ข้อดี-ข้อเสีย ของการค้าแบบเป็นตัวแทนจำหน่าย

ระบบ ตัวแทนจำหน่าย เป็นอีกหนึ่งวิธีการขยายธุรกิจ วิธีการที่ใช้คือสินค้าจะประกาศหาผู้ที่สนใจในการรับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย โดยมีการตกลงในเรื่องผลกำไร

หรืออาจเป็นการขายขาดให้กับตัวแทนจำหน่ายโดยสิทธิที่คนตัวแทนจะได้รับคือสินค้าที่ราคาถูกกว่าเดิมเพื่อให้เอาไปขายและมีกำไรเพิ่มขึ้นได้ ทั้งนี้ระบบตัวแทนจำหน่ายใช้ได้กับสินค้าหลากหลาย

ไม่จำเป็นว่าต้องแค่เครื่องสำอาง เสื้อผ้า รองเท้า สามารถใช้ได้กับธุรกิจใหญ่เช่นจำหน่ายจักรยานยนต์หรือสินค้าการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ด้วย

www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าระบบตัวแทนจำหน่ายจะประสบความสำเร็จแบบwin-win ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องเกิดจากความเข้าใจที่ตรงกัน

สามารถร่วมมือทำงานและเกิดความพอใจทั้งเจ้าของสินค้าและตัวแทนจำหน่าย อย่างไรก็ดีสำหรับคนที่ยังมองภาพรวมของเรื่องนี้ไม่ออกลองมาดูแยกย่อยเป็นข้อดี-ข้อเสียของระบบตัวแทนจำหน่ายว่ามีอะไรบ้าง

ข้อดีในระบบตัวแทนจำหน่าย

ตัวแทนจำหน่าย

1.ลงทุนน้อย

สำหรับมือใหม่ที่ไม่อยากลงทุนอะไรมากมายโดยเฉพาะคนที่อยากค้าขายแต่ไม่อยากผลิตสินค้าเอง เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าหากเราทำสินค้าเองจะขายได้หรือไม่

การเป็นตัวแทนช่วยให้เรามีรายได้จากการลงทุนน้อย ๆ ความเสี่ยงจากการลงทุนก็น้อยด้วยที่สำคัญระบบตัวแทนจำหน่ายส่วนใหญ่มักไม่ต้องสต็อคสินค้าทำให้ไม่ต้องลงทุนมาก

q3

2.เลือกขายสินค้าที่ขายดีได้

เนื่องจากเราเป็นตัวแทน เราสามารถสำรวจตลาด หรือเก็บสถิติจากการขายสินค้าได้ หากสินค้าชนิดไหนขายดี หรือมีแนวโน้มที่ดี เราสามารถสต็อกสินค้าพวกนี้ไว้เพื่อปล่อยให้ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว

q4

3.ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยง

ลองคิดดูว่าหากเราเป็นผู้ประกอบการขายดีหรือขายไม่ดีมีผลต่อความรู้สึกทั้งนั้น ไหนจะปัญหาจิปาถะทั้งเรื่องการผลิต คู่แข่ง ฯลฯ แต่การเป็นตัวแทนจำหน่ายมองข้ามเรื่องพวกนี้ไปเลย แค่พยายามขายสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงเรื่องอื่นให้ปวดหัว

q5

4.ได้ฝึกตัวเองเพื่อเป็นผู้ประกอบการในอนาคต

นักธุรกิจที่ดีต้องเริ่มจากรากหญ้าหลายคนเริ่มจากการเป็นนักขายที่มีข้อดีคือทำให้มองเห็นปัญหาลูกค้าได้ชัดเจน รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร สินค้าแบบไหนที่ทำมาแล้วจะขายดี ยิ่งเป็นตัวแทนนานๆ ก็อาจทำให้รู้จักโรงงานผู้ผลิต แหล่งวัตถุดิบ ในอนาคตเราอาจผันตัวเองมาเป็นผู้ประกอบการได้เลยทีเดียว

q6

5.ยิ่งขยันยิ่งมีรายได้

การเป็นตัวแทนจำหน่ายหากไม่ได้เซ็นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าห้ามขายสินค้าแบรนด์อื่นร่วมด้วยก็ยิ่งง่ายที่เราจะบริหารจัดการ เราสามารถเลือกเป็นตัวแทนได้หลายบริษัท

เลือกเอาสินค้าตัวที่น่าสนใจมาขาย ตัวไหนขายดีก็รับต่อ ตัวไหนคนไม่นิยมก็หันไปมองสินค้าตัวอื่นแทน การเป็นตัวแทนยิ่งขยันก็ยิ่งมีรายได้ อยู่ที่ตัวเราเป็นสำคัญ

ข้อเสียในระบบตัวแทนจำหน่าย

q7

1.ควบคุมสินค้าให้เป็นไปตามความต้องการไม่ได้

เนื่องจากเป็นการรับสินค้ามาขายเจ้าของผลิตแบบไหนเราก็ต้องรับมาแบบนั้น เช่นถ้าเป็นเสื้อผ้าก็อาจไม่ได้สีที่เราอยากได้ เนื้อผ้าที่เราต้องการ แต่ผู้ผลิตไม่มีเราก็ต้องเอาสินค้าที่ใกล้เคียงมาขาย ก็เป็นสิ่งที่ต้องยอมรับเพราะเราไม่ใช่ผู้ผลิตเอง

q9

2.รับฟังปัญหาแทนเจ้าของกิจการ

ในเมื่อเราเป็นคนขายคนซื้อเขาไม่สนใจหรอกว่าเราเป็นแค่ตัวแทนหรือเจ้าของถ้าสินค้าที่ซื้อจากเราเกิดไม่ดี ใช้แล้วมีปัญหาคนที่เขาจะกลับมาโวยวายใส่คนแรกก็คือเราที่เป็นคนขาย

ดังนั้นงานตัวแทนจึงอยู่กับการแบกรับอารมณ์ลูกค้าที่มีหลากหลายประเภท ในขณะที่เจ้าของสินค้าตัวจริงอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้นบ้าง

q8

3.มีคู่แข่งมากมาย

ยุคนี้ใครๆ ก็อยากเป็นพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะออฟไลน์ ออนไลน์ มองไปทางไหนก็เจอแต่พ่อค้าแม่ค้า คนซื้อได้เปรียบที่สามารถเลือกซื้อกับใครที่ไหนอย่างไรก็ได้ แต่เสียเปรียบคือคนขายที่ต้องพยายามอย่างหนักให้ลูกค้าสนใจซื้อสินค้า

q10

4.ราคาที่ต้องกำหนดตามต้นทุน

หลายคนไม่ชอบการเป็นตัวแทนเพราะเรื่องราคาขายที่เราไม่มีสิทธิ์ตั้งราคาได้เอง เช่นรับสินค้ามาในราคาต้นทุน 30 บาท จะมาตั้งราคาขายต่ำกว่า 30 ก็ขาดทุนป่นปี้ หรือหากจะขายในราคา 100 บาท

เพื่อให้ได้กำไรมากๆ ก็ทำไม่ได้เพราะคนก็จะไม่ซื้อเนื่องจากมองว่าแพงเกินไป สุดท้ายก็ต้องมาตั้งราคากลางๆ ประมาณ 40-50 บาท หรือาจจะน้อยกว่านี้เพื่อเอาใจลูกค้า เป็นข้อด้อยสำคัญที่หลายบอกว่าสินค้าที่กำหนดราคาเองไม่ได้ทำแล้วเหนื่อย ไม่ทำดีกว่า

q11

5.ข้อกำหนดและกฏเกณฑ์ที่น่าอึดอัด

บางคนเจอสินค้าที่เปิดระบบตัวแทนแบบที่ต้องมีกำหนดขั้นต่ำในการสั่งสินค้าเพื่อสต็อคขาย บางคนเจอสินค้าที่ชอบขายพ่วงซื้อสินค้านี้ไปขายก็ต้องเอาสินค้าอีกตัวไปขายด้วย ไหนจะระบบการจ่ายเงินที่บางทีไม่ใช่ขายขาด

แต่ต้องมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์การขายหรือนำมาหักแบ่งก่อนที่จะส่งคืนรายได้ให้ผู้ขาย บางทีก็เจอข้อกำหนดแบบเป็นตัวแทนที่นี่แล้วห้ามเป็นตัวแทนรายอื่น ข้อกำหนดที่หยุมหยิมเหล่านี้บางทีก็น่าอึดอัดเหมือนกัน

หากพิจารณาข้อดี-ข้อเสีย แล้วทีนี้ก็ต้องลองวิเคราะห์ตามเหตุผลและความเหมาะสมของแต่ละบุคคลว่าพร้อมจะสร้างรายได้ด้วยการใช้ระบบตัวแทนจำหน่ายหรือไม่

ทุกวิธีการต่างมีจุดได้เปรียบเสียเปรียบของตัวเองอยู่ที่ว่าเราจะเลือกบริหารจัดการหรือวางแผนการลงทุนไว้แบบไหน เลือกวิธีที่เหมาะ วิธีถนัด จะเป็นบันไดก้าวแรกสู่คำว่ากำไรตามที่ตั้งใจไว้ได้

สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด