ถอดบทเรียน ดารุมะ ซูชิ แฟรนไชส์

เหตุการณ์ “แฟรนไชส์ทิพย์” “คูปองทิพย์” ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ หากดูในมิติของคนที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ จะพบว่า เหยื่อ/ผู้เสียหาย ซึ่งในกรณีนี้ คือ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ ยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบแฟรนไชส์ โดยเฉพาะเรื่องของ “การลงทุนแต่เงิน แล้วรอรับผลตอบแทน”

ในขณะเดียวกัน เจ้าของแฟรนไชส์ก็อาศัยความไม่รู้นี้ หากินโดยการหลอกเหยื่อไปเรื่อยๆ โดยใช้คำว่า “แฟรนไชส์” เป็นคำบังหน้า และอาศัย “กลโกง” เป็นแท้จริงแล้ว ระบบแฟรนไชส์ คือ การที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ “ต้อง” มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร้าน

และจะต้องได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์/ความรู้ หรือที่เราๆเรียกกันว่า Know How จากเจ้าของแฟรนไชส์ เรียกได้ว่า รู้แทบทุกอย่างที่เราจำเป็นต้องรู้ในฐานะที่เราสวมบทบาทเป็น Business Owner อีก 1 สาขาของเค้า ดังนั้น หาก (สมมติ) ว่าเราเป็นนักลงทุน หรือ ผู้ที่คิดว่าจะซื้อแฟรนไชส์ (ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ไหน) จำเป็นต้องตรวจสอบ เจ้าของแฟรนไชส์/บริษัทฯ ตามนี้

สิ่งที่ต้องรู้ก่อนจ่ายเงินค่าแฟรนไชส์

ดารุมะ ซูชิ แฟรนไชส์

ภาพจาก https://bit.ly/3yng7zc

1. เปิดบริษัทฯเมื่อไหร่ และดำเนินธุรกิจมามากพอหรือไม่ กี่ปีมาแล้ว

2. ก่อนหน้าที่บริษัทฯ จะมาทำธุรกิจนี้ เคยทำธุรกิจอะไรมาก่อน

3. เจ้าของแฟรนไชส์/CEO/กรรมการบริษัท เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ เคยต้องโทษคดีหรือไม่ พึงตรวจสอบประวัติทั้งหมด

4. เจ้าของแฟรนไชส์/CEO/กรรมการบริษัท มีความรู้/เชี่ยวชาญ/ชำนาญมาจากไหน เชื่อถือได้มากน้อยเพียงไร

5. พยายามพูดคุย สอบถามวิสัยทัศน์เจ้าของแฟรนไชส์/CEO/กรรมการบริษัท ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ว่าเค้าจะยังดำเนินธุรกิจนี้อยู่หรือไม่ นานแค่ไหน

6. ทีมงานของเค้า มีจำนวนกี่คน แยกเป็นฝ่ายใดบ้าง และขอให้คิดต่อด้วยว่า จากจำนวนคนที่เค้ามี จะเพียงพอต่อการ Support สาขาแฟรนไชส์ ที่มีอยู่ และจะมีเพิ่มเติมอีกหลายสาขาในอนาคตหรือไม่ เจ้าของแฟรนไชส์เตรียมเรื่องนี้อย่างไร

4

ภาพจาก https://bit.ly/3yng7zc

7. ระยะเวลาสัญญา ถือเป็นข้อสำคัญในการพิจารณาเรื่องจุดคุ้มทุน ระยะเวลาในการคืนทุน

8. เงื่อนไขในการลงทุนแฟรนไชส์นั้น ชัดเจน ถูกต้องหรือไม่/เอารัดเอาเปรียบเราหรือไม่ในอนาคต เช่น การสั่งซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงเกินจริง หรือ การเปลี่ยนเงื่อนไขการลงทุนบางอย่าง โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า คุณจะรับได้หรือไม่

9. สัญญาแฟรนไชส์ที่คุณได้รับ มี Hidden Agenda แอบแฝงหรือไม่ ในบางข้อไม่เคลียร์ อย่าปล่อยให้ค้างคา สอบถามจนมั่นใจ หรือดีที่สุด ขอรับคำปรึกษา/คำแนะนำจากทนายความ ผู้มีความรู้ด้านกฎหมายช่วยดูเอกสารสัญญาให้ละเอียด จนมั่นใจ100%

10. ในบางมุมอาจมีความเสี่ยงที่เจ้าของแฟรนไชส์ไม่เคยบอกคุณ คุณคิดว่าจะมีอะไรบ้างในอนาคต หากเปิดร้านแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แผน B แผน C คืออะไร

สิ่งที่ต้องตรวจสอบก่อนซื้อแฟรนไชส์

3

ภาพจาก https://bit.ly/3NFtcIF

1. เจ้าของแฟรนไชส์นั้น ประกอบธุรกิจในนามบุคคล หรือ นิติบุคคล ให้เปิดเผยรายชื่อกรรมบริษัท และควรชี้แจงข้อมูลได้

2. งบการเงินที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องรู้ ควรประเมินสถานะทางการเงินของแฟรนไชส์ซอร์ โดยตรวจสอบย้อนหลังไปประมาณ 3 ปี ซึ่งข้อมูลนี้สามารถขอได้จากแฟรนไชส์ซอร์โดยตรง นอกจากนี้ควรสอบถามเกี่ยวกับการขาดทุนที่เกิดขึ้น

3. เอกสารการเปิดเผยข้อมูลทางการเงิน เช่น ข้อมูลการยื่นล้มละลาย ข้อมูลการฟ้องร้องที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแฟรนไชส์ซอร์ หรือผู้บริหารและค่าใช้จ่ายที่อาจไม่ชัดเจน

4. พูดคุยกับแฟรนไชส์ซีรายอื่นอย่างน้อย 10 ราย เกี่ยวกับข้อดี ข้อเสีย และค่าใช้จ่ายแอบแฝง ตลอดจนระยะเวลาในการทำกำไร ปัญหาอุปสรรคในการทำธุรกิจ สำนักงานใหญ่ให้การสนับสนุนแค่ไหน

5. แบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับในตลาด, มีการฝึกอบรมที่ดี, มีแนวทางการรับพนักงานที่เป็นระบบ บริการออกแบบร้าน เป็นต้น

6. บริษัทแฟรนไชส์มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน รวมถึงช่องทางต่างๆ ที่ใช้ในการติดต่อบริษัท

2

ภาพจาก https://bit.ly/3yng7zc

7. หน้าที่ของผู้ซื้อแฟรนไชส์ หน้าที่ของบริษัทแม่คืออะไร เพราะผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์ส่วนใหญ่คิดว่า ถ้าซื้อแฟรนไชส์แล้วไม่ต้องลงแรงอะไรเลย รอรับผลกำไรอย่างเดียว แต่จริงๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องเป็นผู้ประกอบการ และบริหารจัดการร้านเอง

8. ก่อนตัดสินใจจำเป็นต้องดูว่าสินค้าของธุรกิจแฟรนไชส์นั้นๆ มีฐานลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มใด สามารถเช็คกระตอบรับหรือความคิดเห็นจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายว่าเขาพูดถึงสินค้าและบริการอย่างไรบ้าง

9. บริษัทแฟรนไชส์มีการพัฒนาระบบของธุรกิจอย่างไร มีการออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องหรือไม่

10. เยี่ยมชมบริษัท ถ้าเป็นไปได้มากกว่าหนึ่งครั้ง จะเป็นผลดีอย่างมากเนื่องจากเราจะสามารถตรวจสอบการจัดการภายใน การจัดการพนักงานและระบบสนับสนุนต่างๆ

11. ให้แฟรนไชส์ซอร์มีการชี้แจงเงื่อนไขหลักๆ ที่สำคัญ เช่น ค่าใช้จ่ายต่างๆ เงินรายงวด ระยะเวลาของสัญญา สิทธิในขอบเขตการประกอบการอื่นๆ ทั้งนี้ ถ้าหากเป็นไปได้ ควรเปรียบเทียบกันระหว่างแฟรนไชส์ที่คล้ายกันหลายๆ บริษัท

1

ภาพจาก https://bit.ly/3yng7zc

นั่นคือ สิ่งที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะต้องเรียนรู้ระบบแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง ก่อนที่จะซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งกรณี “ดารุมะ ซูชิ” แม้ว่าเจ้าของแบรนด์จะบอกว่าเป็นแฟรนไชส์ แต่ถ้าผู้ซื้อแฟรนไชส์มีความรู้เรื่องระบบแฟรนไชส์ และมีการตรวจสอบประวัติบริษัทฯ และเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์อย่างละเอียด ก็อาจจะไม่ต้องสูญเสียเงินลงทุนหลายล้านบาทเหมือนเช่นกรณีนี้


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/39Zd9Yl

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช