การสร้างร้านต้นแบบแฟรนไชส์ (Pilot Project)

ถ้าจะกล่าวถึงการเริ่มธุรกิจแบบแฟรนไชส์นั้น ร้านต้นแบบ หรือ Pilot Project ถือว่าเป็นการเริ่มต้นระบบธุรกิจแบบแฟรนไชส์ที่สำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นจุดหลักในการเป็นต้นร่างของโครงการ ที่เป็นภาพเห็นเด่นชัดที่สุด เป็นแหล่งข้อมูลในการจดบันทึก ทั้งตัวเลขและวิธีการบริหารร้านต่างๆ

รวมทั้งเป็นกรณีศึกษาในการสร้างระบบแฟรนไชส์ที่สมบูรณ์แบบต่อไป นอกจากนี้ Pilot Project ยังมี ประโยชน์อีกมากมาย เช่น เป็นร้านตัวอย่าง เป็นสถานที่ฝึกงานของแฟรนไชส์ซีได้อีกด้วย

เมื่อตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำ Pilot Project เพราะจะเป็นเหมือนแผนที่ สำหรับบอกทางที่จะต้องเดินไปให้บรรลุเป้าหมาย รวมถึงได้รับรู้ว่าจะเจออุปสรรคระหว่างทางอะไรบ้าง

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะพาคุณไปดูสำคัญของร้านต้นแบบแฟรนไชส์ หรือ Pilot Project ในการทำธุรกิจแฟรนไชส์ มีประโยชน์ต่อการขยายสาขา และดึงดูดให้คนมาซื้อแฟรนไชส์อย่างไรบ้าง

ร้านต้นแบบมีประโยชน์อย่างไร

1.เป็นโมเดลธุรกิจ

ร้านต้นแบบ

เมื่อคุณเริ่มเสนอขายแฟรนไชส์ให้กับแฟรนไชส์ซี ถ้าคุณมีร้านต้นแบบอยู่แล้วจะยิ่งช่วยให้คุณเจรจากับแฟรนไชส์ซีได้ผลเร็วยิ่งขึ้น เพราะร้านต้นแบบจะช่วยชี้แจงรายละเอียดต่างๆ ให้กับแฟรนไชส์ซีแทนคุณเอง เพราะบางครั้งหากคุณพูดอย่างเดียวแต่ไม่ร้านโชว์ให้เขาได้เห็น ที่พอเป็นโมเดลได้ แฟรนไชส์ซีอาจไม่เชื่อคุณก็ได้

2.เป็นเครื่องมือพิสูจน์ระบบธุรกิจที่สร้างขึ้น

km13

ก่อนขายแฟรนไชส์คุณจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพิสูจน์ระบบแฟรนไชส์ที่คุณสร้างขึ้นมา ว่าใช้ได้หรือไม่ ถึงแม้ว่าคุณจะซื้อมาจากนอกที่มีระบบสมบูรณ์แบบแล้ว แต่เมื่อมาถึงเมืองไทยที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน คุณจะต้องทดสอบดูเสียก่อนว่า ติดปัญหาตรงไหน เจออุปสรรคอะไร

คู่มือแฟรนไชส์ที่เขียนขึ้นมา ระบบถ่ายทอดการอบรมจะใช้ได้ผลหรือไม่ ร้านต้นแบบจะเป็นตัวพิสูจน์ว่าที่คุณสอนทั้งเจ้าของ ผู้จัดการร้าน พนักงาน จะสามารถทำธุรกิจได้สำเร็จหรือไม่ มีกำไรเหมือนกับที่คุณทำหรือเปล่า

3.ช่วยให้แฟรนไชส์ซียินดีทำตามคำแนะนำ

km14

ถ้าคุณไม่มีร้านต้นแบบที่มีรูปแบบการบริหารจัดการที่ชัดเจนและประสบความสำเร็จมาแล้ว เมื่อคุณขายแฟรนไชส์กับแฟรนไชส์ซีไปแล้ว เขาอาจจะไม่เชื่อในคำแนะนำการบริหารจัดการที่คุณได้วางรูปแบบเอาไว้ก็ได้ เพราะแฟรนไชส์ซีไม่ได้เห็นแบบอย่างของธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าคุณมีร้านต้นแบบแน่นอนว่าระเบียบต่างๆ ที่ต้องการให้แฟรนไชส์ซีทำ น่าจะได้รับการยอมรับมากกว่า

4.สร้างความมั่นใจให้แฟรนไชส์ซอร์

km15

เมื่อคุณผ่านร้านต้นแบบแฟรนไชส์ซีแห่งที่ 1 มาแล้ว ย่อมสร้างความมั่นใจให้กับคุณได้ไม่น้อย สามารถที่จะเปิดตัวขายแฟรนไชส์ให้กับรายอื่นอย่างเต็มที่ เพราะร้านต้นแบบจะพิสูจน์ได้ถึงตัวเลขที่ทำกำไรได้ในแต่ละเดือน มีระบบการอบรมที่ได้ผลสำเร็จ

เมื่อแฟรนไชส์ซีเข้ามาเดินดูร้านต้นแบบ คุณก็สามารถตอบคำถามแฟรนไชส์ซีได้อย่างมั่นใจ ดังนั้น ร้านต้นแบบจะเป็นครูที่แท้จริงให้กับคุณ ก่อนที่คุณจะขายแฟรนไชส์ออกไป

ขั้นตอนของการทำ Pilot Project

1. กำหนด Concept และวัตถุประสงค์

km16

มีความสำคัญอย่างยิ่งก่อนทำโครงการ ควรที่จะร่างวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของโครงการ ตรงกับความต้องการของธุรกิจอย่างถูกต้อง เช่น ระบุว่าต้องการทำโครงการต้นแบบร้านอาหาร ซึ่งการวางระบบเท่านี้ไม่เพียงพอ ควรที่จะระบุว่าเป็นร้านอาหารประเภทไหน ตั้งอยู่ทำเลอะไร ใครเป็นลูกค้า ชนิดของอาหาร

รวมทั้งจะมีเอกลักษณ์หรือภาพลักษณ์อาหารแบบไหนด้วย สามารถเขียนง่ายๆ สั้นๆ ว่าต้องการทำโครงการร้านต้นแบบ อาหารไทย ลักษณะฟาสท์ฟู้ด เน้นกลุ่มคนรุ่นใหม่ จะเป็นร้านในห้างสรรสินค้า หรือตามสถานที่ทั่วไป

2. หาคนมาบริหารร้านต้นแบบ

km17

สิ่งที่ต้องกำหนดต่อไปก็คือ ร้านต้นแบบควรจะบริหารงานโดยใคร ถ้าจะให้โครงการสมบูรณ์จริงๆ ควรที่จะคัดเลือกผู้ที่จะมาดำเนินการบริหารงานร้านต้นแบบนี้ โดยคัดเลือกจากผู้บริหารในบริษัท เป็นผู้ดำเนินงานแล้วให้ลงทุนร่วมไม่เกิน 25% ก็ได้

หรือแบ่งเปอร์เซ็นต์จากผลกำไรให้นอกเหนือจากเงินเดือน ก็จะทำให้ Pilot Project แสดงภาพของ Franchisee ได้ชัดเจนมากขึ้น เกิดภาพ แห่งการเรียนรู้ทั้ง 2 ฝ่าย คือฝ่ายบริหารที่เป็นเจ้าของบริษัท และฝ่ายแฟรนไชซี่

3. สร้างเอกลักษณ์ร้านต้นแบบ 

km18

เอกลักษณ์หรือภาพลักษณ์ของร้าน มีความสำคัญอยู่ตรงที่จะสร้างแรงดึงดูดจูงใจให้ลูกค้ามาใช้บริการ ได้มากน้อยแค่ไหน ร้านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว จะได้เปรียบมาก สามารถสร้างพลังในการต่อสู้กับคู่แข่งได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ

ไม่ว่าจะเป็นการตกแต่งหน้าร้าน ในร้าน การใช้โทนสี ขนาดของร้าน รสชาติอาหาร บรรยากาศ เรียกได้ว่า พอคนพูดถึงร้านก็สามารถนึกขึ้นมาได้ทันที เช่น 7-11 คนก็จะรู้ว่าเป็นร้านสะดวกซื้อ เปิด 24 ชั่วโมง มีสินค้าหลากหลาย

  • ป้าย (Signs) ทั้งหน้าร้านและในร้าน ควรมีสีสันที่ตรงกับ Concept ของธุรกิจ
  • การตกแต่ง (Decoration) ควรผสมผสานกับสินค้า และการให้บริการในร้านอย่างเหมาะสม และกลมกลืน

4. Location

km19

ทำเลที่ตั้งในการทำธุรกิจหรือเปิดร้านถือเป็นตัวบอกถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวของธุรกิจได้เป็นอย่างดี เพราะถ้าทำเลที่ตั้งไม่ดีแล้ว เป็นการยากมากที่คุณจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ ถ้าคิดจะใช้ฝีมืออย่างเดียว ก็คงจะไม่สามารถสู้กับคู่แข่งที่อยู่ในทำเลดีกว่าได้ได้ อาจมีผลต่อรายได้ กำไรลดลง

ถ้าไม่มีทำเลที่ดีแล้ว อย่าเพิ่งเริ่มทำธุรกิจจะดีกว่า ทำเลธุรกิจในปัจจุบันมักจะอยู่ 2 จุดใหญ่ คือ ไม่เข้าห้างสรรพสินค้า พลาซ่า ก็อาคารพาณิชย์ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน แต่ยุคนี้ควรจะมองทำเลใน ห้างสรรพสินค้า หรือพลาซ่าจะดีกว่า

ข้อแนะนำทำเลสำหรับ Pilot Project

ถูก คือ ถูกเงิน และถูก Concept ถูกเงินคือค่าใช้จ่ายด้านค่าเช่าของ อาคารและพื้นที่ ควรอยู่ที่ 10-15% ของยอดรายรับ ซึ่งถ้าค่าเช่า เป็นแสนบาทต่อเดือน จะต้องคำนึงถึงยอดรายรับที่ 1 ล้าน ถึง 1.5 ล้านบาทต่อเดือนเลยทีเดียว

ส่วนคำว่าถูก Concept หมายถึง จะต้องอยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับธุรกิจ เช่น โรงเรียนกวดวิชาควรจะอยู่ในทำเลใกล้สถานศึกษา ไม่ควรอยู่ในสถานเริงรมย์อย่าง RCA เป็นต้น

สวย หมายถึง ตัวอาคารหรือพื้นที่เช่า ควรมีรูปร่างทรงสี่เหลี่ยม ง่ายต่อการตกแต่ง และการออกแบบ เห็นง่ายไปมาสะดวก มี Direction ชัดเจน เช่น อยู่ใกล้อนุสาวรีชัยฯ ใกล้ร้านแมคโดนัลด์ เป็นต้น
ดี จะต้องอยู่กับผู้ให้เช่าที่ดี มีความมั่นคงและอยู่ในจุดที่มีคน พลุกพล่าน เช่น ใกล้ตลาด หรือ อยู่ในพลาซ่า ซึ่งเป็นทำเลที่แม้ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำมากเท่าไรก็ตาม ผู้บริโภคก็จะต้องไปใช้บริการตรงนั้น

5. ระบบการจัดการ

km20

จะต้องมีระบบการจัดงานของร้านต้นแบบ ให้มีระบบที่สามารถพึ่งตนเองได้ เช่น มีระบบการจัดสินค้าและบริการที่ดี มีระบบบัญชีแบบ Small Business ที่สามารถรู้กำไรขาดทุนของร้างได้ทุกเดือน หรือสามารถทำงบดุลได้เอง ควรมีระบบบริหารงานบุคคลภายในร้านได้ มีกฎระเบียบการบริหารให้พนักงานในร้านปฏิบัติตาม

และข้อสำคัญมาก ควรมีการจดบันทึกการทำงานแบบ Dairy Report ทุกวัน ควรมีการบันทึกควบคู่กับการถ่ายรูปทุกขั้นตอนการทำงาน ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน แนวทางการแก้ปัญหาไว้อย่างละเอียด

ควรเริ่มตั้งแต่การเตรียมการตกแต่งร้าน การจัดสินค้ากิจกรรมทางการตลาดต่างๆ รวมถึงขั้นตอนการดำเนินงานทุก ขั้นตอนของร้าน เพื่อให้มีผลกำไร รวมทั้งการสนับสนุนจากสำนักงานใหญ่ จะต้องมีอะไรบ้าง การคิดค่าใช้จ่าย ค่ารอยัลตี้ฟีจะคิดอย่างไร ตัวเลขการคืนทุนภายในกี่ปี

โดยปกติแล้ว Pilot Project จะต้องดำเนินการอย่างน้อย 1 รอบบัญชี คือ 1 ปี แล้วนำมาเปรียบเทียบตัวเลขและวิเคราะห์ ความเป็นไปได้ของโครงการว่า ตรงกับธุรกิจที่ดำเนินการอยู่หรือไม่ สามารถดำเนินงานในระบบนี้ ต่อไปอย่างไร

6. มาตรฐานของ Pilot Project

km21

ในการสร้างร้านร้านต้นแบบควรสร้างมาตรฐานขึ้นมา ตั้งแต่การออกแบบตกแต่งระบบงานต่าง ๆ ระบบเทคโนโลยี (IT) เพราะระบบคอมพิวเตอร์มีความสำคัญมากในการทำธุรกิจ ช่วยประหยัดเวลา และช่วงการดำเนินงานไม่ให้ผิดพลาด

ดังนั้น ร้านต้นแบบที่มีมาตรฐานควรจะมีการนำเอาระบบ IT เข้ามาช่วยในการบริหารงานต่างๆ และจะทำให้แฟรนไชส์ซอร์ สามารถควบคุมดูแล การทำงานของแฟรนไชส์ซีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และควรจะมีทีมงานคอยตรวจสอบการทำงานของร้านแฟรนไชส์ซีด้วย

เพราะจะช่วยควบคุมตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของสินค้าและบริการของธุรกิจให้ตรงตามที่กำหนด และช่วยแฟรนไชส์ซีพัฒนาและสร้างมาตรฐานการบริหารจัดการ ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังช่วยตรวจสอบการทุจริตของพนักงานในร้านอาจมีต่อแฟรนไชส์ซีได้

เห็นได้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ ก่อนขายจำเป็นต้องทำ Pilot Project เพราะเป็นทั้งโมเดลธุรกิจ เป็นร้านตัวอย่าง และเป็นสถานที่ฝึกงานของแฟรนไชส์ซีได้อีกด้วย เมื่อคุณตัดสินใจที่จะขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์แล้ว ควรอย่างยิ่งที่จะต้องทำ Pilot Project จะเป็นเหมือนแผนที่ที่จะบอกถึงทิศทาง ที่จะต้องเดินทางไปให้บรรลุเป้าหมาย รู้ถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆ


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

S__2834448

ท่านใดสนใจอยากทำคู่มือแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2HDVGXf

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช