ทำแฟรนไชส์อย่างไรให้รอด ในยุคโควิด-19

ใครที่ อยากทำแฟรนไชส์ ในยุคโควิด-19 เพื่อตอบโจทย์คนที่กำลังตกงาน คนว่างงาน คนอยากมีรายได้เพิ่ม ต้องศึกษารายละเอียดต่างๆ อย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในธุรกิจมากขึ้น

แม้ว่าธุรกิจจะดีหรือเจ้าของแฟรนไชส์จะเก่งแค่ไหน แต่ถ้าขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจไปไม่รอด!!!! วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีแนวทางการ ทำแฟรนไชส์อย่างไร ให้รอดและขายดีในยุคโควิด-19 มาฝากครับ

1. สินค้าตอบโจทย์ผู้บริโภค

ทำแฟรนไชส์อย่างไร

ภาพจาก facebook.com/sushi8899

ก่อนเป็นเจ้าของกิจการแฟรนไชส์ อันดับแรกจะต้องอ่านตลาดให้ออก และเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคเสียก่อน ซึ่งผู้บริโภคนั้น ไม่ได้จำกัดเฉพาะบุคคลทั่วไปเท่านั้น แต่หมายความถึงกลุ่มผู้ซื้อ ที่จะเป็นลูกค้าของธุรกิจหรือแฟรนไชส์

ขณะเดียวกัน สินค้าหรือบริการต้องมีจุดเด่นแตกต่างกับผู้อื่น เพราะการที่มีสินค้าและบริการแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในธุรกิจเดียวกัน ย่อมทำให้กลายเป็นจุดเด่น และมีโอกาสเพิ่มขึ้น ในการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ที่สำคัญก็คือจุดเด่นที่แตกต่างนั้น ต้องเป็นที่ต้องการของตลาดและผู้บริโภคด้วย เช่น ถ้าเป็นอาหารก็ต้องรสชาติอร่อย บริการแตกต่าง

2. ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน

5

ภาพจาก facebook.com/BomberDogTHAI

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดี น่าลงทุน ต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ระบบการบริการจัดการด้านกระบวนการผลิตสินค้า รูปแบบการบริการ การสต็อก ระบบไอทีในการจัดการการฝึกอบรม ตลอดจนมีคู่มือในการปฏิบัติงาน

นอกจากนี้ เจ้าของแฟรนไชส์ต้องนำเสนอระบบการสนับสนุนผู้ซื้อแฟรนไชส์ตลอดอายุสัญญา เพื่อสร้างการเติบโตให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปพร้อมๆ บริษัทแม่แฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนระบบการบริการจัดภายในร้าน การทำตลาด การประชาสัมพันธ์ การสร้างแบรนด์ การพัฒนาสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคตลอดเวลา ฯลฯ

3. ธุรกิจมีรายได้และเติบโต

4

ภาพจาก facebook.com/BESTExpressThailand

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีคนอยากซื้อไปลงทุน คือ ธุรกิจที่กำลังเติบโต เพราะฉะนั้น เจ้าของกิจการแฟรนไชส์จะต้องสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง ธุรกิจมีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลประกอบการที่ดีแก่ธุรกิจแฟรนไชส์

แต่ทั้งนี้ การสร้างธุรกิจให้มีการเติบโตในระบบแฟรนไชส์ ไม่ได้หมายถึงการเติบโตของจำนวนสาขา หากแต่เป็นการเติบโตของปริมาณความต้องการของลูกค้าที่มีอยู่ในตลาด กล่าวคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ใดก็ตาม หากมีปริมาณลูกค้าและความต้องการ หรือชื่อเสียง ความนิยมชมชอบของผู้บริโภคที่มากกว่า ย่อมเป็นที่สนใจของนักลงทุน

4. ธุรกิจหรือกิจการมีชื่อเสียง

3

ภาพจาก facebook.com/kamukamu.tea

ชื่อเสียงที่ดีของธุรกิจแฟรนไชส์ ถือได้ว่าเป็นลักษณะที่ดีและสำคัญที่สุดข้อหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สนใจซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปลงทุน โดยชื่อเสียงของธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณ ดูได้จากความนิยมชมชอบของผู้บริโภคต่อธุรกิจโดยรวม

ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้า ระบบและรูปแบบการให้บริการ รวมถึงความสามารถของบุคลากร ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะถูกผู้ซื้อแฟรนไชส์นำไปพิจารณาในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ของคุณไปลงทุนก่อนแบรนด์อื่นๆ

5. ระบบถ่ายทอด Know How ชัดเจน

2

ภาพจาก facebook.com/Fivestarbusiness

ผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุน ส่วนใหญ่จะเลือกลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์ ที่มีระบบการถ่ายทอดองค์ความรู้ หรือ Know-How ที่เป็นระบบแบบแผน ผ่านการลองผิดลองถูก จนกระทั่งประสบความสำเร็จมาแล้ว สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย

เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด ระบบบัญชี การฝึกอบรม การสต็อกสินค้า เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในทุกๆ สาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน

6. เงินลงทุนไม่สูง และทำเลดี

1

ภาพจาก กะหรี่ปั๊บไส้ไก่ สูตรแชมป์ประเทศไทย

เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่สำคัญ ในการตัดสินใจเลือกซื้อแฟรนไชส์ไปลงทุนของคนที่อยากมีอาชีพ อยากมีรายได้ ดังนั้น เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องนำเสนอรูปแบบการลงทุนแฟรนไชส์ให้มีความชัดเจน

โดยเฉพาะเรื่องของค่าแฟรนไชส์แรกเข้า (Franchise Fee) รวมถึงงบประมาณเงินลงทุนที่จะใช้ในการเปิดร้าน ถ้าเงินลงทุนหลักพันถึงหมื่นบาท รวมถึงทำเลนอกห้าง ย่านชุมชน ขายผ่านเดลิเวอรี่ได้ ก็อาจจะมีนักลงทุนมาซื้อแฟรนไชส์ได้เร็วขึ้น

นั่นคือแนวทางการ ทำแฟรนไชส์อย่างไร ให้รอดและขายดี ในยุคโควิด-19 หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่กำลังขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ไม่มากก็น้อยครับ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Franchise Tips

  1. สินค้าตอบโจทย์ผู้บริโภค
  2. ระบบแฟรนไชส์มาตรฐาน
  3. ธุรกิจมีรายได้และเติบโต
  4. ธุรกิจหรือกิจการมีชื่อเสียง
  5. ระบบถ่ายทอด Know How ชัดเจน
  6. เงินลงทุนไม่สูง และทำเลดี

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3c3eY46

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช