จุดคุ้มทุนที่ผู้ประกอบการ ต้องรู้!

ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจ มักประสบกับปัญหาขาดความเข้าใจในเรื่องของ “ จุดคุ้มทุน หรือ Break-Even Point ” โดยส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจว่า เมื่อใดก็ตามที่ตนเองมีรายได้ จากการขายสินค้าและบริการเท่ากับรายจ่ายที่ตนจ่ายออกไป อาจจะคิดกันเป็นรายเดือนหรือรายปี ก็ถือว่าตนเอง “คุ้มทุน” แล้ว

แต่จริงๆ แล้ว ความเข้าใจดังกล่าวนั้น ก็อาจจะถือว่าเป็นจริงได้ในบางกรณีเท่านั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว การ “คุ้มทุน” ในความเข้าใจของผู้ประกอบการมักจะไม่ใช่ “จุดคุ้มทุน” ของธุรกิจที่แท้จริง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ “จุดคุ้มทุน” ที่แท้จริงเป็นอย่างไร และหลักการคิดจุดคุ้มทุ่มที่แท้จริงว่า เขามีหลักการคิดอย่างไร เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

ความหมายของ “จุดคุ้มทุน”

9

จุดคุ้มทุน คือ จุดที่รายได้เท่ากับรายจ่ายพอดี หากผู้ประกอบการรายได้มากกว่าจุดคุ้มทุน ส่วนที่เกินคือกำไร โดยการคำนวณจุดคุ้มทุนไม่ได้ยากอย่างที่คิด มีเพียง 2 ส่วนเท่านั้นที่ต้องเข้าใจ คือ ส่วนของต้นทุนและส่วนของยอดขาย แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจในส่วนของต้นทุนกันก่อน โดยต้นทุนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้

1.ต้นทุนคงที่ (Fix Cost)

12

ต้นทุนคงที่คือต้นทุนที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือไม่ก็ตาม เรียกง่ายๆ ว่าจะขายได้หรือไม่ก็ต้องจ่ายต้นทุนก้อนนี้ โดยส่วนใหญ่จะแบ่งย่อยออกเป็น 2 ส่วนคือต้นทุนคงที่ในส่วนของการผลิต และต้นทุนคงที่ในส่วนของการขายและบริหาร

ต้นทุนคงที่ในส่วนของการผลิต เช่น ค่าเช่าที่ดินในส่วนของโรงงานหรือสถานที่ผลิต ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาโรงงานดังกล่าว รวมไปถึงเงินเดือนพนักงานประจำในโรงงานและฝ่ายผลิต เป็นต้น

ต้นทุนคงที่ในส่วนของการขายและบริหาร เช่น ค่าเช่าอาคารสถานที่สำหรับส่วนของสำนักงาน ค่าสาธารณูปโภคพื้นฐานในส่วนสำนักงาน ค่าภาษีต่างๆ เงินเดือนพนักงานในส่วนงานบริหารจัดการและสำนักงาน รวมถึงต้นทุนที่ถูกกำหนดไว้อย่างแน่นอนโดยที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่แปรผันตามยอดขาย

#จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่รวม / (รายได้จากขายสินค้า – ต้นทุนผันแปรรวม) ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่ต้องการเปรียบเทียบ กับยอดขายรวม จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย / (ราคาขายสินค้าต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย) ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขายที่ต้องการเปรียบเทียบ กับยอดขายรวม จุดคุ้มทุน = ต้นทุนคงที่รวม / (ราคาขายสินค้าต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย)

ผลลัพธ์ที่ได้ จะเป็นจำนวนหน่วยของสินค้าที่ต้องขายเพื่อให้ถึงจุด คุ้มทุน

เพื่อให้เห็นลักษณะของการประยุกต์ในการใช้ประโยชน์จากการคำนวณ หาจุดคุ้มทุน ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จึงขอยกตัวอย่างพอสังเขปเพื่อให้เข้า ใจเกี่ยวกับการคำนวณหาจุดคุ้มทุนดังนี้ คือ

ตัวอย่าง

10

มีธุรกิจประเภทเดียวกัน 2 ธุรกิจ โดยผู้ประกอบการทั้ง 2 รายคือ ธุรกิจ A และธุรกิจ B มีรายจ่ายต่อเดือนเท่ากันคือ 1,000,000 บาท และมีรายได้จากการขายสินค้าต่อเดือนเท่ากันคือ 1,200,000 บาท แต่ ธุรกิจ A มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 400,000 บาท ต้นทุนผันแปร 600,000 บาท ในขณะที่ ธุรกิจ B มีต้นทุนคงที่เท่ากับ 600,000 บาท ต้นทุน ผันแปร 400,000 บาท เมื่อมาคำนวณหาจุดคุ้มทุนของธุรกิจทั้งสองจะได้ ผลลัพธ์ดังนี้ คือ

จุดคุ้มทุนธุรกิจ A เท่ากับ 400,000 / (1,200,000 – 600,000) = 66.67% จุดคุ้มทุนธุรกิจ B เท่ากับ 600,000 / (1,200,000 – 400,000) = 75.00% จะเห็นได้ว่าการดำเนินการของธุรกิจ A มีประสิทธิภาพดีกว่าธุรกิจ B กล่าวคือขายสินค้าเพียง 2 ใน 3 คือ 66.67% ก็ถึงจุดคุ้มทุนของธุรกิจ ในขณะที่ ธุรกิจ B ต้องขายสินค้าให้ได้ถึง 3 ใน 4 คือ 75.00% จึงจะถึง จุดคุ้มทุนของธุรกิจ

ทั้งที่ธุรกิจทั้งสองรายมีรายจ่ายที่เท่ากันในแต่ละเดือน ก็ตาม โดยถ้าพิจารณาจากธุรกิจ B ที่มีจุดคุ้มทุนเท่ากับ 75% คือมียอด รายได้ 900,000 บาท (1,200,000 x 75%) โดยจะเป็นรายได้ที่ชดเชย ส่วนของต้นทุนคงที่ของธุรกิจที่ต้องจ่าย 600,000 บาท และชดเชยส่วน ต้นทุนผันแปร 300,000 บาท (400,000 x 75%) ได้พอดี คือธุรกิจ เท่าทุนหรืออยู่ในจุดคุ้มทุน

2. ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost)

11

ต้นทุนแปรผันคือต้นทุนที่เกิดขึ้นตามจำนวนสินค้าที่ขายไป หรืออธิบายง่ายๆว่าเป็นต้นทุนที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตหรือขายสินค้าโดยแปรผันตามจำนวนหน่วยสินค้าที่ผลิตหรือจำหน่ายออกไป โดยต้นทุนแปรผันสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ส่วนคือต้นทุนแปรผันในส่วนของการผลิต และต้นทุนแปรผันในส่วนของการขายและบริหาร

ต้นทุนแปรผันในส่วนของการผลิต เช่น วัตถุดิบ (Materials) แรงงาน (Labor) และค่าโสหุ้ยหรือค่าใช้จ่ายในการผลิต (Overhead) อาทิ ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่ามีดกลึง ค่าวัสดุสิ้นเปลืองต่างๆ ในการผลิตเป็นต้น และในส่วนของค่าแรงงานนั้นเราจะนำมาคิดในส่วนของแรงงานในการผลิตที่ไม่ใช้การจ่ายเงินเดือนประจำเท่านั้น

ต้นทุนแปรผันในส่วนของการขายและบริหาร เช่น ค่านายหน้า (Commission) ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการขายหรือให้บริการ ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด ได้แก่ ค่าโฆษณา ค่าเลี้ยงรับรอง เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่นโยบายบริษัทมักจะตั้งค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นร้อยละของยอดขายสินค้า จึงถือเป็นต้นทุนแปรผัน เช่น บริษัทแห่งหนึ่งตั้งค่านายหน้าไว้ที่ 3% ของยอดขายสินค้า หากพนักงานฝ่ายขายสามารถขายสิ้นค้าได้ 100 ชิ้น ในราคาชิ้นละ 100 บาท ก็จะได้ส่วนแบ่งเพิ่มจากเงินเดือนปกติอีก 300 บาทสำหรับการขายในครั้งนี้

8

ดังนั้น ต้นทุนใดเป็นต้นทุนแปรผันให้มองง่ายๆ ว่า ต้นทุนนั้นๆ เกิดจากจุดไหน หากเกิดจากการผลิตหรือการบริการ โดยมีต้นทุนมากขึ้น ตามจำนวนที่ผลิตหรือให้บริการต้นทุนนั้น เรียกว่าต้นทุนแปรผัน

หากเกิดขึ้นโดยไม่เปลี่ยนแปลงตามยอดขายต้นทุนนั้น เรียกว่าต้นทุนคงที่ ถ้าต้องขายมากหรือเป็นสินค้าที่ขายยาก ต้องใช้เวลานานกว่าจะขายได้สักชิ้น หรือมีรายจ่ายที่สูงมากทำให้ได้กำไรน้อย และต้องผลิตที่ละมากๆ จึงจะได้กำไร ก็อาจเป็นธุรกิจไม่น่าลงทุน

ดังนั้น เมื่อทราบจุดคุ้มทุนแล้ว ต้องขายสินค้าให้ได้มากกว่า หรือตั้งราคาให้สูงกว่าที่คำนวณได้ เพื่อให้เกิดกำไร หรืออีกวิธีการหนึ่ง คือ ลดรายจ่ายจากต้นทุนคงที่ จะทำให้มีผลต่อรายได้เพิ่มขึ้นโดยตรง หรือลดรายจ่ายแปรผันลงก็ได้เช่นกัน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2RVtgwM

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช