ซื้อแฟรนไชส์สตาร์บัคส์ไม่ได้! แต่เปิดร้านแฟรนไชส์อะไรทดแทนได้?

สตาร์บัคส์ หนึ่งในร้านกาแฟระดับโลกที่มีคนสนใจอยากร่วมธุรกิจหรือซื้อแฟรนไชส์ ด้วยความที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งสินค้า บริการ และภาพลักษณ์แบรนด์ แผนการตลาดที่แข็งแกร่ง ระบบการจัดการที่ดีเยี่ยม จึงทำให้นักลงทุนทั่วโลกต้องการเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์กาแฟสตาร์บัคส์

แต่รู้หรือไม่ว่า ถ้าคุณอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาหรือแคนาดา การจะเป็นเจ้าของร้านกาแฟสตาร์บัคส์เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเป็นไปได้ เช่นเดียวกันกับแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ด Chick-fil-A ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะดำเนินธุรกิจหรือขยายสาขาโดยบริษัทเอง

ดังนั้น หากคุณไม่ได้อาศัยอยู่ในต่างประเทศที่แฟรนไชส์ของสตาร์บัคส์เปิดอยู่ทั่วไป คุณจะต้องมีกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไป วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มี 3 ตัวเลือกที่คุณทำได้ หากเป็นเจ้าของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ไม่ได้

1.เปิดไลเซนส์ร้านสตาร์บัคส์

6

ภาพจาก bit.ly/2WiBvz3

แม้สตาร์บัคส์จะมีอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก แต่ใครๆ ก็ไม่สามารถเป็นเจ้าของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ได้ กล่าวคือ บางประเทศไม่มีนโยบายขายหรือให้สิทธิ์แฟรนไชส์ บริษัทหรือตัวแทนจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด

แต่บางประเทศก็มีการขายไลเซนส์ ซึ่งถ้าประเทศที่คุณอาศัยอยู่ซื้อแฟรนไชส์สตาร์บัคส์ไม่ได้ แต่คุณมีทำเล ก็สามารถเอาทำเลไปเสนอสตาร์บัคส์ได้

5

ภาพจาก bit.ly/2HUGiCZ

โดยการเสนอสถานที่ รายละเอียดต่างๆ เพื่อให้ทางบริษัททำการศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของสถานที่ และพื้นที่โดยรอบอย่างละเอียด เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการเปิดสาขาใหม่

หรือคุณอาจมีร้านค้าที่มีศักยภาพอยู่แล้ว หากเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ของสตาร์บัคส์ก็จะได้รับการพิจารณา ที่ผ่านมาสตาร์มีร้านไลเซนส์มากกว่า 5,708 สาขา คิดเป็น 40%

2.เปิดแฟรนไชส์ Dunkin’ Donuts

4

ภาพจาก bit.ly/2wFajjG

หลายคนคงรู้ดีอยู่แล้วว่า Dunkin’ Donuts เป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่สร้างความแตกต่างไปทั่วโลก ด้วยยอดการขายกาแฟ ที่มากกว่าการจำหน่ายโดนัท คุกกี้ แฟนซีโดนัท มันช์กิ้นส์ มัฟฟิน แซนด์วิช และเครื่องดื่มเช่นน้ำพันซ์ต่างๆ

เจ้าของลิขสิทธิ์คือ ดังกิ้น โดนัท คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทของสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2489 โดยมิสเตอร์วิลเลียม โรเซนเบิร์ก เพื่อให้รู้จักแบรนด์แฟรนไชส์ Dunkin’ Donuts อย่างลึกซึ้ง

ดังกิ้นโดนัท (Dunkin’ Donuts) ปัจจุบันได้ตัดคำว่า “โดนัท” ออกเหลือดังกิ้น เพื่อสื่อให้รู้ว่าร้านแห่งนี้ไม่ได้ขายแค่โดนัท แต่มีเครื่องมากมาย โดยเฉพาะกาแฟ ที่มียอดขายสูงที่สุด ปัจจุบันมีร้านมากกว่า 12,000 แห่ง กว่า 40 ประเทศทั่วโลก

3

ภาพจาก bit.ly/2Ktw4LJ

ใครที่จะลงทุนซื้อแฟรนไชส์ดังกิ้น โดนัท จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเริ่มต้น $ 40,000 ถึง $ 90,000 และใช้เงินลงทุนตลอดกระบวนการเริ่มต้น $ 228,620 ถึง $ 1,691,200 และมีค่าสิทธิรายเดือนสูงกว่า 5.9% และค่าการตลาดและโฆษณา 2-6%

จะเห็นได้ว่าการเปิดแฟรนไชส์ดังกิ้น โดนัท อาจดูแพงกว่า แต่ด้วยจำนวนสาขา หรือความนิยมของลูกค้าในการซื้อเครื่องดื่มกาแฟมากกว่าโดนัท ถือเป็นความสำเร็จที่ไม่น้อยเลย เมื่อเทียบกับการซื้อแฟรนไชส์สตาร์บัคส์

สำหรับประเทศไทย Dunkin’ Donuts อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท โกลเด้น โดนัท (ประเทศไทย) จำกัด เปิดสาขาแรกที่สยามสแควร์ เมื่อปี พ.ศ. 2524 ปัจจุบันมีสาขากระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคกว่า 280 สาขา ใน 47 จังหวัดทั่วประเทศ

โดย Dunkin’ Donuts บริษัทแม่เป็นผู้บริหารและขยายสาขาเองทั้งหมด แต่ในต่างประเทศมีทั้งบริษัทตัวแทนและมาสเตอร์แฟรนไชส์ในการบริหารจัดการสาขาในแต่ละประเทศ แต่รูปแบการเปิดแฟรนไชส์ Dunkin’ Donuts ในสหรัฐฯ ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะมีการฝึกอบรมระยะเวลาสั้นกว่าแฟรนไชส์อื่นๆ ในบรรดาโดนัทด้วยกัน

สอบถามรายละเอียดแฟรนไชส์ ติดต่อสอบถาม

บริษัท โกลเด้น โดนัท (ประเทศไทย) จำกัด
เบอร์โทรศัพท์: 02-079-9765

3.เปิดแฟรนไชส์ 7-Eleven

2

ภาพจาก bit.ly/2KrPL6x

ปัจจุบัน 7-Eleven เป็นร้านสะดวกซื้อที่ขายกาแฟได้อย่างถูกกฎหมาย และเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาโดยตลอดจากนักลงทุนทั่วโลก ปัจจุบัน 7-Eleven มีเกือบ 65,000 สาขาทั่วโลก โดยประเทศที่มีสาขา 7-Eleven มากที่สุด คือ ญี่ปุ่น ไทย เกาหลี สหรัฐฯ ตามลำดับ ถือเป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อที่ลูกค้านิยมซื้อกาแฟเป็นประจำเช่นกัน

การเปิดแฟรนไชส์ 7-Eleven จะช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้สะดวก ง่าย รวดเร็ว เพราะทำเลในการเปิดร้าน 7-Eleven อยู่ตามแหล่งชุมชน หน้าหมู่บ้าน ปากซอย หัวมุมถนน ฯลฯ ซึ่งจะได้เปรียบกว่าการเปิดร้านกาแฟสตาร์บัคส์ เพราะมีกาแฟสด กาแฟกระป๋องสำเร็จรูปให้เลือกมากมาย ที่สำคัญมีสินค้าและบริการให้ลูกค้าได้เลือกซื้อมากกว่าสตาร์บัคส์

สำหรับเมืองไทย ปัจจุบัน 7-Eleven มีสาขาทั้งหมด 10,760 สาขาทั่วประเทศไทย ซึ่งบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ได้ทำการขยายกิจการให้กว้างขึ้นโดยใช้ระบบแฟรนไชส์ หรือการให้อนุญาตสิทธิช่วง ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สนใจ สามารถเข้ามาบริหารกิจการ ที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ภายใต้ระบบอันทันสมัย โดยบริษัทฯ จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินธุรกิจอย่างใกล้ชิด

1

ภาพจาก bit.ly/2KrxbeM

ปัจจุบันการลงทุนแฟรนไชส์ หรือเป็น Store Partner ของ 7-Eleven มีอยู่ 2 รูปแบบ โดยผู้สมัครแฟรนไชส์สามารถเลือกได้ ดังนี้

รูปแบบ 1

  • ค่าใช้จ่ายในการขอรับสิทธิ 480,000 บาท
  • เงินสดค้ำประกัน 1,000,000 บาท (ได้รับคืนเมื่อสิ้นสุดการบริหาร ได้รับดอกเบี้ยคืนทุกปีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงเทพ ณ วันที่ 1 ม.ค. ของทุกปี)
  • รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 1,480,000 บาท

รูปแบบ 2

  • ค่าใช้จ่ายในการขอรับสิทธิ 1,730,000 บาท
  • เงินสดค้ำประกัน 900,000 บาท (ได้รับคืนเมื่อสิ้นสุดการบริหาร ได้รับดอกเบี้ยคืนทุกปีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำของธนาคารกรุงเทพ ณ วันที่ 1 ม.ค. ของทุกปี)
  • รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 2,630,000 บาท

สรุปก็คือ ถ้านักลงทุนคนไหนต้องการเป็นเจ้าของร้านกาแฟสตาร์บัคส์ ก็สามารถซื้อแฟรนไชส์ ดังกิ้น โดนัท (ในต่างประเทศ) หรือ ซื้อแฟรนไชส์ 7-Eleven ทดแทนสตาร์บัคส์ได้

เพราะร้านแฟรนไชส์ทั้งสอง นอกจากขายสินค้าและบริการอื่นๆ แล้ว ยังขายกาแฟอีกด้วย และได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมากด้วย ดังนั้น อยากขายกาแฟ ควรพิจารณาร้านแฟรนไชส์อื่นๆ ด้วย


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

Franchise Tips

  1. เปิดไลเซนส์ร้านสตาร์บัคส์
  2. เปิดแฟรนไชส์ Dunkin ’Donuts
  3. เปิดแฟรนไชส์ 7-Eleven

อ้างอิงข้อมูล
www.entrepreneur.com/article/311377

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2T3Ov06

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช