ตีแผ่! Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

ในเวลานี้คำว่า Soft Power ได้มีคนพูดถึงกันอย่างแพร่หลาย กลายเป็นคำที่มีอิทธิพลอย่างมากในยุคนี้ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่า Soft Power คืออะไร มีความสำคัญและมีบทบาทอย่างไรในแวดวงธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไทย วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบ

Soft Power คือ การใช้ความสามารถเพื่อสร้างอิทธิพลให้ผู้อื่นยอมรับ พร้อมสร้างกระแสให้กลายเป็นที่ต้องการของลูกค้าได้อย่างกว้างขวาง ด้วยการค่อยๆ ดึงความสนใจ เปลี่ยนมุมมองและทัศนคติของผู้บริโภค ซึ่งความสำเร็จที่มาจากการปลูกฝังจุดขายของแต่ละธุรกิจให้ลูกค้ารับรู้ จะกลายเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางความสำเร็จของธุรกิจต่อไป

หากพูดถึง Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่คนต่างชาติอาจรู้จักและคุ้นเคยมากที่สุด ก็คือ อาหารไทย มัสมัน ผัดไทย ผัดซีอิ้ว แกงเขียวหวาน ต้มยำกุ้ง มวยไทย สปาฯลฯ แต่ร้านอาหารแบบนี้มีแฟรนไชส์น้อยมาก

ตีแผ่ Soft Power

ภาพจาก https://bit.ly/3rTw6RX

แต่รู้สึกหรือไม่ว่า ร้านอาหารในเมืองไทยที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ส่วนใหญ่แล้วเป็นร้านอาหารแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดของต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น เคเอฟซี แมดโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง พิซซ่าฮัท ซึ่งแฟรนไชส์ร้านอาหารเหล่านี้ถือเป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะมีการส่งออกไปทั่วโลก และทั่วโลกให้การยอมรับ

ถ้าฉายให้เห็นภาพกรณีในประเทศไต้หวัน แฟรนไชส์ชานมไข่มุก ถือเป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ของประเทศไต้หวัน เพราะมีการส่งออกไปทั่วโลกเช่นเดียวกัน หรือร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านอาหารเกาหลี ที่เราเห็นมากมายในประเทศไทย ก็ถือเป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี เพราะได้รับความนิยมในประเทศเอเชีย แม้จะยังไม่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่ก็ถือเป็นแฟรนไชส์ท้องถิ่นที่สามารถก้าวออกไปเติบโตในตลาดต่างประเทศได้

23

ภาพจาก https://bit.ly/3KeSOKE

สำหรับ Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ประเทศไทยนั้น ปัจจุบันถือว่ายังมีน้อยและสู้ต่างชาติไม่ได้ โดยเฉพาะแฟรนไชส์ร้านอาหารไทยที่ขายอาหารไทยๆ โดยเฉพาะ กลับไม่ค่อยมีแฟรนไชส์ แต่ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศก็เห็นจะมีไม่กี่แบรนด์อย่าง “แบล็คแคนยอน” ขายอาหารไทยและกาแฟ, คาเฟ่ อเมซอน ขายกาแฟ, อินทนิน ขายกาแฟ ฯลฯ

22

ภาพจาก https://bit.ly/3rNGJp5

หรือแบรนด์ร้านอาหาร Blue Elephant ก็ไม่ได้เป็นแบรนด์ไทยอย่างแท้จริง เจ้าของร้านเป็นคนต่างชาติมีภรรยาไทย หรือร้าน Thai Express มีสาขาอยู่ในหลายประเทศแต่ผู้ก่อตั้งเป็นคนสิงคโปร์ ปัจจุบันขายกิจการให้กลุ่มไมเนอร์ฯ เรียบร้อยแล้ว ส่วนธุรกิจมวยไทยที่มีชื่อเสียงในสายตาชาวต่างชาติก็ไม่เป็นแฟรนไชส์ แค่เปิดโรงเรียนสอนในต่างประเทศเท่านั้น

21

ภาพจาก https://bit.ly/3ER9WVM

สำหรับร้านอาหารไทยที่เป็น Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์มีจำนวนน้อย และไม่ค่อยประสบความสำเร็จ มีสาเหตุมาจากความหลากหลายของเมนูอาหารในร้าน โดยร้านอาหารไทยแต่ละร้านจะมีเมนูอาหารเยอะเกินไป ทำให้บางครั้งไม่สามารถควบคุมมาตรฐานในเรื่องของรสชาติได้เหมือนทุกร้าน อีกทั้งในแต่ละช่วงสถานการณ์ต้นทุนวัตถุดิบจะสูง

ขณะเดียวกัน ร้านอาหารไทยส่วนใหญ่จะพึ่งพาพ่อครัวแม่ครัวเพียงคนเดียว เมื่อพ่อครัวแม่ลาออกไปหรือไปเปิดร้านเอง คนอื่นที่เหลืออยู่ก็ทำอาหารแทนไม่ได้ ทำให้ลูกค้าหาย ยอดขายตก ซึ่งแตกต่างจากแฟรนไชส์ร้านอาหารแบรนด์ต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเคเอฟซี แมคโดนัลด์ เบอร์เกอร์คิง ใช้คนทำอาหารที่ได้รับการฝึกอบรมมาเท่านั้น

20

ภาพจาก https://bit.ly/3ELxQln

นอกจากนี้ ร้านอาหารไทยยังขาดระบบงานที่เป็นมาตรฐาน มีขั้นตอนการทำอาหารยุ่งยาก หลายขั้นตอนกว่าจะได้ 1 เมนู เมื่อขายแฟรนไชส์ให้คนอื่นแล้วคนอื่นทำตามยาก อีกทั้งผู้ประกอบการยังขาดความรู้ในเรื่องระบบแฟรนไชส์

นั่นคือ Soft Power ในธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ แบรนด์ที่ก้าวออกไปต่างประเทศได้ ก็ไปในฐานะตัวบุคคล ไม่ได้ไปในฐานะ Soft Power ของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก hhttps://bit.ly/3rVXSgt

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช