จดทะเบียนนิติบุคคล ได้ประโยชน์มากกว่าที่คิด

ปัจจุบันการจดทะเบียนจัด ตั้งนิติบุคคล ในนามบริษัทจำกัดต้องมีผู้เริ่มก่อตั้ง 3 คนขึ้นไป แต่อีกไม่นานนี้ผู้ประกอบการจะไม่ต้องยุ่งยากหาคนมาร่วมก่อตั้งบริษัทแล้ว เพราะถึงคุณจะทำธุรกิจคนเดียว ก็สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลจัดตั้งบริษัทได้ 

กฎหมายฉบับสมบูรณ์เรื่องการจัดตั้งบริษัทจำกัดโดยบุคคลคนเดียว คาดว่าจะประกาศใช้ได้ทันภายในปี พ.ศ. 2560 นี้ โดยกฎหมายนี้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SME จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย

อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจเพียงคนเดียว แบบไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวกับบุคคลอื่นหรือไม่ต้องการผู้ร่วมทุนอื่น รวมถึงแก้ปัญหาในกรณี ไม่สามารถหาผู้ร่วมลงทุนให้ครบตามจำนวนได้ ช่วยให้ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้ง่ายขึ้น

อย่างที่รู้กันว่าบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจ แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เช่น คนที่ทำธุรกิจเล็กๆ หรือขายของออนไลน์ จะใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแบบผู้ประกอบการ SME ที่จดทะเบียนนิติบุคคลไม่ได้

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำเสนอสิทธิประโยชน์ของการจดทะเบียนนิติบุคล จากธนาคารกสิกรไทย ให้กับเจ้าของธุรกิจต่างๆ ที่ยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนนิติบุคคล และเราก็อยากเชิญชวนให้จดทะเบียนครับ เพราะได้ประโยชน์มากกว่ากว่าที่คุณคิด มาดูกันว่าจดนิติบุคลแล้ว ได้ประโยชน์อะไรบ้าง

ตั้งนิติบุคคล

ภาพจาก goo.gl/CsdDSo

1.นิติบุคคลจ่ายภาษีถูกกว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

โดยคำนวณจากฐานเงินได้พึงประเมินสุทธิ เสียภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% (เงินได้พึงประเมินสุทธิตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) แต่สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นอยู่ในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิเท่านั้น

ทั้งนี้หากธุรกิจมีผลประกอบการขาดทุนทางภาษี ผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล สามารถนำผลขาดทุนดังกล่าวนั้น ไปใช้เป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้ถึง 5 รอบระยะเวลาบัญชี

ในขณะที่ผู้ประกอบการที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ นอกจากนี้หากเป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จดทะเบียนนิติบุคคล คือมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 เป็นต้นไป ได้รับการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลดังต่อไปนี้

  • ได้รับยกเว้นภาษีจากกำไรสุทธิ 3 แสนบาทแรก
  • เสียภาษีในอัตรา 15% ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 3 แสนบาทแต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท
  • เสียภาษีในอัตรา 20% ของกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 3 ล้านบาทขึ้นไป

2. ยกเว้นภาษีการโอนทรัพย์สิน

จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับบุคคลธรรมดาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนเองไปเป็นกรรมสิทธิ์ของนิติบุคคล โดยจดทะเบียนนิติบุคคลตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. 2559 – 31 ธ.ค. 2560

3. ค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

ผู้ประกอบการ SME ที่จดทะเบียนนิติบุคคล มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี มาเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี หรือ 5 ปีภาษี

2

4. ทำธุรกิจแต่ไม่เป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีเพิ่ม

ลดอัตราการหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาของบุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ตามมาตรา 40(7) และ 40(8) ลงเหลือ 60% จากเดิมที่หักค่าใช้จ่ายได้สูงสุด 85% นั่นก็แปลว่าบุคคลธรรมดาที่ทำธุรกิจแต่ไม่จดทะเบียนนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น!!! โดยมีผลสำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2560

5. ลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01%

เป็นการลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหาริมทรัพย์ และห้องชุดของบุคคลธรรมดา ไปให้นิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งใหม่ภายในปี 2560 จาก 2% ของราคาประเมิน เหลือเพียง 0.01% โดยมีผลถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2560

6. โอนใบอนุญาตประกอบกิจการได้

กฎหมายฉบับนี้อนุญาตให้บุคคลธรรมดา สามารถโอนใบอนุญาตในการประกอบกิจการให้นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นใหม่ได้ สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา เดิมอาจจะเสียภาษีเงินได้ไม่ถูกต้องครบถ้วน เมื่อต้องการแปรสภาพธุรกิจเป็นนิติบุคคล ก็อาจกังวลกับปัญหาใหม่ๆ ที่จะตามมา

ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับผู้ประกอบการ ที่ไม่รู้และไม่เข้าใจกฎหมายโดยเฉพาะกฎหมายภาษี ที่มีความซับซ้อนและเข้าใจยาก ดังนั้น ในการดำเนินการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำปรึกษา เพื่อป้องกันปัญหาการถูกประเมินภาษีย้อนหลัง แล้วยังจะช่วยแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่อีกด้วย


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

Tips

  • นิติบุคคลจ่ายภาษีถูกกว่า อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ยกเว้นภาษีการโอนทรัพย์สิน
  • ค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
  • ทำธุรกิจแต่ไม่เป็นนิติบุคคลต้องเสียภาษีเพิ่ม
  • ลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01%
  • โอนใบอนุญาตประกอบกิจการได้

อ้างอิงข้อมูลจาก www.kasikornbank.com

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช