กำเนิดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลก ตอน ” แมคโดนัลด์ “

เชื่อว่าในวันนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกอย่าง “ แมคโดนัลด์ ” อย่างแน่นอน แม้ว่าอาจจะไม่ได้ลิ้มลองรสชาติ แต่ก็น่าจะเคยเห็นผ่านตามาบ้างแล้ว แต่คุณผู้อ่านรู้หรือไม่ว่า “แฮมเบอร์เกอร์” ที่หลายๆ คนชื่นชอบ หลงใหลกันนักกันหนา มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมจึงกลายเป็นแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกจนถึงปัจจุบัน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณผู้อ่านไปค้นหาคำตอบเกี่ยวกับ “แมคโดนัลด์” ว่าแบรนด์แฟรนไชส์ระดับโลกมีจุดกำเนิดมาจากไหน ใครเป็นเป็นสร้างร้านแฮมเบอร์เกอร์แบรนด์นี้ขึ้นมา และทำไมถึงเป็นแบรนด์ระดับโลกได้ครับ

ร้านอาหารแบบ Drive in จุดกำเนิด McDonald

แมคโดนัลด์

ภาพจาก goo.gl/BQVU7f

เรื่องราวของร้านอาหารประเภท Fast Food ในอเมริกา ครั้งแรกเปิดเป็นร้านอาหารประเภท Drive in คือ จะเป็นร้านเล็กๆ ไม่มีพื้นที่สำหรับรับประทานในร้าน แต่มีพื้นที่ให้คนขับรถมาสั่งซื้ออาหาร แล้วพนักงานจะนำมาให้ที่รถ ลูกค้าต้องนำไปรับประทานที่บ้านเท่านั้น

ร้านแรกที่ถือได้ว่าเป็นฟาสต์ฟู้ด Drive in แห่งแรกเปิดขึ้นในเมืองฮอลลีวู้ด รัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากนั้นในช่วงกลางยุค 30 ก็ถือว่าเป็นยุคแห่งการกำเนิดร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีชื่อเสียง โดยพี่น้องตระกูล Carpenter และ Sydney Hoedemaker จากรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยเป็นผู้ริเริ่มรูปแบบของการบริการแบบสะดวกซื้อ คือ มีพื้นที่ให้รถลูกค้าเข้ามาจอด

สั่งอาหารแล้วจะมีพนักงานมาเสิร์ฟอาหารให้ถึงรถ พ่อบ้านแม่บ้าน และวัยรุ่นสมัยนั้นนิยมที่จะขับรถมาซื้อ ร้านอาหารที่เปิดในช่วงนั้นได้กลายเป็นร้านอาหารที่มีชื่อเสียงเป็นที่ รู้จักกันดีทั้งในอเมริกาและได้ขยายกิจการไปทั่วโลก

z31

ภาพจาก goo.gl/Z4YGc7

กระทั่งในปี 1940 Dick & Marice (ชื่อเล่น Mac) สองพี่น้องตระกูล McDonald ได้ย้ายเข้ามาจากนิวแฮมเชอร์เข้ามาอยู่ในแคลิฟอร์เนีย ทั้ง 2 เปิดร้านอาหารแบบ Drive in โดยใช้ชื่อว่า Dimer โดยอาหารในเมนูทุกอย่างจะมีราคาแค่ 10 เซนต์ (Dimer หมายถึงเหรียญ 10 เซนต์)

Dimer เป็นการเริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารของ 2 พี่น้อง McDonald ตั้งอยู่ที่ถนน E 14 เมือง San Bernadino ด้วยความรวดเร็วในการให้บริการร้านอาหารทำเป็นรูปแปดเหลี่ยม จอดรถได้ทั้ง 8 ด้าน

บริเวณทำอาหารเปิดโล่งที่ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ชัดเจน และยังไม่มีร้านใดที่เปิดให้ลูกค้าได้เห็นวิธีการทำอาหารอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการที่อาหารราคาถูกแค่ 10 เซนต์ จึงส่งผลให้ร้านอาหารของ 2 พี่น้องประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว

ปี 1943 สองพี่น้องเปิดร้านที่ 2 ขึ้นที่ Pasadena ด้วยร้านค้ารูปแบบเดิม มีพนักงานรับส่งอาหาร ใส่สเก็ตให้บริการ แต่ด้วยการแข่งขันรุนแรง จึงมีการเลียนแบบรูปแบบร้านค้าของเขา ทั้งสองจึงเริ่มที่จะคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมา

z34

ภาพจาก goo.gl/yrVDQJ

ปี 1948 หลังจากพบกับปัญหาต่างๆ มากมายในการบริการแบบ drive in ทั้งในส่วนจองการสั่งอาหาร ที่จอดรถ และการบริการที่ล่าช้า dick และ Mac ตัดสินใจปิดร้านเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อจัดระบบใหม่ รวมทั้งคิดรูปแบบของการให้บริการขึ้นมาใหม่ และได้เปิดร้านใหม่ขึ้นอีกครั้งในวันที่ 12 ธันวาคม 1934 พร้อมกับการเปิดตัว Speedee ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ใหม่ของร้าน ที่แสดงถึงการบริการที่รวดเร็ว ฉับไว Speedee Service System

โดยขายแฮมเบอร์เกอร์ในราคา 15 เซนต์ ในรูปแบบของการให้บริการตัวเอง ที่ลูกค้าสามารถจอดรถแล้วเดินมาสั่งอาหาร หรือว่าจะสั่งอาหารผ่านช่องหน้าต่างก็ได้ โดยไม่ต้องผ่านพนักงาน car hop ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น

มีการเปลี่ยนถ้วยชามเป็นกระดาษ เน้นความรวดเร็ว แฮมเบอร์เกอร์กลายเป็นเมนูยอดนิยม จนต้องมีการตัดตั้งเทอร์โมมิเตอร์ที่ไม่ได้ใช้วัดอุณหภูมิ หากแต่เอาไว้ใช้นับจำนวนของแฮมเบอร์เกอร์ที่ขายไปทั้งหมด

จุดเปลี่ยนครั้งยิ่งใหญ่ของ McDonald

z38

ภาพจาก goo.gl/ZsW23p

ปี 1949 French Fries ถูกเพิ่มเข้าไปในเมนูของแมคโดนัลด์ และในยุค 50 กลายเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในธุรกิจร้านอาหารของ 2 พี่น้อง McDonald เมื่อ Ray Kroc ผู้จำหน่ายเครื่อง Multiple Malted Milk Mixers มองเห็นช่องทางที่จะขายเครื่องมัลติมิกเซอร์ให้ได้มากๆ เขาได้เดินทางไปทั่วอเมริกา เพื่อดูลู่ทางในการขายสินค้าให้กับร้านค้าต่างๆ

มีร้านหนึ่งที่สร้างความแปลกใจให้กับเขามาก นั่นคือ ร้านของ 2 พี่น้องแมคโดนัลด์ ที่สั่งเครื่องนี้ถึง 8 เครื่อง สำหรับใช้ในร้านเพียงร้านเดียว ทำให้ Ray Kroc อยากรู้เดินทางไปด้วยตนเอง และพบว่าเขาได้ช่องทางที่จะขายเครื่องได้เป็นจำนวนมาก ถึงตอนนั้น Ray Kroc มองว่าเขาสามารถเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการขายเครื่องมัลติมิกเซอร์ได้

แต่สองพี่น้องกลับคิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จพอแล้ว ไม่ต้องการที่จะรับภาระอันหนักอึ้งในการดำเนินธุรกิจและการขยายกิจการในตอนนั้น สัญลักษณ์ของแมคโดนัลด์ คือ Speedee man มีตัวเลข 15c บนชื่อ McDonald ตัว c ถูกยกขึ้นสูง

ปี 1953 McDonald’s Speedee เปิดร้านที่ 2 ขึ้นที่เมือง Phonenix รัฐอริโซนา ในรูปแบบของการขายแฟรนไชส์ โดยผู้ซื้อ W.H. (Neil) Fox เป็นเงิน 950 เหรียญ ร้านที่ 3 ตั้งอยู่บนถนน Victoria Boulevard ฮอลลีวู้ด

ซื้อแฟรนไชส์โดย George Cox ร้านที่ 4 เปิดขึ้นมาเมื่อ 18 สิงหาคมปีเดียวกัน และกลายเป็นร้านของแมคโดนัลด์ที่ให้บริการมาจนถึงปี 1990 กลายเป็น The Oldest Original Mc’sDonald in the world แต่ร้านนี้ก็ได้ย้ายไปในช่วงปลายปี 1990

Ray Kroc ได้มองเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจ ตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ ได้เปิดร้านแรกของเขาที่เมือง Des Plaines รัฐ Illinosils เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1955 วันแรกของการเปิดร้านฝนตกอย่างหนัก แต่ก็ขายได้ถึง 366 เหรียญสหรัฐ และทุกวันที่ 15 เมษายนของทุกปี ก็ได้กลายเป็นวันสำคัญของ McDonald ทั่วโลก เรียกวันนี้ว่า Founder’s Day

z35

ภาพจาก goo.gl/Fbnsxf

Ray Kroc ก็ได้ตั้ง McDonald’s System Inc (MSI) ในวันที่ 2 เมษายนปี 1955 เพื่อดูแลการขายเฟรนไชส์ให้กับแมคโดนัลด์ กระทั่งในปี 1956 ขายแฮมเบอร์เกอร์ไปแล้ว 20 ล้านชิ้น ในปี 1957 ขึ้นเป็น 50 ล้านชิ้น และถึงหลัก 100 ล้านชิ้น ในปีถัดมาถึงตอนนั้นไม่มีอะไรจะหยุดยั้งการเติบโตของ McDonald’s ได้แล้ว

ปี 1961 สองพี่น้อง Dick & Marice McDonald’s ก็ตัดสินใจขายหุ้นทั้งหมดให้กับ Ray Kroc เป็นจำนวนเงิน 2.7 ล้านเหรียญ McDonald’s System Inc (MSI) เปลี่ยนชื่อมาเป็น McDonald’s Corporation และได้ดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อ McDonald’s มีสาขารวมแล้วกว่า 300 สาขาทั่วอเมริกา จึงได้มีการตั้งมหาวิทยาลัยแฮมเบอร์เกอร์ขึ้นมา ที่ Elk Grove Village รัฐ Illinois เพื่อสอนให้กับเจ้าของร้าน ในการเปิดร้าน McDonald’s

โดยเน้นไปที่มาตรฐานของ product, place, price และpromotion นับจากปี 1961ถึง 1968 McDonald’s ขยายสาขาจาก 300 เป็น 1,000 สาขาอย่างรวดเร็ว และในปี 1965 นิตยสาร TIME ได้ยกย่องให้ Ray Kroc เป็น The Hamburger Man of the Century

McDonald’s 50 ปี Re-Branding

z36

ภาพจาก goo.gl/KsJrh6

สำหรับโครงการฉลองครบรอบ 50 ปี ของ McDonald’s นั้น McDonald’s ได้มีการเปิดตัวแคมเปญโฆษณาชุดใหม่ชื่อว่า I’m lovin’ it โดยมีการดึงเอา Justin Timberlake ป๊อปสตาร์ชื่อดังมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ นอกจากนี้ยังจะใช้สัญลักษณ์ที่ทุกคนคุ้นตาคือ Ronald McDonald เป็นหัวหอกในการโปรโมทแคมเปญนี้ในฐานะทูตแห่งความสุขของ McDonald’s อีกด้วย

ทางสำนักงานใหญ่ของ McDonald’s ที่ Oak Brook, Illinois ได้ว่าจ้างทาง Heye & Partners เอเยนซีโฆษณาเยอรมันสังกัด DDB ในเครือ Omnicom Group Inc. เป็นผู้ทำโฆษณาชิ้นนี้ขึ้นมาจำนวน 5 เวอร์ชั่น

และได้ประเดิมออกอากาศที่กรุง Munich ประเทศเยอรมนีเป็นที่แรก จากนั้น McDonald’s ได้นำภาพยนตร์โฆษณาเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปีทยอยออกอากาศไปจนครบ 121 ประเทศทั่วโลก ที่มีสาขาของ McDonald’s เปิดบริการอยู่จนครบทั้ง 5 เวอร์ชั่น

แคม เปญ I’m lovin’ it เป็นแคมเปญระดับโลกที่ออกตามหลังแคมเปญ “Smile” ในสหรัฐ พร้อมกันนี้ทาง McDonald’s ได้เพิ่มเมนูเด็ดขึ้นมาเฉลิมฉลองอีก 2 เมนู ได้แก่ พรีเมียมสลัดราด Newmans Own Dressing ที่ McDonald’s ตั้งใจจะสื่อไปถึงพระเอกรุ่นเก๋าอย่าง Paul Newman และเมนูอาหารเช้าอย่าง McGriddles Sandwiches

ทั้ง 2 เมนูช่วยดันยอดขายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของ McDonald’s ได้มากทีเดียว จริงๆ แล้ว McDonald’s คาดหวังให้ แคมเปญ I’m lovin’ it เป็นตัวฉุดให้ยอดขายทั่วโลกกระเตื้องขึ้นอีกครั้ง หลังจากประสบปัญหาด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยของเนื้อวัว กระแสการป้องกันโรคอ้วน หรือความเบื่อหน่ายในเมนูที่ซ้ำซาก

แม้จะได้ผลในระดับหนึ่งแต่นักวิเคราะห์หลายรายก็เห็นตรงกันว่า การลงทุนลงแรง Re-Branding และการทำการตลาดของ McDonald’s ยังให้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่านัก เช่นเดียวกับการปรับดีไซน์หรือการวางสินค้าใหม่ในตลาด

สำหรับตลาดในเอเชียนั้น แมคโดนัลด์เลือกประเทศสิงคโปร์ เป็นตลาดแรกในการลอนช์แคมเปญนี้ โดยมีการปูพรมโปรโมทผ่านสื่อโฆษณาอย่างหนักด้วยการยิงสปอตโฆษณาทางทีวีกว่า 1,000 สปอต และสื่อวิทยุอีกกว่า 500 สปอต เพื่อทำให้การลอนช์แคมเปญใหม่นี้เข้าถึงผู้บริโภคทั่วทั้งเกาะอย่างรวดเร็ว

แมคโดนัลด์สาขาแรกในไทย

z33

ภาพจาก goo.gl/935wVA

16 มีนาคม พ.ศ. 2528 (ค.ศ.1985) ร้านอาหารจานด่วนจากอเมริกา “แมคโดนัลด์” (Mcdonald) เปิดบริการเป็นสาขาแรกที่ประเทศไทยในห้างโซโก้ (ปัจจุบันคืออาคารอัมรินทร์ พลาซ่า) ที่สี่แยกราชประสงค์ นับเป็นประเทศที่ 35 ของโลกที่มีแมคโดนัลด์

โดยมี “เดช บุลสุข” เป็นผู้นำเข้าร้านอาหารจานด่วนนี้ ในตอนนั้นถือเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ยุคแรกของกิจการร้านอาหารแฟรนไชส์ข้ามชาติ ทำให้ผู้คนเกิดความคุ้นเคยกับอาหารต่างชาติมากขึ้น และเป็นการเข้าสู่กระแสบริโภคนิยม

ร้านแมคโดนัลด์สาขาแรกนี้มีเนื้อที่ 500 ตารางเมตร สามารถจุลูกค้าได้ไม่น้อยกว่า 200 คน ซึ่งการลงทุนครั้งแรกเป็นค่าก่อสร้าง ค่าที่ดิน ค่าตกแต่งภายใน ไปจนถึงค่าเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งสิ้นเป็นมูลค่ากว่า 50 ล้านบาท

เห็นได้ว่าจุดกำเนิดและเรื่องราวความสำเร็จของ McDonald’s ยังถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์ THE FOUNDER อยากรวย ต้องเหนือเกม ที่ได้ฉายไปเมื่อต้นปี 2560 ที่ผ่านมา เป็นเรื่องราวของ เรย์ คร็อก เซลล์แมนที่กล้าได้กล้าเสี่ยง เสพติดความก้าวหน้าในชีวิต หลังจากหยิบผิดหยิบถูกในการลงทุนสั่งซื้อสินสินค้ามาขายอย่างยาวนาน

จนกระทั่งวันหนึ่งเขาเดินเข้าร้านขายอาหารฟาสต์ฟู๊ดเล็กๆ ร้านหนึ่งที่ชื่อว่า “แมคโดนัลด์” ทำให้ความคิดของเขาเปลี่ยนไป เขาเริ่มชักจูงให้เจ้าของร้านอย่าง ดิ๊ค และ แม็ค แมคโดนัลด์ ขยายสาขา โดยที่ความคิดของ เรย์ คร็อก และสองพี่น้อง ดิ๊ค และ แม็ค แมคโดนัลด์ มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่แตกต่างกันสุดขั้ว

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/ggUk4j
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ goo.gl/NjHtwa

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/37e50tH

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช