ก๊อบได้ก๊อบเลย! 5 วิธีรับมือหากสินค้าเราโดนก๊อบ

เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจหลายๆ คน โดยเฉพาะ SMEs อาจเคยเจอกับปัญหาสินค้าของตัวเอง โดนก๊อบ อาจเป็นเพราะสินค้ามีความโดดเด่น ถูกปาก ถูกใจ ของใครหลายคน

จนมีการบอกปากต่อปากของลูกค้า แต่พออยู่ๆ มาวันหนึ่ง เราได้เห็นสินค้าเหมือนของตัวเองไปวางขายอยู่ที่หนึ่ง หรือร้านหนึ่ง หรืออีกประเทศหนึ่ง ทำเอาปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามกัน

โดนก๊อบ

ภาพจาก goo.gl/rzvwHV , goo.gl/VCSaK7

อย่างกรณีล่าสุด มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก Zoom Puechaneeyangkoon เจ้าของร้านเค้ก แดนดิไลอัน (Dandelion) สุขุมวิท 49 ได้โพสต์ข้อความ บอกเล่าถึงอดีตลูกจ้างของร้าน ที่ลาออกไปเปิดร้านเป็นของตัวเอง แล้วคัดลอกสูตรเค้กของทางร้านไป พร้อมกับส่งรูปสินค้ามาให้เชฟเบเกอรี่ของทางร้านที่ยังทำงานอยู่ ทำเอาเจ้าของร้านแสดงความไม่พอใจอย่างยิ่ง
จากกรณีดังกล่าว

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะมาบอกวิธีการรับมือกับบรรดานักก๊อบทั้งหลาย เพราะถ้าหากวันหนึ่งสินค้าของเราเป็นที่นิยมของตลาดอย่างกว้างขวาง สินค้าของเราโดนก๊อบ เราก็สามารถรับมือกับมันได้ครับ

วิเคราะห์ปัญหาและวางกลยุทธ์

nn1

ภาพจาก goo.gl/myZisU

สำหรับวิธีการรับมือกับปัญหาสินค้าโดนก๊อบ ก็ยังมีอยู่ เริ่มจากการวิเคราะห์และวางกลยุทธ์ที่เหมาะสม 6W 1H ไม่ว่าจะก๊อบด้วยคุณภาพเกรดไหน สินค้าเหล่านี้คือคู่แข่งทางธุรกิจของคุณ

ดังนั้น จึงต้องวิเคราะห์แบบที่เราวิเคราะห์กับคู่แข่ง โดยหลักการง่ายๆ ที่ใช้ได้ดี คือ สินค้าที่ก๊อบนั้นมีจุดขายอย่างไร (What) ขายให้กับลูกค้ากลุ่มใด (Who) ขายที่ไหน (Where) จุดขายหรือคุณค่าของเขาคืออะไร (Why)

คนที่ซื้อมีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออย่างไร (Whom) คนที่ซื้อนั้นซื้อเมื่อไร (When) และตั้งราคาขายที่ราคาเท่าไร แตกต่างมากไหมเมื่อเทียบกับสินค้าของเรา (How much)

ขณะเดียวกัน เราต้องวิเคราะห์ด้วยว่า สินค้าของเราโดนก๊อบเพราะอะไร ทำไมสินค้าของเราถึงถูกลอกเลียนแบบ เหตุผลที่สินค้าส่วนใหญ่โดนก๊อบ อาจเป็นเพราะมีมูลค่าทางตลาดสูง หรือเป็นสินค้าขายดีในตลาดเป้าหมาย

อีกหนึ่งสาเหตุที่มีการลอกเลียนแบบสินค้าของเรา คือ คู่แข่งได้มองเห็นถึงช่องว่างทางตลาด ที่สินค้าของเรายังเข้าไม่ถึง หรือยังมีตลาดที่สินค้าของเรายังเข้าไม่ได้ อาจเป็นเรื่องของราคา หรือการกระจายสินค้า กฎหมายกติกาต่างๆ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะมีคนเห็นช่องว่างตรงนี้ แล้วลอกเลียนแบบสินค้าของเราไปขาย

วิธีรับมือหากสินค้าเราโดนก๊อบ

1

ภาพจาก goo.gl/wjA8zP

1.สร้างคุณค่ามากกว่าที่ตาเห็น

คุณค่าของสินค้าของเราอยู่ที่ไหน ถ้าสินค้าของเราเป็นแบบที่ลอกเลียนได้ง่าย และคุณค่าทุกอย่างอยู่ในบริบทสิ่งที่จับต้องได้ การป้องกันการถูกเลียนแบบก๊อบปี้คงเป็นไปได้ยาก

ในสินค้าบางอย่างคุณค่าของสินค้าไม่ได้อยู่แค่ในอุปกรณ์ที่จับต้องได้ แต่อยู่ในการบริการที่ต้องใช้งานร่วมกัน ในกรณีข้างต้นการถูกเลียนแบบ อาจอยู่ในส่วนของรูปแบบหน้าตาของสินค้า กระบวนการผลิต รสชาติ แต่ถ้าสินค้าของเรามีคุณค่าในการมอบให้กับลูกค้าสูง คนอื่นจะลอกเลียนแบบได้ยาก

yy

ภาพจาก goo.gl/jn12wp , goo.gl/Gt4yNA

2.ติดต่อสื่อสาร สร้างสัมพันธ์กับลูกค้าเสมอ

การติดต่อสื่อสารกับลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเราได้พูดคุยกับลูกค้าอยู่เสมอ จะสามารถสร้างความผูกพันหรือ Brand Affiliation ให้เกิดขึ้นได้ เมื่อพบสินค้าปลอมหรือลอกเลียนแบบ ก็สามารถแจ้งข่าวสารให้กับกลุ่มลูกค้าของเราได้รับรู้ และสามารถระวังการถูกหลอกจากนักก๊อบได้ทันท่วงที

6

ภาพจาก goo.gl/gdC8or

3.เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ

ข้อมูลเชิงกลยุทธ์ที่เราพลาดไม่ได้ เมื่อวิเคราะห์คู่แข่ง คือ มีช่องว่างทางตลาดใด ที่สินค้าเรายังไม่ได้ตอบโจทย์ หรือไม่สามารถขายได้ในเรื่องราคา หรือสินค้าเรายังกระจายสินค้าเข้าไปไม่ถึง ข้อมูลเหล่านี้ เราควรนำมาวิเคราะห์ต่อว่า เราควรปรับสินค้าที่มีอยู่ ให้แตกต่างอย่างไร หรือเพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อตลาดส่วนนี้

ถ

ภาพจาก goo.gl/O5hHpI

4.จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร

การประกอบธุรกิจใดๆ จำเป็นต้องจดทะเบียนธุรกิจตามแต่ละประเภทของธุรกิจ โดยเฉพาะการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการจดสิทธิบัตร ป้องกันการลอกเลียนแบบ กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพราะถ้ามีใครลอกเลียนแบบสินค้าของเรา เราก็สามารถฟ้องร้องผู้ลอกเลียนแบบได้

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจ SMEs ส่วนหนึ่งป้องกันการถูกก๊อบ ด้วยการวิธีการขายแฟรนไชส์ หรือขายสูตร จึงทำให้เจ้าของธุรกิจที่ทำแฟรนไชส์ ต้องจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการเอาไว้ รวมถึงการจดสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญหาเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกลอกเลียนแบบ เช่นกรณี สตาร์บัคส์ ฟ้องร้อง กาแฟข้างถนนอย่าง สตาร์บัง

2

ภาพจาก goo.gl/wjA8zP

5.คิดเสมอว่าสินค้าเราดีจริง จึงโดนก๊อบ

เราต้องพึงระลึกไว้ว่า ถ้าสินค้าของเราไม่ดีจริง ก็คงไม่มีใครเสียเวลามาก๊อบ สินค้าลอกเลียนเหล่านี้ ก็ไม่แตกต่างจากคู่แข่งทางธุรกิจรายอื่นๆ ของเรา แทนที่เราจะมัวกังวลเรื่องสินค้าถูกเลียนแบบ เราก็หานวัตกรรมใหม่ๆ สร้างคุณค่าใหม่ๆ ให้กับสินค้าของเราตลอดเวลา เพราไม่มีใครตามเราทัน หากออกตัวก่อน ทิ้งห่างพวกก๊อบปี้ไปเรื่อยๆ

ได้เห็นกันแล้วว่า วิธีการรับมือกับสินค้าโดนก๊อบ ต้องทำอย่างไรบ้าง ถ้าเรามัวแต่ไปกังวลว่า สินค้าเราโดนก๊อบไปแล้ว เราจะขายไม่ได้ ธุรกิจของเราต้องเจ๊งแน่นอน ถ้าคิดเช่นนี้ปวดหัวเปล่าๆ ลองคิดวิเคราะห์ว่า สาเหตุที่สินค้าเราโดนก๊อบคืออะไร แล้วพยายามสร้างคุณค่า และความแตกต่างให้กับสินค้าของเรา เหนือกว่าคู่แข่งที่ก๊อบสินค้าไป

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี ทำธุรกิจ www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php


SMEs Tips

  1. สร้างคุณค่ามากกว่าที่ตาเห็น
  2. ติดต่อสื่อสาร สร้างสัมพันธ์กับลูกค้าเสมอ
  3. เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ๆ
  4. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร
  5. คิดเสมอว่าสินค้าเราดีจริง จึงโดนก๊อบ

แหล่งข้อมูล
goo.gl/UpL45z
goo.gl/T6wS5a

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช