การบริหารร้าน สาขาแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ นอกจากจะต้องมีหลักการบริหารร้านสาขาต้นแบบของตัวเองแล้ว ยังต้องให้ความสำคัญกับการบริหารร้านสาขาแฟรนไชส์ซีด้วย เพราะเขาเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบแฟรนไชส์ค้าปลีกของคุณ

ยิ่งสาขาแฟรนไชส์สามารถควบคุมกระบวนการทำงาน รักษามาตรฐานต่างๆ เอาไว้เหมือนกับร้านค้าต้นแบบ ก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ค้าปลีกของคุณมีความมั่นคง แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีหลักการบริหารร้านสาขาแฟรนไชส์ เพื่อสร้างความมั่นคง และแข็งแกร่ง แก่ระบบแฟรนไชส์ มาฝากผู้ประกอบการธุรกิจทุกท่าน ที่กำลังทำธุรกิจค้าปลีกเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ มาดูกันครับ

1.Front Operation (การดำเนินงานหน้าร้าน)

การบริหารร้าน

เจ้าของแฟรนไชส์ต้องเข้าไปตรวจสอบและควบคุมเกี่ยวกับ การดำเนินงานหน้าร้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานการปฏิบัติงานในร้านกระบวนการปฏิบัติงานในร้านกระบวนการปฏิบัติงานประจำ หน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละตำแหน่ง

การบริการของพนักงาน กระบวนการเปลี่ยน คืน สินค้า การจัดการเงินสด การแก้ปัญหาเบื้องต้น กรณีเหตุฉุกเฉินป้องกันการโจรกรรม รายการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้จัดการร้าน รายงานสรุปยอดขายประจำวัน

2. Inventory Control (การควบคุมสินค้าคงคลัง)

hn8

ดูในเรื่องระบบการสั่งสินค้าเข้าร้าน สั่งอย่างไรไม่ให้สินค้าขาด สินค้าที่ต้องมีขายในร้าน และหาซื้อมาทดแทนไม่ได้ สั่งสินค้าเผื่ออย่างไร ให้คุ้มค่า กระบวนการสั่งสินค้าใหม่เข้ามาแล้ว ต้องมีสินค้าเก่าออกด้วย ธุรกิจไม่ควรเก็บสต็อกสินค้าไว้มาก เพราะยิ่งเก็บไว้มาก ก็ยิ่งทำให้สินค้าเก่าหมดอายุ และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และพื้นที่ในการจัดเก็

3. Staff Control (การควบคุมบุคลากร)

hn9

บริหารสาขาในเรื่อง วิธีการสรรหาพนักงานเข้ามาทำงาในร้านสาขา กระบวนการฝึกอบรมพนักงานใหม่ วิธีการทำอย่างไรให้ลูกน้องเชื่อฟัง ทำอย่างไรให้ลูกน้องอยู่นาน ไม่ลาออก และกระบวนการทำงานเดินหน้าต่อไปได้

4. Customer Management (การบริหารลูกค้า)

hn6

ดูว่าร้านสาขามีระบบการบริหารลูกค้าอย่างไร ใครเป็นลูกค้าประจำ (VIP) ของร้านบ้าง รูปแบบการให้บริการอย่างไร ให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ประทับใจ และกลับมาใช้บริการอีก รวมถึงเทคนิคการบริการลูกค้าอย่างไร ให้ชนะคู่แข่ง สามารถดึงดูดลูกค้าเข้าร้านค้าได้ และร้านค้ามีแนวทางการรับคำร้องเรียนของลูกค้าอย่างไรบ้าง

5. Sales Analysis (วิเคราะห์ยอดขาย)

hn5

ตรวจสอบและวิเคราะห์ยอดขายของร้านสาขา ต้องจัดทำรายงานประจำวัน เกี่ยวกับข้อมูลการขายในแต่ละวัน รวมถึงข้อมูลสินค้าต่างๆ ให้เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ทราบ รวมถึงรายงานประจำเดือน ที่ข้อมูลสรุปจากรายงานประจำเดือน และรายงานอื่นๆ เป็นข้อมูลเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน ข้อมูลของสมาชิก และข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ด้านต่างๆ

การวิเคราะห์ยอดขายของร้านสาขานั้น จะพิจารณาไปถึงการควบคุมกระแสเงินสด ทำการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมการขาย การควบคุมสินค้าคงคลัง ข้อมูลการขายสินค้าแต่ละประเภท เพราะจะช่วยให้รับรู้ถึงยอดขาย และผลกำไร

ธุรกิจในระบบแฟรนไชส์จะประสบความสำเร็จ มีความมั่นคง และแข็งแกร่ง ได้นั้น ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องให้ความสำคัญกับการบริหารร้านค้าสาขาแฟรนไชส์ซีด้วย บริหารจัดการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ยิ่งทำให้เขาประสบความสำเร็จเหมือนกับสาขาต้นแบบ ก็จะทำให้ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของคุณมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

ตรวจเยี่ยมร้านสาขาแฟรนไชส์ดูอะไรบ้าง

hn1

ในการออกไปตรวจเยี่ยมร้านสาขาแฟรนไชส์ซี แต่ละแห่ง ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องทำการเช็คและตรวจกระบวนการทำงานต่างๆ ภายในร้าน ตั้งแต่นอกร้านยังในร้าน โดยสิ่งที่ต้องตรวจ มีดังนี้

1.สภาพภายนอกร้าน (ประตูและหน้าต่าง ป้ายสัญลักษณ์)

ประตูหน้าต่างภายนอกร้านเปิด-ปิดง่าย ใช้งานได้ตามปกติ ป้ายชื่อร้านค้า โลโก้ไม่ชำรุดเสียหาย มองเห็นได้ชัดเจน ไม่มีสิ่งอื่นปิดบังป้ายร้าน อุปกรณ์เหล่านี้ต้องดูว่าต้องกำหนดให้ว่าปรับปรุงทันที ไม่ต้องปรับปรุง หรือต้องปรับปรุงในอีกไม่ช้า

2.สภาพภายในร้าน (พื้น เคาน์เตอร์ ชั้นแสดงสินค้า อุปกรณ์)

พื้นสะอาด ไม่มีเศษขยะรกรุงรัง หรือมีสินค้าตกหล่นจากชั้นวาง เคาน์เตอร์สะอาด ไม่มีสิ่งของวางเกะกะบนโต๊ะ กีดขวางการให้บริการลูกค้า ชั้นวางสินค้ามีความทนทาน แข็งแรง การจัดวางสินค้าเป็นระเบียบเรียบร้อย ลูกค้าสามารถมองเห็นได้ชัดเจน อุปกรณ์ต่างๆ ภายในร้านไม่ตกหล่น มีความแข็งแรง ไม่ชำรุด

hn2

3.พนักงาน (การแต่งกายถูกต้อง ลักษณะท่าทาง)

พนักงานในร้านแต่งกายสะอาด เป็นระเบียบถูกต้องตามยูนิฟอร์มของบริษัท พนักงานทุกคนมีบุคลิกภาพท่าทางดี กระตือรือร้นในการทำงาน และพร้อมให้บริการลูกค้า พูดจาสุภาพ เรียบร้อย กระฉับกระเฉง

4.สินค้าในร้าน (จำนวน การจัดเตรียม ป้ายราคา)

สินค้าในร้านมีจำนวนเพียงพอ ไม่ขาด ไม่เกิน มีสินค้าให้เลือกหลากหลาย มีสินค้าหมุนเวียน ทดแทนสินค้าเก่าที่หมดไป สินค้าทุกชนิดมีการติดป้ายราคาให้เห็นชัดเจน

 

hn3

5.การบริการลูกค้า (การต้อนรับอย่างเป็นมิตร การบริการอย่างมีความรู้)

พนักงานให้บริการลูกค้าอย่างอ่อนน้อม สุภาพเรียบร้อย พูดจากเป็นมิตรกับลูกค้า พร้อมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับสินค้าในร้านอย่างมีความรู้ กล่าวทักทายสวัสดีลูกค้าเมื่อเข้าไปในร้าน และขอบคุณลูกค้าเมื่อออกจากร้าน

6.ระบบการจัดเก็บเงิน (มีธนบัตรเพียงพอ บันทึกลงในบัญชีตามหลักการ)

มีธนบัตรเพียงพอสำหรับรับแลก และทอนให้กับลูกค้า มีการบันทึกรายการขายสินค้าลงในบัญชีตามหลักการทุกครั้ง สามารถตรวจสอบการซื้อขายทึกรายการย้อนหลังได้

 

hn4

7.การจัดการ (การควบคุมพนักงาน การควบคุมสินค้าคงคลัง คู่มือแฟรนไชส์ และเอกสารต่างๆ)

พนักงานตั้งใจทำงาน ปฏิบัติงานตามหน้าที่รับผิดชอบ ไม่ทะเลาะวิวาทกัน ระบบการบริหารจัดการร้านเป็นมาตรฐาน มีการควบคุมสินค้าคงคลังไม่ให้สินค้าขาด หรือมีมากจนเกินไป คู่มือแฟรนไชส์ไม่ชำรุดเสียหาย เอกสารต่างๆ จะเก็บเป็นระเบียบเรียบร้อย รายละเอียด ข้อมูลที่จดไว้ในเอสารดูง่าย ไม่ซับซ้อน

ทั้งหมดเป็น 7 หัวข้อที่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องยึดเป็นแนวทางในการตรวจเยี่ยมร้านสาขาแฟรนไชส์ทุกครั้ง อาจจะเข้าไปตรวจเยี่ยมเดือนละครั้ง หรือ 2 เดือนครั้งก็ได้ ตามความเหมาะสมของแต่ละธุรกิจ

โดยผู้ประกบการแฟรนไชส์อาจจะให้คะแนนในการตรวจเยี่ยมแต่ละหัวข้อที่ได้มาตรฐาน เช่น 3 ดีมาก-ไม่ต้องปรับปรุง, 2 ปานกลาง-ต้องการการปรับปรุงในไม่ช้า และ1 ต่ำกว่ามาตรฐาน-ต้องการการปรับปรุงทันที

การตรวจเยี่ยมร้านสาขาแฟรนไชส์ ถือเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการแฟรนไชส์ ที่จะละเลยไม่ได้ เพราะเป็นวิธีการในการควบคุม และสร้างมาตรฐาน ให้กับระบบแฟรนไชส์ของคุณให้มีความแข็งแกร่ง มีคุณภาพมาตรฐานเดียวกันทุกร้าน


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

Untitled-1

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช