คุณลักษณะของธุรกิจ ที่สามารถทำแฟรนไชส์ได้

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจที่เจ้าของแบรนด์ต้องการขยายสาขาให้ได้จำนวนมากๆ โดยไม่ต้องใช้เงินลงทุนของตัวเอง ให้สิทธิผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วยขยายสาขา ทำการตลาด สนับสนุนช่วยเหลือแฟรนไชส์ซีเติบโตไปด้วยกัน โดยมีรายได้จากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์จากผู้ซื้อแฟรนไชส์ตั้งแต่เริ่มต้น รวมถึงเรียกเก็บค่าสิทธิ์ต่อเนื่องในแต่ละเดือนอีกด้วย 

จึงไม่แปลกที่ผู้ประกอบการต่างๆ นำธุรกิจของตัวเองเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์มากขึ้น หลายแบรนด์ประสบความสำเร็จ เติบโตมีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ แต่หลายแบรนด์ไปไม่ถึงฝั่ง ต้องล้มเลิกกิจการ เพราะธุรกิจยังไม่พร้อมทำแฟรนไชส์

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com อยากให้ผู้ประกอบการต่างๆ ลองสำรวจตัวคุณเองก่อนว่า ธุรกิจที่คุณทำอยู่นั้น พร้อมหรือยังที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มาดูกันเลยว่า คุณลักษณะของธุรกิจ ที่ต้องพิจารณา ก่อนที่จะทำธุรกิจสู่ระบบแฟรนไชส์

1.บุคลากรและทีมงาน

คุณลักษณะของธุรกิจ

ธุรกิจที่พร้อมเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ต้องมีกำลังคน หรือบุคลากร ที่คอยช่วยเหลือ ให้การสนับสนุนแฟรนไชส์ซีพอสมควร ผู้ประกอบการธุรกิจไม่สามารถบริหารจัดการระบบแฟรนไชส์คนเดียวได้ เพราะระบบแฟรนไชส์เป็นการขยายสาขา เมื่อมีสาขามากเท่าไหร่ ก็ต้องใช้บุคลากรที่คอยช่วยเหลือ คอยสนับสนุน จัดส่งวัตถุดิบแก่แฟรนไชส์ซีแต่ละสาขามากขึ้นเท่านั้น

ธุรกิจแฟรนไชส์ที่วางเป้าหมายออกไปต่างประเทศ ก็ต้องมีบุคลากรที่มากด้วยความรู้ความสามารถ สามารถติดต่อสื่อสาร เจรจา ร่วมทำงาน ให้การอบรมแก่แฟรนไชส์ซีในต่างประเทศได้ เรียกว่าก่อนทำแฟรนไชส์คุณต้องมีคนช่วยเหลือคุณ ด้านการเงิน บัญชี กฎหมาย ประชาสัมพันธ์ ไอที การจัดเก็บ จัดส่ง สำรวจทำเล ฝ่ายอบรม ออกแบบ ตกแต่งร้าน เป็นต้น

2.เงินทุนหมุนเวียน

 

51

เงินทุนถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการธุรกิจจำเป็นต้องมี แม้ว่าการขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นแฟรนไชส์ซีที่เป็นผู้ลงทุนก็ตาม แต่การให้การสนับสนับสนุน การช่วยเหลือด้านต่างๆ แก่แฟรนไชส์ซีให้ประสบความสำเร็จ

ก็ต้องใช้เงินทุนในการบริหารระบบแฟรนไชส์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะช่วงการเริ่มต้นธุรกิจ และช่วงขยายสาขาด้วยตัวเอง ต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการบริหารธุรกิจ กว่าที่ธุรกิจของคุณจะประสบความสำเร็จ แล้วขายความสำเร็จให้กับคนอื่น

3.ฐานกลุ่มลูกค้า

50

ธุรกิจที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ ต้องมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ชัดเจน แบรนด์ธุรกิจเป็นที่รู้จักของผู้คนในวงกว้าง เมื่อมีคนมาซื้อแฟรนไชส์ไป แฟรนไชส์ซีในแต่ละสาขาต้องสามารถขายสินค้าหรือบริการได้เลย

โดยไม่ต้องรอสร้างแบรนด์ รอจังหวะเวลาสร้างธุรกิจให้เติบโต ธุรกิจที่ทำอยู่จับกลุ่มลูกค้าให้ได้ ทำให้ลูกค้าติดใจสินค้าของคุณ จะทำให้ขายแฟรนไชส์ได้ง่าย เพราะคนที่จะมาซื้อระบบแฟรนไชส์จากคุณไป เขาต้องดูว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดหรือไม่

4.รายได้และผลกำไร

53

หากผู้ประกอบการธุรกิจรายใด ไม่มีผลกำไร ขาดทุนมาโดยตลอด บอกเลยว่าธุรกิจที่ทำอยู่ไม่เหมาะที่จะทำเป็นแฟรนไชส์ ถ้าอยากทำธุรกิจจริงๆ ก็ลองหาธุรกิจอื่นมาทำ

หรือไม่ก็ไปซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ของคนอื่นที่ประสบความสำเร็จแทน เพราะธุรกิจที่ทำเป็นแฟรไซส์ต้องมีรายรับ-รายจ่าย มีผลกำไรที่ชัดเจน มั่นคง ถ้าธุรกิจขาดทุนก็จะขายความสำเร็จให้กับคนอื่นไม่ได้เลย

5.สินค้าหรือบริการ

55

สินค้าหรือบริการ เป็นองค์ประกอบอันดับแรกๆ เลยก็ว่าได้ ที่จะช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ได้ ธุรกิจทุกประเภทต้องขายสินค้าหรือบริการอยู่แล้ว แม้ว่าคุณจะมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่ครบถ้วนแล้ว

แต่ถ้าไม่มีสินค้าหรือบริการ แล้วจะขายอะไรให้กับลูกค้า ดังนั้น สินค้าหรือบริการที่ดี มีคุณภาพมาตรฐาน จะทำให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า แฟรนไชส์ซีที่ซื้อธุรกิจไปก็จะสามารถขายสินค้าหรือบริการ ทำให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

6.ทำเลที่ตั้งชัดเจน

54

ทำเลที่ตั้งของธุรกิจ หรือร้านค้า จะเป็นตัวกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจได้อย่างชัดเจน ผู้ประกอบธุรกิจต้องมีทำเลที่ตั้งของธุรกิจที่สามารถบ่งบอกว่าเป็นธุรกิจอะไร เปิดร้านตรงนี้แล้วขายของได้แน่นอน มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายรออยู่แล้ว และผู้ประกอบการธุรกิจต้องผ่านการลองผิดลองถูกมาแล้ว ว่าทำเลที่ตั้งไหนเหมาะกับธุรกิจของตัวเอง

เช่น 7-11 ทำเลที่จะอยู่ย่านชุมชน ใต้อาคารห้องพัก ที่อยู่อาศัย ตามตรอกซอยซอย ซึ่งทำเลที่ตั้งของ 7-11 ก็ผ่านการทำการตลาดมาแล้วว่า เปิดร้านตรงนี้แล้วประสบความสำเร็จแน่นอน มีลูกค้าเข้าใช้บริการรออยู่แล้ว

7.การสร้างคุณค่า

57

ธุรกิจของคุณจะต้องสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้ สินค้าหรือบริการที่ลูกค้าซื้อไปแล้ว สามารถช่วยยกระดับหรือตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละคนได้ ซึ่งตรงนี้ช่วยให้ธุรกิจของคุณมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน

เหมือนอย่างร้านกาแฟสตาร์บัคส์ จะมีกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน คนกลุ่มนี้เข้าไปใช้บริการในร้านสตาร์บัคส์ เพราะสินค้าและบริการสามารถสร้างคุณค่าและตอบสนองไลฟ์สไตล์ให้กับเขาได้ คนที่เถือแก้วกาแฟสตาร์บัคส์ดูแล้วเท่ห์ มีระดับ

8.ความสะอาด

56

ถ้าผู้ประกอบการทำธุรกิจร้านอาหารอยู่ นอกจากเรื่องรสชาติอาหารจะอร่อยแล้ว สิ่งหนึ่งที่ลูกค้าทุกคนจะเข้าไปใช้บริการในร้านคุณ ก็คือ ความสะอาดของอาหาร และร้านค้า ยิ่งร้านไหนสกปรก เหม็นอับ ตั้งแต่หน้าร้าน เชื่อว่าอาหารที่ทำคงไม่สะอาด ถูกหลักอนามัย และมีความปลอดภัยแน่นอน ทำต่อไปมีแต่เจ๊งกับเจ๊ง เพราะไม่มีลูกค้ามาใช้บริการ

ดังนั้น ธุรกิจร้านอาหารที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ นอกจากอาหารจะมีรสชาติอร่อย ถูกปากผู้บริโภคแล้ว ความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบจะละเลยไม่ได้ ความสะอาด คุณภาพ มาตรฐาน ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง

ร้านฟาสต์ฟู้ดอย่าง KFC แม็คโดนัลด์ ต้องมีการฝึกอบรมเรื่องความสะอาดให้กับพนักงาน ที่จะเข้าไปทำงานกว่าหลายสัปดาห์ ถึงจะทำงานได้ ต้องเช็ดโต๊ะ ต้องเก็บกวาดตั้งแต่หน้าร้านยันหลังร้าน ให้สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย

ผู้ประกอบการธุรกิจได้เห็นแล้วว่า คุณลักษณะของธุรกิจที่สำคัญ และต้องมี ก่อนที่จะเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มีอะไรบ้าง แล้วแต่ว่าจะเหมาะสมกับธุรกิจประเภทไหน โดยหลักๆ แล้วถ้าผู้ประกอบการรายใดมีครบทุกข้อ ก็พร้อมแล้วที่จะทำแฟรนไชส์แล้วปัง ทำแล้วดัง คุณลองสำรวจตัวคุณเองอย่างรอบคอบก่อนว่า คุณพร้อมแล้วหรือยังกับระบบแฟรนไชส์


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/2QtafxJ
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2Um94Bv

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช