที่ต้องพบเจอกับลูกค้าโดยตรง ผู้ซื้อแฟรนไชส์เหล่านี้ต้องมีใจรัก อดทน เพราะแฟรนไชส์เหล่านี้ จะมีรายได้โดยตรงจากการให้บริการลูกค้า ถ้าหากบริการแย่ลูกค้าก็ไม่ใช้บริการ

พูดง่ายๆ คือ ถ้าใครชอบทำอะไร หรือถนัดด้านไหน ก็ควรซื้อแฟรนไชส์ที่ตัวเองชอบทำมากที่สุด เพราะจะช่วยให้คุณตั้งใจทำธุรกิจอย่างดีที่สุด หรือใครชอบอยู่ในครัว ชอบชิมอาหาร แฟรนไชส์อาหารน่าจะเหมาะสม

แต่ถ้าใครชอบสอน ก็ต้องเป็นแฟรนไชส์การศึกษา ที่สำคัญอย่าซื้อแฟรนไชส์ตามกระแส มองว่ารายได้ดี ก็ซื้อมาเพื่อฉาบฉวย พอทำไปก็จะรู้สึกเบื่อ ตรงนี้ทำให้แฟรนไชส์ซีหลายๆ ราย ไม่ประสบความสำเร็จไปเป็นจำนวนมาก

g4

2.ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เข้าใจในระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง

ปัจจุบันธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย จะมีอยู่ 2 รูปแบบ ที่เจ้าของแฟรนไชส์และผู้ซื้อแฟรนไชส์นิยมทำกัน ก็คือ

1.แฟรนไชส์ที่คิดค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้าอย่างเดียว (Franchise Fee) แล้วขายวัตถุดิบให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ แฟรนไชส์เหล่านี้จะลงทุนต่ำ หลักพัน หลักหมื่น อาจไม่ได้รับการดูแลจากเจ้าของแฟรนไชส์เท่าที่ควร เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ไม่มีรายได้จากส่วนอื่นมาดูแลแฟรนไชส์ซี ยิ่งซื้อแฟรนไชส์ได้ง่าย ยิ่งมีโอกาสล้มเหลวได้ง่าย

2.แฟรนไชส์ที่ขายระบบความสำเร็จของธุรกิจ เจ้าของแฟรนไชส์จะเก็บค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์แรกเข้า ค่าลิขสิทธิ์ และเปอร์เซ็นต์จากยอดขายในแต่ละเดือน (Royalty Fee) จากแฟรนไชส์ซี แฟรนไชส์เหล่านี้ใช้เงินลงทุนสูง หลักแสน หลักล้าน โดยเจ้าของแฟรนไชส์เหล่านี้จะสนับสนุนแฟรนไชส์ซีทุกอย่าง มีโอกาสล้มเหลวน้อยมาก

แต่คนไทยส่วนใหญ่คิดว่า การลงทุนแฟรนไชส์ที่ลงทุนต่ำ จะประสบความสำเร็จเร็วขึ้น ครึ่งเดือน หรือเดือนครึ่ง อีกทั้งไม่ต้องจ่ายเงินเปอร์เซ็นต์จากยอดขายให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ในแต่ละเดือนด้วย ถ้าใครที่คิดแบบนี้ถือว่าผิด

เพราะระบบแฟรนไชส์ที่ลงทุนสูง มีการจ่ายค่าต่างๆ ให้กับเจ้าของแฟรนไชส์ในแต่ละเดือน มีโอกาสประสบความสำเร็จสูงมาก ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องผ่านการอบรมในระยะเวลายาวนาน กว่าจะเปิดร้านได้ ยกตัวอย่าง 7-Eleven, N&B, เชสเตอร์, ไก่ห้าดาว, กาแฟอินทนิล, กาแฟมวลชน ฯลฯ แฟรนไชส์เหล่านี้จะมีทำเลทอง ที่เหมาะสำหรับเปิดร้านอยู่แล้ว

g3

3.ขาดการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน

ในระบบแฟรนไชส์เรื่องของ “เงินทุนหมุนเวียน” มีความสำคัญอย่างมากในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ก่อนลงทุนผู้มซื้อแฟรนไชส์ต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อย 2-3 เดือนอย่างต่ำ เป็นค่าแรงลูกน้อง ค่าวัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าต่างๆ เป็นต้น

ที่สำคัญปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้คนซื้อแฟรนไชส์ไม่ประสบความสำเร็จ คือ ไม่มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เมื่อขายของได้ก็นำเงินไปใช้ในส่วนอื่นหมด จนไม่เหลือเงินในการไปซื้อวัตถุดิบในการทำธุรกิจใหม่ ตรงนี้ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะต้องตระหนักและให้ความสำคัญมากที่สุด

เจ้าของแฟรนไชส์

g2

4.เจ้าของแฟรนไชส์ ไม่ให้การสนับสนับสนุน ปล่อยลอยแพแฟรนไชส์ซี

ระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง เจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์จะต้องให้การส่งเสริม สนับสนุนทุกอย่างแก่แฟรนไชส์ซี เพื่อให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับแบรนด์

รวมถึงให้คำแนะนำ ปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับแฟรนส์ไชส์ซี โดยแฟรนไชส์ซีมีหน้าที่ทำตามระบบของแฟรนไชส์ซอร์ และตั้งใจบริหารธุรกิจให้สำเร็จก็เพียงพอ แต่บางครั้งที่เป็นสาเหตุให้แฟรนไชส์ซีไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ ก็มาจากเจ้าของแฟรนไชส์ที่ไม่ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์อย่างเต็มที่

อาจเป็นเพราะเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ลงทุนต่ำ ไม่เรียกเก็บเปอร์เซ็นต์ยอดขายเดือน ทำให้ไม่มีเงินไปเลี้ยงดูแฟรนไชส์ซี ขายไปแล้วก็ปล่อยตามมีตามเกิด ตรงนี้ก็มีส่วนทำให้คนซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก

สรุปก็คือ สาเหตุที่ทำให้คนไทยที่นิยมซื้อแฟรนไชส์ไปแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จ มาจาก 2 ส่วน คือ ตัวผู้ซื้อแฟรนไชส์เอง และเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์

โดยเฉพาะผู้ซื้อแฟรนไชส์ ถือเป็นสาเหตุหลักทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ประสบความล้มเหลว เพราะไม่ความรู้ ไม่มีทักษะ ไม่ถนัดธุรกิจที่ทำ ซื้อเพื่อตามกระแสเท่านั้น ไม่มุ่งมั่นทำธุรกิจยะยาว สุดท้ายก็เจ๊งครับ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

Untitled-1
อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ goo.gl/Vb1Rnv
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน goo.gl/7RnTJN

Franchise Tips

  1. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ขาดทักษะ ไม่ถนัดในธุรกิจที่ทำ
  2. ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เข้าใจในระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง
  3. ขาดการบริหารจัดการเงินทุนหมุนเวียน
  4. เจ้าของแฟรนไชส์ ไม่ให้การสนับสนับสนุน ปล่อยลอยแพแฟรนไชส์ซี 

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช