กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน Mister Donut

มิสเตอร์โดนัท เริ่มธุรกิจในปี 1955 ที่บอสตัน แมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา หลังจากตั้งธุรกิจได้เพียงปีเดียว Bill Rosenberg และ Harry Winouker ที่เป็นคู่เขยกัน ได้แตกคอ และหันมาเริ่มธุรกิจโดนัทของตัวเอง

Harry ยังคง ผลักดันมิสเตอร์โดนัทให้เดินหน้าต่อ ส่วนบิลได้ตั้งร้านใหม่ในชื่อ ดังกิ้น โดนัท ต่อมาในปี 1970 Harry ได้ขาย Mister Donut ให้กับ International Multifoods ซึ่งเป็นบริษัทในมินนิโซตา

ในปี 1983 บริษัท Duskin จำกัด ของประเทศญี่ปุ่นได้ซื้อลิขสิทธิ์แฟรนไชส์มิสเตอร์โดนัทมาไว้ในครอบครอง ซึ่งสิทธิ์นี้ครอบคลุมการทำธุรกิจมิสเตอร์โดนัททั่วประเทศญี่ปุ่น และภูมิภาคเอเชีย โดยเปิดร้านในญี่ปุ่นมากกว่า 1,000 แห่ง และอีกหลายร้อยสาขาในประเทศต่างๆอทั่วเอเชีย รวมถึงประเทศไทย

นั่นเป็นเรื่องราวโดยย่อของ Mister Donut แต่ในวันนี้ www.ThjaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปค้นหาจุดกำเนิดของแบรนด์แฟรนไชส์ระโลกอย่าง Mister Donut รวมถึงจุดพลิกผันเมื่อเจอคู่แข่งอย่าง ดังกิ้นโดนัท มาดูเลยครับ

จุดกำเนิดของ Mister Donut

มิสเตอร์โดนัท

ภาพจาก goo.gl/iw6i9I

มิสเตอร์ โดนัท เป็นผลผลิตที่ตกผลึกของ มิสเตอร์ แฮรี่ วินเนอร์ เคอร์ กำเนิดขึ้นครั้งแรกที่รัฐแมสซาชูเซท ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2498 จากกิจการเล็กๆ ระดับท้องถิ่น ก็เริ่มเติบโตสู่ระดับประเทศ

ในระยะเวลาต่อมา มิสเตอร์ เซย์จิ ซูซูกิ ได้นำมิสเตอร์ โดนัท เข้ามาในประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ บริษัท ดัสกิ้น จำกัด (Duskin Co.,Ltd.) เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2514 ที่มิโน, โอซาก้า นับแต่นั้นมา ร้านมิสเตอร์ โดนัท ได้ขยายสาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น จาก ฮอกไกโด ถึง โอกินาวา จนเป็นที่แพร่หลายได้ในระยะเวลาไม่นาน ทำให้ทุกคนต่างรู้จักชื่อของมิสเตอร์ โดนัทเป็นอย่างดีในปัจจุบัน

ถึงแม้ปัจจุบัน มิสเตอร์โดนัทที่สหรัฐอเมริกาได้ถูกขายต่อให้กับ Allied-Lyins plc ซึ่งเป็นเจ้าของ Baskin Robbins และ Mister Donut โดยร้านมิสเตอร์โดนัทที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาเกือบทั้งหมดได้เปลี่ยนเป็นดังกิ้นโดนัทหมดแล้ว แต่ Duskin ที่ถือลิขสิทธิ์ในญี่ปุ่นและเอเชีย ยังคงดำเนินธุรกิจขยายแฟรนไชส์ต่อไปในชื่อ มิสเตอร์โดนัท เช่นเดิม

Mister Donut ในประเทศไทย

ss2

ภาพจาก goo.gl/66Wbxr

จุดเริ่มต้นของ มิสเตอร์ โดนัท ในประเทศไทย ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2521 คุณสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ และคุณสุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ในนามของบริษัท ไทยแฟรนไชซิ่ง จำกัด สองพี่น้องผู้บุกเบิกตลาดโดนัทเป็นเจ้าแรกในประเทศไทย โดยนำเข้ามาจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งสาขาแรกที่ สยามสแควร์

พร้อมกับมีการบริการกาแฟ ทำให้คนไทยหันมานิยมรับประทานโดนัทกันมากขึ้น โดยในภายหลัง มิสเตอร์ โดนัท อยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG มิสเตอร์ โดนัท ในฐานะผู้นำตลาดโดนัทในประเทศไทย ยังคงมุ่งมั่นสร้างสรรค์โดนัทคุณภาพ ภายใต้สโลแกน

สามทศวรรษแห่งความสำเร็จ และก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลง ตลอดสามทศวรรษที่ผ่านมา มิสเตอร์ โดนัท ประเทศไทย ถือเป็นต้นกำเนิดของธุรกิจอาหารบริการด่วน โดยเป็นที่รู้จักและยอมรับในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยอย่างกว้างขวาง จนในปัจจุบันได้ขยายสาขาถึง 200 แห่งทั่วประเทศไทย

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มิสเตอร์ โดนัท ได้มีวิวัฒนาการรูปลักษณ์ของร้านให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องหลากหลายรูปแบบ ปี 2521 มิสเตอร์ โดนัท สาขาสยามสแควร์ เปิดตัวเป็นสาขาแรกด้วยป้ายโลโก้หน้าร้านเป็นตัวอักษร มิสเตอร์ โดนัท สีแดงตัดกับสีขาวของพื้นหลังอย่างโดดเด่น ส่วนการตกแต่งร้านและการใช้สีสันเน้นความเรียบง่าย

โดยการให้บริการเป็นไปในแบบ Counter service ปี 2534 มิสเตอร์ โดนัท เริ่มเปิดตัวป้ายไฟโลโก้โทนสีเหลืองและสีแดงเพื่อเน้นความสดใส แต่การตกแต่งภายในร้านยังคงเน้นความเรียบง่าย

เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการตกแต่งให้ทันสมัยมากขึ้น โดยการนำลายกราฟฟิกรูปโดนัทมาใช้ในการตกแต่งร้าน และเน้นสีสันที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองเต็มไปด้วยความสุข

ss5

ภาพจาก goo.gl/Ns9Oys

ปี 2545 มิสเตอร์ โดนัท ได้สร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ ๆ ในการเลือกลิ้มลองความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ลูกค้าสามารถเลือกอร่อยได้ด้วยตัวเอง ด้วยบริการแบบ self selection

ปี 2547 มีการปรับเปลี่ยนเพื่อเน้นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมิสเตอร์ โดนัท ด้วยลักษณะของร้านแบบ Micro Kitchen หรือร้านแบบครัวเปิด ที่ลูกค้าสามารถมองเห็นกรรมวิธีการผลิตโดนัทอย่างพิถีพิถันตลอดทุกขั้นตอน พร้อมสัมผัสถึงกลิ่นหอมและรสชาติที่อร่อยสดใหม่จากเตาในแบบฉบับของมิสเตอร์ โดนัทที่ไม่เหมือนใคร

ปี 2551 มิสเตอร์ โดนัท มีสาขาครบ 200 สาขา ณ เซ็นทรัลพลาซา แจ้งวัฒนะ ซึ่งเป็นการปรับโฉมรูปแบบร้านใหม่หมด ภายใต้ Concept Casual and Relaxing At Home โดยนำต้นแบบการตกแต่งร้านมาจาก ประเทศญี่ปุ่น

ซึ่งเน้นการตกแต่งทั้งภายใน ภายนอกด้วยโทนสีอบอุ่น และปรับบรรยากาศภายในร้านให้รู้สึกเหมือนรับประทานอยู่ที่บ้าน พร้อมกับครอบครัว และป้ายไฟโลโก้ หน้าร้านได้เปลี่ยนเป็นโทนสีน้ำตาลเข้มและสีแดงอมส้ม

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มิสเตอร์ โดนัท ประสบความสำเร็จ คือ การสร้างความแตกต่าง ด้วยการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง

มิสเตอร์ โดนัท ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงกับผลิตภัณฑ์ Pon De Ring (พอน เดอ ริง) ของแท้ต้องที่มิสเตอร์ โดนัท ซึ่งได้รับความนิยมมาตลอด นับตั้งแต่เริ่มออกจำหน่ายในประเทศไทยเมื่อปี 2547 ด้วยเอกลักษณ์ในความนุ่มหนึบ ความยืดหยุ่นของเนื้อแป้ง และดีไซน์เป็นปล้องคล้ายดอกไม้ ทำให้มีความแปลกใหม่แตกต่างไปจากโดนัทแบบเดิม

“โดนัท” ตั้งใจเขียนผิดหรือสะกดผิด

ss4

ภาพจาก goo.gl/iriVLB

หลายคนในไทยต้องเดินผ่าน หรือลิ้มลองรสชาติโดนัทของแฟรนไชส์ดังอย่าง Dunkin’ Donuts และ Mister Donut กันมาบ้าง แต่คงไม่เคยสังเกตว่า Donut สะกดผิด เพราะจริงๆ แล้วต้องเขียนว่า Doughnut “ตั้งใจผิด หรือลืมว่าสะกดอย่างไร”

คำดั้งเดิมของขนมโดนัทในภาษาอังกฤษจะเขียนว่า Doughnut (อ่านว่าโด-นัด) ความหมายตาม Merriam-Webster Dictionary คือ A small usually ring-shaped cake fried in fat. หรือสิ่งขนมเค้กขนาดเล็กที่มีรูปทรงเหมือนแหวน และทอดในน้ำมัน

แต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 มียักษ์ใหญ่ธุรกิจแฟรนไชส์โดนัทอย่าง Dunkin’ Donuts และ Mister Donut ตัดสินใจเขียนคำว่าโดนัทด้วยรูปแบบการอ่านออกเสียง หรือ Phonetic-Based Spelling แทน จนคำนี้ก็ถูกบรรจุเข้าไปในพจนานุกรม และมีความหมายเหมือน Doughnut

โดยร้านแรกที่ใช้คำว่า Donut คือ Dunkin’ Donuts ตั้งแต่ปี 2493 ผ่านวิสัยทัศน์ของ William Rosenberg และช่วงแรกใช้ชื่อร้าน Open Kettle ส่วนการขยายสาขานั้นเริ่มที่ปี 2498 และกลายเป็นร้านโดนัทอันดับต้นๆ ของโลก ผ่านสาขากว่า 12,000 แห่ง
แบรนด์ถัดมาที่ใช้คำว่า Donut คือ Mister Donut ในปี 2498 โดย Harry Winouker พี่เขยของผู้ก่อตั้ง Dunkin’s Donuts แต่ทั้งสองแฟรนไชส์ดังไม่เปิดเผยถึงสาเหตุที่สะกดโดนัท ด้วย Donut เพียงบอกว่าใช้คำนี้ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจเท่านั้น

แข่งตลาดอเมริกา กับเอเชีย

ss6

ภาพจาก goo.gl/wgnCrX

อย่างไรก็ตามแฟรนไชส์ Donut สองรายนี้ต่างแข่งขันกันมาตั้งแต่ตลาดในสหรัฐอเมริกา จนถึงตลาดโลก โดยฝั่ง Dunkin’ Donuts จะแข่งแกร่งในตลาดสหรัฐอเมริกามากกว่า เพราะระหว่างแข่งขันกับ Mister Donut ได้ตัดสินใจส่งบริษัทในเครือซื้อสิทธิ์ในการทำตลาดในสหรัฐอเมริกาทั้งหมด

ทำให้ที่นั่นไม่มีร้าน Mister Donut เพราะถูกเปลี่ยนเป็นร้าน Dunkin’ Donuts ทั้งหมด ในทางกลับกันตลาดเอเชียของ Mister Donut กลับแข็งแกร่งกว่าคู่แข่งมาก โดยเฉพาะในญี่ปุ่น ผ่านสินค้าเฉพาะ เช่น Pon de Ring จนสามารถขยายสาขาได้กว่า 10,000 แห่ง

ขณะเดียวกัน เมื่อ Donut กลายเป็นคำปกติ ทำให้ร้านเบเกอรี่ที่เกิดหลังจากนั้นต่างตั้งชื่อโดนัท ว่า Donut เกือบทั้งหมด รวมถึงคำว่า Donut ก็ถูกใช้ค้นหามากกว่าคำว่า Doughnut ในกูเกิลเช่นกัน

ดังนั้น หากต้องการทำตลาดออนไลน์ การใช้คำว่า Donut แทนที่จะใช้ Doughnut ก็น่าจะเป็นวิธีที่ดีกว่า เพราะสร้างโอกาสค้นหาได้ง่าย นอกจากนี้การออกแบบชื่อร้านโดยใช้คำว่า Donut ยังช่วยสร้างความหลากหลายในประโยค หรือวลีได้ เพราะตัวอักษรที่น้อยกว่า ย่อมสามารถเพิ่มเติมอะไรได้มากกว่า

ทั้งหมดเป็นเรื่องราวและจุดกำเนิดของแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง Mister Donut ที่แม้บางช่วงเวลาจะไม่มีขายแล้วในสหรัฐอเมริกา แต่ก็เป็นแบรนด์โดนัทที่ได้รับนิยมอย่างมากในเอเชีย ก่อนจะขยายเข้าสู่ไทย โดยกลุ่ม CRG เซ็นทรัลครับ

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/jaKbWv
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/f6Fgim

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2VaoKsd

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช