จริงมั้ย? ธุรกิจร้านบุฟเฟต์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

ต้องยอมรับว่าธุรกิจร้านอาหารบุฟเฟต์ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วง 2-3 ปีมานี้ ไม่ว่าจะเป็นร้านหมูกระทะ ปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น-เกาหลี ร้านชาบูชาบู และอื่นๆ ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะของร้านบุฟเฟต์ คือ จัดเต็มไม่อั้นทำให้ร้านบุฟเฟต์เป็นตัวเลือกแรกๆ ของผู้บริโภคในยุคนี้

จึงทำให้มีผู้สนใจเปิดร้านอาหารบุฟเฟต์เป็นจำนวนมาก แต่รู้หรือไม่ว่าในมุมของผู้ประกอบการธุรกิจร้านบุฟเฟต์มองว่าเป็นธุรกิจปราบเซียน เจ็บตัวมาแล้วหลายราย จนอยากหนีไปทำธุรกิจอื่น วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาไขปัญหา ทำไม? ธุรกิจร้านบุฟเฟต์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า

คนในอยากออก

คนในอยากออก

1.ค่าเช่าที่แพง มักเป็นปัญหาที่เจ้าของร้านอาหารบุฟเฟต์ส่วนใหญ่ต้องเจอ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวิกฤตต่างๆ ก็ตาม เพราะร้านอาหารบุฟเฟต์มักใช้พื้นที่ขนาดใหญ่รองรับลูกค้ามาใช้บริการจำนวนมาก โดยทำเลส่วนใหญ่จะอยู่ในห้างสรรพสินค้าหรือศูนย์การค้าชั้นนำ จึงทำให้ค่าเช่าที่ในการเปิดร้านแพง ยิ่งในช่วงล็อกดาวน์แม้ร้านจะปิดก็ยังต้องจ่ายค่าเช่าที่

2.การบริหารจัดการลูกจ้าง นอกจากปัญหาเรื่องค่าเช่าที่แพงแล้ว ผู้ประกอบการร้านบุฟเฟต์ยังต้องปวดหัวไปกับการบริหารจัดการพนักงานในร้าน ต้องมีการฝึกอบรมการทำงาน การบริการ การบริหารจัดการร้าน รวมถึงเมื่อเกิดวิกฤตโควิด-19 ระบาดต้องปิดร้านอาหาร ก็ยังต้องจ่ายเงินดือนพนักงาน หรือต้องลดเงินเดือน ทำให้เป็นปัญหากับผู้ประกอบการ

1

3.ลูกค้าตักเยอะทานไม่หมด เป็นอีกปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งสำหรับการทำธุรกิจร้านบุฟเฟต์ ลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่จะตักไม่พอดีกับปริมาณที่ตัวเองทาน เมื่อตักมาเยอะๆ เมนูหลายๆ อย่าง สุดท้ายก็ทานไม่หมด กลายเป็นต้นทุนที่สูญเสียให้กับผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟต์ ซึ่งหากจะปรับเงินเพิ่มก็อาจจะเสียลูกค้า

4.สินค้าและวัตถุดิบแพง ร้านอาหารบุฟเฟต์มักจะเจอกับปัญหาต้นทุนสินค้าและวัตถุดิบสูงขึ้น ถ้าจะปรับราคาตามต้นทุนวัตถุดิบก็กลัวว่าจะไม่มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ เมื่อไม่ปรับราคาขึ้น ก็ต้องแบกรับต้นทุนค่าใช้จ่าย จนต้องขาดทุน

5.เหนื่อย ผู้ประกอบการร้านอาหารบุฟเฟต์มักบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า โคตรเหนื่อยมากๆ ขายดีก็เหนื่อย ขายไม่ได้ก็เหนื่อย เพราะเมื่อขายดีก็ต้องบริหารจัดการในเรื่องวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า แต่ถ้าขายไม่ดี ของเหลือ ก็ต้องบริหารจัดการสต็อกและจัดการของเสีย บางร้านเมื่อของเหลือก็ต้องทิ้ง ซึ่งจะทำให้ขาดทุนได้

คนนอกอยากเข้า

2

1.คนนิยมทานบุฟเฟต์ เพราะลูกค้าชอบความคุ้มค่า เมนูหลากหลาย อีกทั้งสามารถควบคุมงบประมาณเงินในกระเป๋าได้ว่าจะต้องจ่ายเท่าไหร่ เพราะรู้ราคาล่วงหน้ามาก่อนแล้ว จึงทำให้บุฟเฟต์สามารถดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี

2.ตั้งราคาขายได้ง่าย ร้านอาหารบุฟเฟต์ส่วนใหญ่มักจะตั้งราคาให้ลงท้ายด้วย เลข 9 ไม่ว่าจะเป็น 199 บาท, 239 บาท, 299 บาท, 399 บาท ฯลฯ ซึ่งราคานี้ยังไม่รวมค่าเครื่องดื่ม ซึ่งอาจตั้งไว้ที่ 49 บาท จึงช่วยให้ร้านบุฟเฟต์สามารถเช็คบิลได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนกับร้านอาหารตามสั่งหรือร้านอาหารทั่วๆ ไป ที่มีเมนูอาหารและราคาที่ต่างกัน

4

3.ขายได้ทั้งในร้านและเดลิเวอรี่ ร้านอาหารบุฟเฟต์ในปัจจุบันสามารถให้ลูกค้านั่งทานในร้านได้ และบริการจัดส่งลูกค้าเดลิเวอรี่ถึงบ้าน จะช่วยให้ผู้ประกอบการร้านบุฟเฟต์มีรายได้หลากหลายช่องทาง จึงทำให้ร้านบุฟเฟต์ได้รับความนิยม

4.มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน แน่นอนว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของร้านบุฟเฟต์ ก็คือ กลุ่มคนที่ชอบกินจุ ชอบความคุ้มค่า ชอบเมนูอาหารหลากหลาย ทำให้สามารถบริหารจัดการเรื่องของสินค้าและวัตถุดิบได้ง่าย รวมถึงสามรถจัดโปรโมชั่นต่างๆ ภายในร้านได้ตรงตามความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ ทำให้มีรายได้ต่อเนื่อง

5.ลูกค้าบริการตัวเองได้ ร้านอาหารบุฟเฟต์หลายๆ ร้าน จะมีพนักงานคอยบริการให้ลูกค้า แต่ถ้าเราเปิดร้านบุฟเฟต์ก็สามารถให้บริการในรูปแบบแบบลูกค้าบริการตัวเอง หรือบางเมนูเราก็บริการให้ลูกค้าควบคู่กันไป จะได้ประหยักค่าใช้จ่ายในเรื่องของการจ้างพนักงานในร้านเพิ่ม อีกทั้งลูกค้าอาจจะชอบบริหารตัวเอง ไม่ต้องคอยเรียกพนักงานให้เสียเวลา

นั่นคือ เหตุผลที่ว่า จริงมั้ย? ธุรกิจร้านบุฟเฟต์ คนในอยากออก คนนอกอยากเข้า


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

SMEs Tips

คนในอยากออก

  • ค่าเช่าที่แพง
  • การบริหารจัดการลูกจ้าง
  • ลูกค้าตักเยอะทานไม่หมด
  • สินค้าและวัตถุดิบแพง
  • เหนื่อย

คนนอกอยากเข้า

  • คนนิยมทานบุฟเฟต์
  • ตั้งราคาขายได้ง่าย
  • ขายได้ทั้งในร้านและเดลิเวอรี่
  • มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชัดเจน
  • ลูกค้าบริการตัวเองได้

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3L3J0oU

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช