ทำอย่างไร ให้แฟรนไชส์ขายง่ายในยุคโควิด-19

การทำธุรกิจในยุคโควิด-19 มีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานต่างๆ ของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาด ร้านค้าต่างๆ ต้องปิดให้บริการชั่วคราว หรือเปลี่ยนให้ซื้อกลับไปทานที่บ้าน

และหากใครที่จะขยับขายธุรกิจในช่วงนี้ก็อาจทำได้ยากลำบากหน่อย แต่หากเป็นธุรกิจแฟรนไชส์อาจจะง่ายกว่าธุรกิจอื่นๆ เพราะคนว่างงานอยากมีรายได้จากการเปิดร้านขายอาหาร เครื่องดื่ม เบเกอรี่

ซึ่งแฟรนไชส์ที่น่าจะได้รับความนิยมจากผู้ซื้อแฟรนไชส์ ต้องมีขนาดเล็ก นอกห้าง วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อแนะนำในการทำแฟรนไชส์ให้เป็นแบรนด์ที่ถูกเลือกในช่วงโควิด-19

1.รูปแบบของร้านมีความโดดเด่น

ทำอย่างไร

ภาพจาก facebook.com/pizzanpizzath/

รูปแบบของร้านมีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ การตกแต่งสวยงาม ใช้พื้นที่ในการเปิดร้านน้อย หากใครจะขายแฟรนไชส์ขนาดเล็ก อย่างแรกต้องสร้างและออกแบบร้านให้มีความโดดเด่น สีสะดุดตา มีความเป็นเอกลักษณ์ ผู้บริโภคมองเห็นรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นร้านขายอะไร ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม อาหาร เบเกอรี่ ที่สำคัญโลโก้ต้องชัดเจน ดึงดูด จำง่าย เช่น พิซซ่า แอนด์ พิซซ่า , ชิคชอน ไก่กรอบเกาหลี , เลอมง ราเมง , มารุชา , มินิบาร์ แฟรนไชส์ น้ำม็อกเทลอินเตอร์ , ร้านใส่นม , คามุ คามุ ที , ปังอั้ยยะ ปังปิ้งไส้เยิ้ม

2. สินค้าและบริการตอบโจทย์วงกว้าง

24

ภาพจาก facebook.com/franchiserosdednoodle/

แฟรนไชส์ขนาดเล็กส่วนมากจะเน้นการขายสินค้า ส่วนมาเป็นของกิน เช่น ก๋วยเตี๋ยว ผัดไทย ชาเย็น กาแฟ สเต็ก เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะขายได้ง่าย เพราะผู้บริโภครู้จักกันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะไปแห่งหนตำบลใด ก็ขายสินค้าเหล่านี้ ดังนั้น เมื่อคุณมาซื้อแฟรนไชส์จากคุณไปเปิดในจังหวัดของเขา สินค้าและบริการของคุณก็จะต้องขายได้ง่าย ทุกคนกินได้ สัมผัสได้ เช่น รสเด็ด ก๋วยเตี๋ยวกระทุ่มแบน , นาเนีย สเต็ก , ฮิปสเตอร์ สเต็ก , โชกุน สเต็ก , เกาเหลาเนื้อ ธัญรสธงไชย ผัดไทย , ภัทรินทร์ฟู้ดส์ ศูนย์รวมแฟรนไชส์ไอศกรีม

3. สินค้าและบริการขายราคาไม่แพง

23

ภาพจาก facebook.com/lookchingiantfc/

เมื่อสินค้าและบริการของแบรนด์แฟรนไชส์คุณเป็นรู้จักในวงกว้างแล้ว หากจะให้แฟรนไชส์ขนาดเล็กของคุณขายง่าย มีคนอยากซื้อไปเปิด สินค้าและบริการจะต้องราคาไม่แพงด้วย เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์ไปจะขายได้ง่าย เช่น ถ้าซื้อแฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดไปเปิด ขายลูกค้าละ 5 บาท ก็จะทำให้ผู้บริโภคไม่อยากซื้อ อาจจะขายลูกละบาท ทำให้ผู้บริโภคสัมผัสได้ เป็นต้น เช่น ไจแอ้น ลูกชิ้นปลาระเบิดซูโม่ ลูกชิ้นปลาระเบิด , อู้ฟู่ ลูกชิ้นปลาเยาวราช , ต.เนื้อย่าง , ชอบชา , บั๊บ , โนมิชา

4. ปรับรูปแบบร้านให้มีขนาดเล็ก

22

ภาพจาก facebook.com/lookchingiantfc/

แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะได้รับความนิยม เพราะลงทุนง่าย มีกระบวนการผลิตสินค้าไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพราะอย่างที่บอกไป ร้านแฟรนไชส์จะใช้พื้นที่น้อย ใช้คนน้อย อาจจะ 1 หรือ 2 คน ความเสี่ยงจะต่ำ และหากมีระบวบการผลิตสินค้าซับซ้อน ก็จะไม่ค่อยมีคนซื้อไปเปิด ดังนั้น แฟรนไชส์ขนาดเล็ก ลงทุนต่ำ จะขายดี เช่น บอมเบอร์ด๊อก , กุ้งอบวุ้นเส้นเศรษฐี (เห็ดหอม) , เอชเจ เฟรชมิลค์ ปังหยา-นมสด , คาเฟ่ ชากัญ , กาแฟเขาทะลุ ชุมพร , ฟันนี่ ฟรายส์ , ชีสซี่ฟราย สแน็ค

5. ทำเลที่ตั้งตามแหล่งคนพลุกพล่าน

21

ภาพจาก facebook.com/Givemecocoa/

แฟรนไชส์จะต้องสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย สถานที่ตั้งร้านจะต้องอยู่ตามตลาดทั่วไป แหล่งชุมชนที่อยู่อาศัย แหล่งคนพลุกพล่าน เพราะจะทำให้ขายสินค้าได้ง่าย คนเดินผ่านสามารถหยิบจับซื้อได้ทันที ไม่ใช่ทำเลอยู่ตามห้างที่ค่าเช่าแพงๆ เช่น กีฟว มี โกโก้ , ควิก เซอร์วิส , เบสท์ เอ็กซ์เพรส , ฟาส เดลิเวอรี่ , ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส , ดับเบิ้ลยู บาย วิซาร์ด , เจ วอช ซิสเท็ม , อินเตอร์ เอ็กซ์เพรส โลจิสติกส์ , ร้านน้องฟ้า เซอร์วิส

6. ใช้เงินลงทุนน้อย คืนทุนได้เร็ว

20

ภาพจาก facebook.com/sushi8899/

แฟรนไชส์ที่จะขายได้ดีในยุคโควิด-19 ใช้เงินลงทุนไม่มาก เหมาะสำหรับคนที่อยากมีรายได้ คนที่อยากอาชีพ คนตกงาน ซึ่งคนเหล่านี้ไม่สามารถหาเงินหลักแสนมาลงทุนได้ ดังนั้น แฟรนไชส์ขนาดเล็กจะต้องใช้เงินลงทุนหลักพันไปจนถึงหลักหมื่นกว่าๆ จะทำให้ขายแฟรนไชส์ได้ง่าย คนอยากมีอาชีพจึงอยากซื้อไปเปิด เพราะคืนทุนได้เร็วภายใน 1-3 เดือน เป็นต้น เช่น ซูชิหมีพ่นไฟ

ทั้งหมดเป็น 6 เคล็ดลับในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ให้ขายดีในยุคโควิด-19 ต้องเป็นแฟรนไชส์ขนาดเล็ก ให้คนอยากซื้อแฟรนไชส์ไปเปิด ใครที่เป็นเจ้ากิจการอยากขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว ไม่อยากสร้างระบบแฟรนไชส์ให้ยุ่งยากซับซ้อน ลองพิจารณาแฟรนไชส์สร้างอาชีพดู เพราะใช้เงินลงทุนไม่มาก คืนทุนเร็ว


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2RCeefy

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช