ตลาดสดยุค New Nomal การเปลี่ยนแปลงที่ต้องรู้!

คาดการณ์ว่าหลังสถานการณ์ COVID 19 คลี่คลายสิ่งที่ทิ้งไว้คือ “ความเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของคนส่วนใหญ่” ที่ผู้เชี่ยวชาญเรียกว่าเป็น New Nomal ซึ่งจะมีผลกระทบในทุกธุรกิจ รวมถึงไลฟ์สไตล์และความรู้สึกของคน

เป็นการฝังรากลึกลงในความรู้สึกเพราะคนส่วนใหญ่ยังเข็ดขยาดและหวาดกลัวต่ออันตรายของเชื้อ COVID 19 แต่ไม่ว่าจะกลัวแค่ไหน อย่างไร ชีวิตก็ต้องเดินหน้า ระหว่างกลัวติด COVID 19 ตาย กับ อดตาย เชื่อว่าคนเรากลัวอย่างหลังมากกว่า โดยเฉพาะบรรดาพ่อค้าแม่ค้าในตลาดต่างๆ ที่ตอนนี้ได้รับผลกระทบเต็มๆจากรายได้ที่ตกแบบฮวบฮาบอันเป็นผลจากรายได้ของคนส่วนใหญ่ลดลง และคนส่วนใหญ่ไม่อยากออกจากบ้านมาจับจ่ายใช้สอย

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าตลาดสดนับจากนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอีกมาก ตลาดไหนที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงหรือทำตามจะไม่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการได้ เรียกว่าต่อจากนี้จะเป็นตลาดสดยุค New nomal ที่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง

นิยามคำว่าตลาดในความหมายตามกฎกระทรวงว่าด้วยสุขลักษณะของตลาด แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 คือสถานที่ที่จัดขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว หรือตามวันนัด ไม่ว่าจะเป็นการจัดในสถานที่ของเอกชน หรือในที่ หรือทางสาธารณะ และไม่ว่าจะมีโครงสร้างอาคาร หรือจะเป็นบริเวณที่ไม่มีอาคารก็ตาม และมีองค์ประกอบ ดังนี้

  1. เป็นการชุมนุมผู้ค้า ผู้ขายสินค้าร่วมกัน
  2. สินค้านั้นต้องเป็นสินค้าประเภทอาหารสด ได้แก่ ผักสด ผลไม้ สัตว์เป็น หรือเนื้อสัตว์ที่ชำแหละแล้วเป็นสำคัญ ส่วนจะมีสินค้าอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม

ตัวเลขของตลาดสดในกรุงเทพและจำนวนแผงค้า

ตลาดสด

ภาพจาก bit.ly/2YbUOyN

ก่อนจะไปดูว่าตลาดสดยุค New Nomal ควรเป็นอย่างไร เราต้องรู้ก่อนว่าปัจจุบันมีจำนวนตลาดในกรุงเทพฯมากน้อยแค่ไหน และจากการใช้ฐานข้อมูลจาก 3 แหล่งข้อมูล คือ กองสุขาภิบาลอาหาร แหล่งทำเลขายของ และ Google map เพื่อรวบรวมแหล่งตลาดสดและตลาดนัดที่มีอยู่กรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่ามีตลาดสดทั้งหมด 1,120 แห่ง โดยแบ่งออกเป็น ตลาดนัด 250 แห่ง และตลาดสด 140 แห่ง ที่สำคัญ คือ พบว่าตลาดที่อยู่ในการควบคุมกำกับของรัฐ (กองสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย) จำนวน 350 แห่ง

ทั้งนี้หากโฟกัสเฉพาะในส่วนของกรุงเทพมหานครมีตลาดที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงานตลาดกรุงเทพมหานคร จำนวน 12 ตลาด ได้แก่ ตลาดประชานิเวศน์ 1 , ตลาดบางกะปิ , ตลาดหนองจอก , ตลาดราษฎร์บูรณะ , ตลาดรัชดาภิเษก , ตลาดอรุณอมรินทร์ , ตลาดสิงหา , ตลาดพระเครื่องวงเวียนเล็ก , ตลาดธนบุรี (สนามหลวง 2) , ตลาดเทวราช , ตลาดนัดจตุจักร , ตลาดนัดจตุจักร (มีนบุรี) และตลาดบางแคภิรมย์

โดยมีแผงค้ารวมทั้งสิ้นประมาณ 21,500 แผงค้า ในจำนวนนี้ตลาดนัดจตุจักรคือตลาดที่ใหญ่สุดมีแผงค้าทั้งหมด 10,334 แผง แบ่งออกเป็น 31 โครงการ โครงการ 1-30 มีแผงค้า 9,495 แผง ขายอาหารและเครื่องดื่ม หนังสือ ของสะสม สัตว์เลี้ยง เสื้อผ้ามือสอง โครงการ 31 เป็นแผงค้าต้นไม้ มีแผงค้า 839 แผง เป็นต้น

และหากโฟกัสแยกย่อยไปอีกจะพบว่าจำนวนตลาดที่ปรากฏไม่ใช่เพียงเท่านี้ ข้อมูลจากวิกิพีเดียระบุว่าในกรุงเทพมหานครมีตลาดรวมมากกว่า 74 แห่ง ตลาดน้ำมากกว่า 9 แห่ง หรือถ้ามองภาพรวมในตลาดทั่วประเทศข้อมูลจากกองส่งเสริมและบริหารระบบตลาด กรมการค้าภายใน ระบุว่า ภาคเหนือมี 88 แห่ง ภาคกลาง 110 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 134 แห่ง ภาคใต้ 33 แห่ง รวม 365 แห่ง แต่ถ้าสำรวจละเอียดจริงๆ เชื่อว่าตัวเลขจะมากกว่านี้

ข้อควรปฏิบัติสำหรับตลาดสดยุค New Nomal

อย่างที่ทราบว่าสังคมไทยต่อจากนี้คนจะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด มากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการตลาด พ่อค้าแม่ค้าในตลาด ก็ต้องร่วมกันเพื่อเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ค้าและผู้ซื้อของในตลาด

10

ภาพจาก bit.ly/3bK9KIr

  1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ไปตลาด
  2. ผ่านจุดคัดกรองที่ตลาดจัดไว้ทั้งผู้ค้าและผู้มาซื้อของ
  3. ล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง (อย่างน้อย 20 วินาที)
  4. ลดหรือเลี่ยงการสัมผัสระหว่างซื้อ-ขาย
  5. เว้นระยะห่างกันประมาณ 1-2 เมตร ทั้งผู้ค้าและผู้มาซื้อของ
  6. เมื่อมีอาการไอจามมีน้ำมูก เหนื่อยหอบ ให้ไปพบแพทย์ทันที
  7. ไม่ควรใช้มือหยิบสินค้าแต่ควรมีอุปกรณ์สำหรับคีบจับสินค้า
  8. อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งหลังจากกลับเข้าบ้าน

ข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าของตลาด

9

ภาพจาก bit.ly/2W7JYaf

  1. กำหนดการเข้าออกตลาดทางเดียวและตั้งจุดคัดกรองผู้เข้าพื้นที่ตลาดทุกคน
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้าและผู้ซื้อสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่เข้าพื้นที่ตลาด
  3. จัดจุดบริการแอลกอฮอล์ล้างมือให้ผู้ค้าและผู้ที่มาซื้อของในตลาด
  4. กำหนดระยะห่างระหว่างผู้ค้ากับผู้ซื้อประมาณ 1-2 เมตร
  5. จัดทำทำคำแนะนำหรือแบบประเมินตนเอง (Self-check) ในการดูแลตนเอง เพื่อให้ผู้ค้าได้มีการตรวจสอบสุขภาพเบื้องต้น
  6. ทำความสะอาดบริเวณพื้น ทางเดิน แผงจำหน่ายสินค้าอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ด้วยน้ำผงซักฟอกหรือน้ำยาทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโดยคลอรีนเข้มข้น
  7. งดการให้บริการพื้นที่นั่งในแผงจำหน่ายอาหารพร้อมบริโภค หรือบริเวณที่จำหน่ายอาหารพร้อมบริโภค
  8. เพิ่มช่องทางการชำระค่าบริการเป็นแบบ E-Payment เพื่อลดการสัมผัสธนบัตร
  9. มีการจัดการขยะที่เหมาะสมเพื่อป้องการแพร่กระจายของเชื้อโรค

8

ภาพจาก bit.ly/2xfGJW7

คาดการณ์ต่อไปอีกว่าต่อให้สถานการณ์คลี่คลายก็จริงแต่เรายังต้องอยู่กับความหวาดระแวงและเฝ้าระวังต่อไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี ซึ่งในระหว่างนี้จะทำให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง ความน่าเป็นห่วงของสังคมไทยคือคนส่วนใหญ่จะตื่นเต้นตื่นตูมกันแค่ช่วงแรกๆ

พอผ่านไปสักพักพฤติกรรมหลายอย่างอาจจะกลับมาเป็นแบบเดิม เท่ากับเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ หรือแพร่กระจายเชื้อได้ ถือเป็นสิ่งที่ต้องระวังดังนั้นเจ้าของตลาด พ่อค้าแม่ค้า และคนมาใช้บริการต้องตระหนักและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมที่สูงมากขึ้นด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ข้อมูลจาก
https://bit.ly/35d4FWo , https://bit.ly/3eTc029 , https://bit.ly/2zw7Cpm , https://bit.ly/2W1Ejmo , https://bit.ly/3aPgFyU , https://bit.ly/2KGCIgw

อ่านบทความเพิ่มเติม https://bit.ly/3aK2vPd

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด