ขั้นตอน การออกแบบ ร้านในห้างสรรพสินค้า

เนื่องด้วยเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา เป็นวันเปิดห้างใหม่ ห้างที่ใหญ่มาก และครบครัน คือ เซ็นทรัลเวสเกตต์ CentralPlaza Westgate  The Largest Selection of exciting and affordable Fashion in Western Bangkok รวมทุกแฟชั่นทันสมัยใหญ่ที่สุดในกรุงเทพตะวันตกกว่า 100 Brand บนพื้นที่กว่า 20,000 ตร.ม. ไหนจะมี โซนอาหาร 3 โซน 3 รูปแบบ แบรนด์ ร้านอาหารกว่า 200 ร้าน ครบครันทุกสไตล์ บนพื้นที่กว่า 20,000 ตรม. ซึ่งแน่นอนว่าภายในรวมร้านค้าต่างๆไว้มากมาย  มีร้านค้าหลากหลายแบรนด์

ซึ่งทางบริษัท ES Design เราได้มีส่วนให้บริการใน การออกแบบ ร้านในนั้น อยู่หลายแบรนด์ครับ ทั้งในส่วนร้านอาหาร หรือ ร้านค้าผลิตภัณฑ์อื่นๆ

หลายร้านเป็นร้านแบรนด์ใหม่ๆที่เริ่มเข้ามาเปิดในห้างครับ  หรือ หลายร้านก็พยายามตกแต่งให้สวยงามในรูปแบบต่างๆ ซึ่งจะตรงกับแบรนด์นั้นๆหรือไม่ คงต้องพิจาณากันในหน่วยงานที่บริหารของแบรนด์ครับ

การออกแบบ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสร้างแบรนด์
การออกแบบ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การสร้างแบรนด์

ดังนั้น ผมจึงขอแชร์วิธีการขั้นตอนที่ทางผมใช้ในการออกแบบ อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ลองพิจารณากันครับ

กระบวนการขั้นตอนในการ Design จะต้องพิจารณาและออกแบบในส่วนใดๆบ้าง มีดังนี้

การออกแบบ ต้องมี BRAND

ถ้าหากได้ลองอ่านที่ผมได้เคยเขียนมาก่อนหน้านี้ จะเห็นว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ผมเน้นมาก เพราะ มันคือตัวตน มันคือเหตุผลที่ลูกค้าจะเลือกใช้บริการเราครับ  เป็นเรื่องที่รวมทั้ง คาแรคเตอร์  Brand Character ตำแหน่งในใจผู้บริโภค หรือแม้แต่ราคาที่ลูกค้ารับรู้ว่าจะต้องจ่ายครับ  ดังนั้น การออกแบบ ให้ได้ตามความคาดหวังกับลูกค้าจึงเป็นสิ่งสำคัญครับ

 

“Brand Character ของร้านค้า สร้างได้
ด้วยการวางแผน ขั้นตอนการออกแบบ อย่างถูกวิธี”

 

VISIBILITY

เมื่อได้รับทำเลที่ตั้งของร้าน การออกแบบ เพื่อให้ร้านค้าเป็นที่เด่นสะดุดตา และ การใช้งาน เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ ในห้างสรรพสินค้านั้น ร้านค้ามีหลากหลาย โดยเฉพาะร้านในแบบ Open Plan ยิ่งต้องมีการออกแบบเพื่อให้เกิดมุมมองมาที่ร้านค้าได้อย่างชัดเจน

AREA USABLE

ในเรื่องการใช้พื้นที่ของร้านค้า มีส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่ง เพราะ หากใหญ่หรือเล็กเกินไป นั่นคือ ที่มาของค่าใช้จ่ายที่เกินไป หรือ จ่ายค่าเช่าน้อยแต่ให้บริการลูกค้าไม่พอ เป็นปัญหาทั้งสิ้นครับ เมื่อเราได้พื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว การแบ่งพื้นที่ใช้งานเป็นส่วนบริการ หรือ ส่วนทำงานของร้านจึงสำคัญ

โดยเฉพาะร้านอาหาร การแบ่งพื้นที่ครัว กับพื้นที่บริการลูกค้า ต้องเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม การจัดที่นั่งอันเป็นสัดส่วนกับพื้นที่บริการต้องจัดให้เหมาะกับบุคคคลิกและรูปแบบของแบรนด์ หรือแม้แต่ในส่วนร้านค้าแบบที่ขายผลิตภัณฑ์ ในส่วนของ Visual Merchandise จะเป็นส่วนสำคัญ เพื่อจัดสินค้าให้พอเพียงกับสินค้า

ภาพจำของแบรนด์ Brand Image ขึ้นอยู่กับการออกแบบเป็นส่วนใหญ่
ภาพจำของแบรนด์ Brand Image ขึ้นอยู่กับการออกแบบเป็นส่วนใหญ่

CONSTRUCTION PROCESS

โดยเฉพาะการก่อสร้างในห้างสรรพสินค้านั้น เราจะมีเวลาการทำงานไม่ได้มากนัก ยิ่งเป็นห้างที่เปิดบริการด้วยแล้ว จะยิ่งเข้าทำงานได้เฉพาะช่วงปิดบริการเท่านั้น  หากเราใช้เวลาในการก่อสร้างเกินกว่ากำหนด เราจะต้องจ่ายค่าเช่าในขณะที่ไม่ได้มีรายได้เข้ามา เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง

ผมพบว่า จริงๆแล้วการวางแผนการก่อสร้างนั้น ควรวางแผนตั้งแต่การเริ่มออกแบบครับ การออกแบบที่ทำได้ยากจนเกินไปโดยไม่ได้ผลที่สำคัญ เป็นสิ่งที่ทำให้ขัดขวางกระบวนการทำงานให้เร็ว หรือ แม้กระทั่งการเลือกใช้วัสดุ หรือ การเลือกคนทำงานไม่มีประสบการณ์ ก่อให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้างทั้งนั้น

COST CONTROL

ประเด็นนี้ เจ้าของกิจการน่าจะสนใจเป็นพิเศษครับ  ในขั้นตอนการออกแบบนั้น เราต้องคำนึงถึงการใช้วัสดุ ราคาที่เหมาะสม หรือแม้กระทั่งการออกแบบที่ทำได้ยาก คือการทำให้ราคาการผลิตสูงขึ้นไปยิ่งขึ้น

 

“การควบคุมค่าใช้จ่าย ในการออกแบบและก่อสร้าง
นักออกแบบมืออาชีพ ควรใส่ใจอยู่ตลอดเวลา
เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า”

 

แต่สิ่งที่บอกนี้ ไม่ได้หมายถึงการประหยัดจนไม่มีงบในการทำงานนะครับ การทำร้านในระดับที่มีสินค้า หรือ บริการในราคาสูง เราก็ต้องมีการออกแบบที่ดูเหมาะสมกับแบรนด์ซึ่งอาจจะทำให้งบการก่อสร้างสูงตามไปด้วยครับ ตรงนี้คงต้องให้ทางผู้ประกอบการพิจารณาความเหมาะสมครับ

จริงๆแล้ว หัวข้อต่างๆนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง อาจจะมีสิ่งอื่นๆให้คิดและพิจารณาในการดำเนินการมากมายครับ วันนี้ฝากไว้ให้พิจารณาไว้เบื้องต้นเท่านี้ครับ

 

ขอขอบคุณรูปภาพ จาก https://www.facebook.com/EsDesign.RetailAndInterior