ทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอดยากจริงหรือ?

ใครอยากทำแฟรนไชส์ ในยุคโควิด-19 ให้รอด และตอบโจทย์คนตกงาน คนว่างงาน รวมถึงคนอยากมีรายได้เพิ่ม ต้องทำงานหนักมากขึ้น และปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้เข้ากับสถานการณ์

เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น แม้ว่าธุรกิจจะดีหรือเจ้าของแฟรนไชส์จะเก่งแค่ไหน แต่ถ้าขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจไปไม่รอด มาดูกันว่าการ ทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอด ยากหรือไม่ ต้องทำอย่างไร วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ

1. สินค้าตอบโจทย์ผู้บริโภค

ทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอด

ก่อนเป็นเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ อันดับแรกจะต้องอ่านตลาดให้ออก และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคเสียก่อน ซึ่งผู้บริโภคนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคลทั่วไปเท่านั้น แต่หมายความถึงกลุ่มผู้ซื้อ ที่จะเป็นลูกค้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์

ขณะเดียวกัน สินค้าหรือบริการต้องมีจุดเด่นแตกต่างกับผู้อื่น เพราะการที่มีสินค้าและบริการแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในธุรกิจเดียวกัน ย่อมทำให้กลายเป็นจุดเด่น และมีโอกาสเพิ่มขึ้น ในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ที่สำคัญก็คือจุดเด่นที่แตกต่างนั้น ต้องเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภคด้วย เช่น ถ้าเป็นอาหารก็ต้องรสชาติอร่อย บริการแตกต่าง

2. ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน

26

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี น่าลงทุน ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ระบบการบริการจัดการด้านกระบวนการผลิตสินค้า รูปแบบการบริการ การสต็อก ระบบไอทีในการจัดการการฝึกอบรม ตลอดจนมีคู่มือในการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องนำเสนอระบบการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา เพื่อสร้างการเติบโตให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปพร้อมๆ บริษัทแม่แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนระบบการบริการจัดภายในร้าน การทำตลาด การประชาสัมพันธ์ การสร้างแบรนด์ การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคตลอดเวลา ฯลฯ

3. ธุรกิจมีรายได้และเติบโต

25

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีคนอยากซื้อไปลงทุน คือ ธุรกิจที่กำลังเติบโต เพราะฉะนั้น เจ้าของกิจการแฟรนไชส์จะต้องสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ธุรกิจมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลประกอบการที่ดีแก่ธุรกิจแฟรนไชส์

แต่ทั้งนี้ การสร้างธุรกิจให้มีการเติบโตในระบบแฟรนไชส์ ไม่ได้หมายถึงการเติบโตของจำนวนสาขา หากแต่เป็นการเติบโตของปริมาณความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในตลาด กล่าวคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม หากมีปริมาณลูกค้าและความต้องการ หรือชื่อเสียง ความนิยมชมชอบของผู้บริโภคที่มากกว่า ย่อมเป็นที่สนใจของนักลงทุน

4. ธุรกิจหรือกิจการมีชื่อเสียง

24

ชื่อเสียงที่ดีของธุรกิจแฟรนไชส์ ถือได้ว่าเป็นลักษณะที่ดีและสำคัญที่สุดข้อหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สนใจซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปลงทุน โดยชื่อเสียงของธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ ดูได้จากความนิยมชมชอบของผู้บริโภคต่อธุรกิจโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า ระบบและรูปแบบการให้บริการ รวมถึงความสามารถของบุคลากร ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะถูกผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปพิจารณาในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปลงทุนก่อนแบรนด์อื่นๆ

5. ระบบการทำงานไม่ยุ่งยาก

23

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุน ส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือ Know-How ที่ไม่ยุ่งยาก เป็นระบบแบบแผน ผ่านการลองผิดลองถูก จนกระทั่งประสบความสำเร็จมาแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย

เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด ระบบบัญชี การฝึกอบรม การสต็อกสินค้า เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในทุกๆ สาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

6. เงินลงทุนไม่สูง และทำเลดี

22

เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ ในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุนของคนที่อยากมีอาชีพ อยากมีรายได้ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องนำเสนอรูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ให้มีความชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องของค่าแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงงบประมาณเงินลงทุนที่จะใช้ในการเปิดร้าน ถ้าเงินลงทุนหลักพันถึงหมื่นบาท รวมถึงทำเลนอกห้าง ย่านชุมชน ขายผ่านเดลิเวอรี่ได้ ก็อาจจะมีนักลงทุนมาซื้อแฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น

นั่นคือ แนวทางการ ทำแฟรนไชส์ให้อยู่รอด และขายดี ในยุคโควิด-19 หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ไม่มากก็น้อยครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2TEZMnJ

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช